^ Back to Top

ประกวด "โครงการเย็บร้อย ค่อยจีบ ประดิษฐ์ใบตอง ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑"

ประกวด "โครงการเย็บร้อย ค่อยจีบ ประดิษฐ์ใบตอง ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑"

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สมัครและส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด "โครงการเย็บร้อย ค่อยจีบ ประดิษฐ์ใบตอง ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑" ชิงเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตร

ประเภทการประกวด

  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "มาลัยชายเดียว" (ระดับประถมศึกษา)
  • ประกวดวิจิตรตระการงานแกะสลัก "สลักเสลาสำรับน้ำพริก ผัก เครื่องจิ้ม" (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "บายศรีสามชั้น" (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "พานรับน้ำพระพุทธมนต์" (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "กระเช้ามาลีวิจิตร" (ระดับอุดมศึกษา)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "ชุดขันหมากเอก" (ระดับอุดมศึกษา) (ส่งผลงานเข้าประกวด)
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "โต๊ะหมู่บูชา ๙" (ประชาชนทั่วไป) (ส่งผลงานเข้าประกวด)

ขั้นตอนการสมัคร

  • ส่งใบสมัคร พร้อมแบบกรอกแนวคิดผลงานการประกวด, สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน/นักศึกษาของผู้เข้าประกวดทุกคน (กรณีที่ไม่มีบัตรประจำตัวนักเรียน/นักศึกษา ให้ใช้หนังสือรับรองการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากสถานศึกษาแทน)
  • ส่งใบสมัครภายในวันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ได้ ๒ ช่องทาง
    • ทางจดหมายถึง
      คุณทิวาภรณ์ ค้าแก้ว
      กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
      ๒๘๕ ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต
      กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
    • ทาง E-mail : tivaporn_kha@dusit.ac.th

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "มาลัยชายเดียว" (ระดับประถมศึกษา)

  • ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์มาลัยชายเดียว จำนวน ๑ พวง
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิดมาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • ห้ามใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ไม่ใช่ของสด
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวดและจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียนระดับประถมศึกษา ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    เข้าร่วมประกวด วันศุกร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการงานแกะสลัก "สลักเสลาสำรับน้ำพริก ผัก เครื่องจิ้ม" (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)

  • ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕ - ๑๘ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • วัสดุที่ใช้ในงานแกะสลักผักผู้เข้าแข่งขันจัดเตรียมเอง
    • ไม่อนุญาตให้เกลา คว้าน ร่าง และขึ้นรูปลวดลายมาก่อนการแข่งขัน
    • ใช้มีดแกะสลัก หรืออุปกรณ์ในงานแกะสลักอื่นๆ ได้
    • จัดตกแต่งในภาชนะใบตองที่ประดิษฐ์ในเวลาการแข่งขัน
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์
    • ในการเข้าแข่งขันสามารถเตรียมน้ าพริก เครื่องเคียงมาได้
      หมายเหตุ ก่อนส่งผลงานให้จัดตกแต่งส ารับอย่างสวยงามพร้อมน้ำพริก และเครื่องเคียง
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวดและจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    เข้าร่วมประกวด วันศุกร์ที่ ๙ ธันวาคม 2566 เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "บายศรีสามชั้น" (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

  • ขนาด ขนาดฐานบายศรีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์บายศรี ๓ ชั้น จำนวน ๑ สำรับ
    • จัดตกแต่งในภาชนะสวยงาม หรือฐานแท่นที่สร้างเฉพาะ
    • ใช้โฟม หรือวัสดุธรรมชาติเป็นหุ่นโครงได้
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิดมาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการ
    • ตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    เข้าร่วมประกวด วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "พานรับน้ำพระพุทธมนต์" (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)

  • ขนาด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์พานรับน้ำพระพุทธมนต์ จำานวน ๑ พาน
    • ใช้ภาชนะเป็นพานก้นลึก หรือภาชนะอื่นที่สามารถรองรับน้ าพระพุทธมนต์ เช่น ขันน้ำพานรองกะไหล่ทอง ตะลุ่มมุก
    • ใช้วัสดุที่ดูดซับน้ำได้ดี เช่น ขี้เลื้อย โฟมดูดน้ำ
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิดมาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • สามารถตัด ฉีกใบตอง ตัดแบบกลีบใบตอง และดามลวดมาก่อนล่วงหน้าได้
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักเรียน นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    ร่วมประกวด วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม 2566 เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "กระเช้ามาลีวิจิตร" (ระดับอุดมศึกษา)

  • ขนาด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙ – ๑๕ นิ้ว
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • ประดิษฐ์กระเช้ามาลีวิจิตร จำนวน ๑ กระเช้า
    • ลำตัวกระเช้าประดิษฐ์จากใบตอง
    • ฐานกระเช้าสามารถใช้โฟม หรือวัสดุธรรมชาติเป็นหุ่นโครงได้
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สดแบบประณีตศิลป์
    • ให้จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกวดด้วยตนเอง อนุญาตให้เตรียมดอกไม้ ใบไม้ทุกชนิด มาก่อน โดยการตัดแต่งกลีบ ฉีก เด็ดกลีบ คัดแยกขนาด พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ให้คณะกรรมการตรวจก่อนเวลา ๑๕ นาที
    • ไม่อนุญาตให้นาชิ้นงาน หรือส่วนประกอบสาเร็จของผลงานเข้ามาในการประกวด มิฉะนั้นจะตัดสิทธิ์ในการเข้าแข่งขัน
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจ านวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทีมละ ๕ คน และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • วัน เวลาและสถานที่
    ร่วมประกวด วันศุกร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. (ใช้เวลาประดิษฐ์ ๔ ชั่วโมง) ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "ชุดขันหมากเอก" (ระดับอุดมศึกษา) (ส่งผลงานเข้าประกวด)

  • เครื่องขันหมาก
    • ขนาดพานขันหมากเอก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
    • ขนาดพานไหว้ (กระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ) เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๙ นิ้ว
    • ขนาดพานแหวนหมั้น เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า ๗ นิ้ว
  • วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์
    • จัดอยู่ในภาชนะสวยงาม เช่น พาน โตก หรือภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้น
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้-ใบไม้มงคล มีใบแก้ว ใบมะยม ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ดอกไม้มงคล เช่น ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกพุด ดอกเฟื่องฟ้า ดอกกล้วยไม้ ฯลฯ
    • เครื่องมงคล ๔ ชนิด คือ ข้าวตอก ถั่วทอง งาดำ ข้าวเปลือก และรวมถึงถุงเงินงอก
    • หมาก พลู จะต้องเป็น หมากเจียน พลูจีบ
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด และอยู่สถาบันเดียวกัน
  • การส่งผลงาน
    ส่งผลงานสาเร็จเข้าประกวด วันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "โต๊ะหมู่บูชา ๙" (ประชาชนทั่วไป) (ส่งผลงานเข้าประกวด)

  • ขนาด โต๊ะหมู่บูชา (หมู่ ๙)
  • การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
    • โต๊ะหมู่ต้องเป็นโต๊ะหมู่ชุดเดียวกัน
    • ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ใบไม้สด แบบประณีตศิลป์
    • จัดตกแต่งพานพุ่ม แบบประณีตศิลป์
    • แจกัน เชิงเทียน กระถางธูป ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การจัดโต๊ะหมู่ ช
    • หุ่นพานพุ่มใช้โฟม หรือวัสดุธรรมชาติ
    • ผู้เข้าประกวดจัดเตรียมโต๊ะหมู่มาเอง
  • คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด และจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
    ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประกวด
  • การส่งผลงาน
    ส่งผลงานสาเร็จเข้าประกวด วันเสาร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ มหาวิทยาลัย สวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

เกณฑ์การตัดสิน

  • รูปร่าง - รูปทรง ๑๐ คะแนน
  • ขนาด - สัดส่วน ๒๐ คะแนน
  • ความประณีต - ความสวยงาม ๓๕ คะแนน
  • การเลือกใช้สี ๑๐ คะแนน
  • ความคิดสร้างสรรค์ ๑๐ คะแนน
  • ความเหมาะสมในการน าไปใช้งานได้จริง ๑๕ คะแนน

รางวัลการประกวด

  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "มาลัยชายเดียว" (ระดับประถมศึกษา)
    • รางวัลชนะเลิศ ๖,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๔,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๒,๕๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการงานแกะสลัก "สลักเสลาสำรับน้ำพริก ผัก เครื่องจิ้ม" (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
    • รางวัลชนะเลิศ ๗,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๖,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๔,๐๐๐ บาท ๑๒,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๒,๕๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "บายศรีสามชั้น" (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
    • รางวัลชนะเลิศ ๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๗,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๖,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "พานรับน้ำพระพุทธมนต์" (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
    • รางวัลชนะเลิศ ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๗,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๖,๐๐๐ บาท ๑๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๔,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "กระเช้ามาลีวิจิตร" (ระดับอุดมศึกษา)
    • รางวัลชนะเลิศ ๑๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๗,๐๐๐ บาท ๒๑,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "ชุดขันหมากเอก" (ระดับอุดมศึกษา) (ส่งผลงานเข้าประกวด)
    • รางวัลชนะเลิศ ๑๒,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๑๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๙,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๗,๐๐๐ บาท ๒๑,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
  • ประกวดวิจิตรตระการกรองร้อย "โต๊ะหมู่บูชา ๙" (ประชาชนทั่วไป) (ส่งผลงานเข้าประกวด)
    • รางวัลชนะเลิศ ๑๘,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๑๕,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๑๓,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ๓ รางวัลๆ ละ ๘,๐๐๐ บาท ๒๔,๐๐๐ บาท
    • รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒ รางวัลๆ ละ ๖,๐๐๐ บาท

หมายเหตุ

  • ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคนจะได้รับเกียรติบัตร
  • ชิ้นงานที่เข้าร่วมประกวดทุกชิ้นที่ได้รับรางวัล คณะผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์จัดแสดงไว้ตลอดการจัดงาน
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  • ชุดขันหมากเอก สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ งานใบตอง ของ ศาสตราจารย์มณีรัตน์ จันทนะผะลิน

ติดต่อสอบถาม

  • ผศ.ดร.พรยุพรรณ พรสุขสวัสดิ์ โทรศัพท์ ๐๙-๘๙๒๙-๔๙๕๖
  • คุณทิวาภรณ์ ค าแก้ว โทรศัพท์ ๐-๒๒๔๔-๕๑๙๐
  • เย็บร้อย ค่อยจีบ 66
File attachments: 
หมดเขต: 
22 ก.ย. 2023 08:30 to 15 พ.ย. 2023 16:30

Members Online

There is currently 1 user online.

  • mod