^ Back to Top

ประกวดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง สู่การสร้าง Soft Power ชุมชน สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ "คีตศิลป์พื้นบ้าน สืบสานมรดกภูมิปัญญาแผ่นดิน"

ประกวดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง สู่การสร้าง Soft Power ชุมชน สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ "คีตศิลป์พื้นบ้าน สืบสานมรดกภูมิปัญญาแผ่นดิน"

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม และ ททบ.5 ขอเชิญนักเรียนประถม - มัธยมศึกษา สมัครเข้าร่วมการประกวดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง สู่การสร้าง Soft Power ชุมชน สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ "คีตศิลป์พื้นบ้าน สืบสานมรดกภูมิปัญญาแผ่นดิน" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมชิงเงินรางวัลมากกว่า 30,000 บาท

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
ต้องเป็นนักเรียนที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา จนกระทั่งถึงวันแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

ประเภทของการแข่งขัน และวัน เวลาในการตัดสิน
เป็นการแข่งขันประเภททีม โดยคณะกรรมการตัดสินจากวิดีโอที่ผู้สมัครส่งเข้าประกวดในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เพื่อผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบจํานวน 10 ทีม ต้องเดินทางมาประกวดขับร้องเพลงพื้นบ้านภาคกลางต่อหน้าคณะกรรมการ ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5)

กติกาการแข่งขัน

  • ผู้สมัครเข้าประกวดต้องแสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลาง เช่น ฉ่อย อีแซว พวงมาลัย พิษฐาน ลําตัด เกี่ยวข้าว เป็นต้น โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ การขับเคลื่อน Soft Power ของไทย ตลอดจนการอนุรักษ์สืบสานเพลงพื้นบ้านภาคกลางให้ธํารงอยู่ ตลอดจนร้องเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะที่เป็นผู้ทรงส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งสามารถส่งนักแสดงมาร่วมประกวดได้ทีมละไม่เกิน 15 คน และต้องบันทึกวิดีโอ การแสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ภายในเวลา 20 นาที เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรอบคัดเลือก โดยส่งเป็น VDO, DVD, Flash Drive นําส่งไปรษณีย์มาที่
    อาจารย์ ดร.จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
    172 ถ.อิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร. 081-9422794
  • คณะกรรมการจะตัดสินผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 และประกาศผลผู้ที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ จํานวน 10 ทีม ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • ผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม จะต้องเดินทางมาประกวดเพลงพื้นบ้านภาคกลางต่อหน้าท่านคณะกรรมการ ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567
  • ผู้เข้าประกวดแสดงเพลงพื้นบ้านภายในเวลา 20 นาที
  • ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้เพียง 1 ทีม ต่อ 1 โรงเรียนเท่านั้น
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  • ผลงานการแสดงในด้านเนื้อร้อง และรูปแบบการแสดงของทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่สามารถนําไปเผยแพร่สู่สาธารณชนในรูปแบบต่าง ๆ ได้
  • ผู้เข้าประกวดต้องนําบทร้องสําหรับใช้ในการประกวดมาส่งคณะกรรมการ จํานวน 5 ชุด

กำหนดระยะเวลา

  • รับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตัดสินผลงานของผู้เข้าประกวดรอบคัดเลือก ในที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 2 ชั้น 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ประกาศผลผู้ผ่านการเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ผ่านทาง facebook: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และเพจ SCD.dru (สาขาวิชาการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี)
  • ผู้ผ่านรอบชิงชนะเลิศ จะต้องมาทําการประกวดรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5)

เกณฑ์การตัดสิน (รวม 100 คะแนน)

  • ความถูกต้องของรูปแบบเพลงที่ใช้ประกวด 20 คะแนน
  • ความถูกต้องของเนื้อร้อง และการออกเสียงอักขระที่ชัดเจน 20 คะแนน
    • ภาษาที่ใช้ร้อง
    • คําและการออกเสียง
  • น้ำเสียง จังหวะ และท่วงทํานอง 20 คะแนน
    • เสียงชัดเจน ไม่เพี้ยน เป็นธรรมชาติเหมาะสมกับเพลงพื้นบ้าน
  • ความไพเราะ และเทคนิคการขับร้อง 20 คะแนน
    • สื่ออารมณ์ได้เป็นธรรมชาติ
    • ราบรื่น ไม่สะดุด
  • เนื้อหาสาระตรงประเด็นกับหัวข้อการประกวด 20 คะแนน

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ 10,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลพระราชทานฯ
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 8,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจากกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 6,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจาก ททบ.5
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 4,000 บาท รวม 8,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจากมหาวิทายาลัยราชภัฏธนบุรี
  • รางวัลทีมยอดเยี่ยม 1,000 บาท
  • รางวัลขวัญใจนักเพลงพื้นบ้าน 1,000 บาท
  • รางวัลพ่อเพลงดีเด่น 1,000 บาท
  • รางวัลแม่เพลงดีเด่น 1,000 บาท
  • รางวัลนักดนตรีดีเด่น 1,000 บาท

ติดต่อสอบถาม
อาจารย์ ดร.จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ โทร. 081-942-2794

มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
30,000 Baht
File attachments: 
หมดเขต: 
29 พ.ค. 2024 08:30 to 21 มิ.ย. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.