ประกวดสร้างสรรค์อินโฟกราฟฟิก หัวข้อ "เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม"
บริษัท เอ็มเอ็ม ดีเวลลอปเมนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสร้างสรรค์อินโฟกราฟฟิก หัวข้อ "เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม" ชิงเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตร
คุณสมบัติการเข้าร่วมประกวด
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า นิสิต นักศึกษา ปวช. ปวส. หรือประชาชนทั่วไป
- ผู้สมัครสามารถเลือกเข้าร่วมการแข่งขันในรูปแบบเดี่ยว หรือรูปแบบทีม โดยใน 1 ทีมสามารถมีสมาชิกไม่เกิน 3 คน ( 1-3 คน )
- ในสถาบันการศึกษาเดียวกัน สามารถส่งผลงานได้มากกว่า 1 ทีม
- สมาชิกในทีมไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานศึกษาหรือองค์กรเดียวกัน
- ม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษา/ครูที่ปรึกษา/อาจารย์ที่ปรึกษาในผลงาน หรือสามารถมีได้
- ผู้สมัคร 1 ท่าน/ทีม สามารถสมัครได้มากกว่า 1 ผลงานแต่ไม่เกิน 3 ผลงาน โดยจำเป็นจะต้องใช้อีเมลใหม่ ในการสมัครใหม่ทุกครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้ง หรือ 3 อีเมลต่อท่าน/ทีม และชำระค่าสมัครใหม่ทุกครั้งเมื่อมีการสมัครใหม่หรือส่งผลงานเพิ่มเติม
ข้อกำหนดเกี่ยวกับผลงาน
- กรอกใบสมัครผ่านทาง Google Form พร้อมแนบไฟล์อินโฟกราฟฟิก โดยกำหนดให้ผู้เข้าประกวดส่งผลงานได้ 1 หน้า ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีขนาด 21.0 x 29.7 เซนติเมตร (ขนาด A4) ในรูปแบบแนวตั้ง และไฟล์ผลงานต้องอยู่ในรูปแบบ .jpg .jpeg .png หรือ .pdf เท่านั้น (สามารถผลิตผลงานผ่าน Canva, Adobe Photoshop, Power Point, Google Sheets, Goodnote หรือ Platform อื่นได้ รวมถึงการวาดสร้างสรรค์ในกระดาษขนาด A4 )
- ผู้สมัครสามารถกรอกใบสมัครและแนบไฟล์อินโฟกราฟฟิก(สมัครพร้อมส่งผลงาน) ได้ตั้งแต่วันนี้ – 10 กันยายน พ.ศ. 2566 (เวลา 23.59 น.)
- ผู้สมัครจะต้องผลิตผลงานเข้าร่วมการประกวดด้วยตนเองเท่านั้น และไม่อนุญาตให้ผู้สมัครส่งผลงานภายใต้ชื่อบุคคลอื่น เว้นแต่หัวหน้าทีม
- อินโฟกราฟฟิก ที่ส่งเข้าแข่งนั้น สามารถส่งในรูปแบบอินโฟกราฟฟิกหรือโปสเตอร์ ให้ความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะทาง นำเสนอนโยบาย นำเสนอนวัตกรรมหรือโครงงานในอดีต ปัจจุบันหรือแนวคิดในอนาคต ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือเป็นเพียงแนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เทคโนโลยีวิศวกรรม เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงถึงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อินโฟกราฟฟิกเกี่ยวกับการให้ความรู้วิธีการทำงานของระบบอาคารอัตโนมัติ (Building Automation System) อินโฟกราฟฟิกให้ความรู้วิธีการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียของอุตสาหกรรม อินโฟกราฟฟิกเกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องแยกขยะอัตโนมัติในโรงงาน อินโฟกราฟฟิกเกี่ยวกับระบบพลังงานทดแทน หรืออินโฟกราฟฟิกการให้ความรู้การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) เป็นต้น โดยผู้สมัครสามารถนำแนวคิดจากตัวอย่าง นำไปเข้าสมัครได้ โดยจะไม่มีการหักคะแนนการประกวด
- มีชื่อ-สกุลผู้สมัคร สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในตัวผลงาน (สามารถใส่ตราสัญลักษณ์หรือไม่ก็ได้ )
- มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนอยู่ในตัวผลงาน
- ทั้งนี้หากมีข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ สามารถสร้าง QR Code แนบไว้ในตัวผลงานได้
- กรุณาตั้งชื่อไฟล์ผลงานให้ชัดเจนและตรงกับข้อมูลในระบบ Google Form
ระยะเวลาการดำเนินการประกวด
- 10 กันยายน 2566 ปิดรับสมัครผลงานสุดท้ายผ่านระบบ Google Form (23.59น.)
- 17 กันยายน 2566 ประกาศผลผู้เข้ารอบ 25 ทีมสุดท้าย และแจ้งการปฏิบัติในรอบชิงชนะเลิศ (จัดทำคลิปวิดีโอ 1-3 นาที)
- 24 กันยายน 2566 นำส่งเกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขันผ่านระบบอีเมลให้ผู้สมัครทุกทีมที่เข้าร่วม
- 30 กันยายน 2566 ปิดรับคลิปวิดีโอ 25 ทีมสุดท้ายส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ
- 8 ตุลาคม 2566 ประกาศผลผู้ได้รับ 16 รางวัลในรอบชิงชนะเลิศ
- นำส่งเกียรติบัตรและรางวัลรอบชิงชนะเลิศก่อน 31 ตุลาคม 2566
หมายเหตุ วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ทางผู้จัดมีนโยบายให้การดำเนินงานเสร็จสิ้นเพื่อให้ทันกับผู้สมัครที่มีเจตจำนงต้องใช้ประกาศนียบัตรในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ตามระบบของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) T-CAS รอบที่ 1 ประจำปี 2567
การสมัครการแข่งขัน
การสมัครการแข่งขันการประกวดฯ มีค่าใช้จ่ายสำหรับการสมัครทั้งรูปแบบเดี่ยว และรูปแบบทีม 169 บาทต่อทีมต่อ 1 ผลงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการแข่งขัน หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแล้ว ผู้จัดการแข่งขันจะนำเงินดังกล่าว ไปบริจาคให้แก่องค์กรการกุศลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ ผ่านทาง Google Form การรับสมัคร พร้อมแนบไฟล์ผลงาน
เกณฑ์การตัดสิน
คณะกรรมการจะพิจารณาทีมที่สมควรได้รับรางวัลโดยใช้เกณฑ์ในการตัดสิน ดังนี้
- ความสวยงาม น่าอ่าน น่าดึงดูด ความสอดคล้องของภาพและองค์ประกอบ 30 %
- ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องของเนื้อหา และอ้างอิงชัดเจน 30 %
- มีความสอดคล้องกับหัวข้อเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม 20 %
- ความเป็นไปได้ในการใช้งานจริง หรือเผยแพร่จริง 20 %
รางวัลการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล ได้รับเงินรางวัล 1500 บาท พร้อมทั้งประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่1 1 รางวัล เงินรางวัล 1000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 1 รางวัล เงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลผลงานประเภทดีเยี่ยม 3 รางวัล ได้รับเหรียญที่ระลึก พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลผลงานประเภทดี 5 รางวัล ได้รับเหรียญที่ระลึก พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้รับเหรียญที่ระลึก พร้อมประกาศนียบัตร
- ผู้เข้ารอบ 25 ทีมสุดท้าย (รอบชิงชนะเลิศ) จะได้รับประกาศนียบัตร ที่แสดงว่าเป็นผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ
หมายเหตุ ทั้งนี้ผู้สมัครเข้าร่วมการประกวดทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตรเข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล)
ติดต่อสอบถาม
- อีเมล nabopaw@gmail.com
- เบอร์ติดต่อ 080-852-8280 หรือ 095-676-8989
ตัวอย่างผลงาน
- รู้หรือไม่โรงงานในไทยปล่อยมลพิษแค่ไหน
- อุตสาหกรรมโลกกับสิ่งแวดล้อม
- อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียงภายในโรงงาน
- โครงงานระบบสายพานลำเลียงรักษ์โลก
- การจัดการขยะภายในโรงงาน
- อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
- การติดตั้งและใช้งานระบบโซลาเซลล์
- โครงงานจากขยะสู่พลังงาน
- ถังขยะอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรม
- ระบบแอร์ประหยัดพลังงาน
- พลังงานทดแทนในประเทศไทย
- ความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในไทย
- การติดตั้งเครื่องจักรโรงงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
- อุปกรณ์,เครื่องมือ,เครื่องจักรโรงงานในปัจจุบันทำลายโลกมากแค่ไหน
- บทบาทหน้าที่ของผู้รับเหมาอุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม
- โครงงานเครื่องแยกขยะอัจฉริยะ
- เทคโนโลยีต้นไม้เทียมฟอกอากาศ
หรือผลงานอื่นๆ ที่ให้ความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะทาง นำเสนอนโยบาย นำเสนอนวัตกรรมหรือโครงงานในอดีต ปัจจุบันหรือแนวคิดในอนาคต ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือเป็นเพียงแนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เทคโนโลยีวิศวกรรม เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้สมัครสามารถนำแนวคิดจากตัวอย่าง นำไปเข้าสมัครหรือประยุกต์เพิ่มเติมได้ โดยจะไม่มีการหักคะแนนการประกวดแต่อย่างใด
ข่าวประชาสัมพันธ์ : K. Nadol Wilairat