^ Back to Top

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ตราสัญลักษณ์แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 รอบ (108 ปี)

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ตราสัญลักษณ์แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 รอบ (108 ปี)

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ตราสัญลักษณ์แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 รอบ (108 ปี) ชิงเงินรางวัล พร้อมประกาศนียบัตร

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

  • นักเรียน นักศึกษา ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า บุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป
  • ไม่จํากัดอายุ
  • ไม่จํากัดเชื้อชาติ
  • ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องส่งในนามบุคคล ไม่ใช่นิติบุคคล
  • ผู้ส่งต้องพํานักอยู่ในประเทศไทย

หลักเกณฑ์และการพิจารณาตัดสิน

  • ประเภทตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม โดดเด่น ทันสมัย มีเอกลักษณ์ และ มีความเป็นสากล
    • สื่อความหมายเชิงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด Science Chula: Where the Science Shapes the Future
    • ต้องมีตราพระเกี้ยวแบบเต็ม (ตราสัญลักษณ์จุฬาฯ เก่า) โดยห้ามบิดเบือน หรือ ดัดแปลงอันก่อให้เกิดความแตกต่างไปจากปกติ โดยอ้างอิงจากเว็ปไซด์ /www.cusc.chula.ac.th/wordpress/download-logos-cu/
    • มีการใช้สีเหลือง (รหัสสี PANTONE Yellow PC หรือ CMYK: 0, 1, 100, 0 หรือ L*a*b*: 86.66, -5.18, 85.65) ในองค์ประกอบหลักของภาพ
    • กําหนดให้ใช้ ChulaCharasNew Font สําหรับภาคคําอธิบาย
    • ครบถ้วนตามเงื่อนไขและองค์ประกอบในการออกแบบ สามารถนําไปใช้งานเพื่อการสื่อสารในรูปที่หลากหลายบนสื่อสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และ อื่น ๆ
  • ประเภทตราสัญลักษณ์แห่งการสถาปนา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 รอบ (108 ปี)
    • ความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม โดดเด่น ทันสมัย มีเอกลักษณ์ และ มีความเป็นสากล
    • สื่อความหมายเชิงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด Science Chula: Where the Science Shapes the Future
    • ต้องมีคําว่า SCI CHULA 108 หรือ SCI CU 108 หรือ SCIENCE CHULA 108 หรือ SCIENCE CU 108
    • มีการใช้สีเหลือง (รหัสสี PANTONE Yellow PC หรือ CMYK: 0, 1, 100, 0 หรือ L*a*b*: 86.66, -5.18, 85.65) ในองค์ประกอบหลักของภาพ
    • กําหนดให้ใช้ ChulaCharasNew Font สําหรับภาคคําอธิบาย
    • ครบถ้วนตามเงื่อนไขและองค์ประกอบในการออกแบบ สามารถนําไปใช้งานเพื่อการสื่อสารในรูปที่หลากหลายบนสื่อสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และ อื่น ๆ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกวด

  • ต้องเป็นผลงานที่ออกแบบด้วยตนเองเท่านั้น และต้องไม่เป็นการทําซ้ำ เลียนแบบ ดัดแปลงผลงาน หรือ ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและตนเองที่เคยเผยแพร่สู่สาธารณะมาก่อนแล้ว
  • กรณีผลงานมีการใช้ข้อความ ให้ผู้ส่งผลงานระบุแบบตัวอักษร (typeface) ที่ผู้ออกแบบใช้และต้องมีลิขสิทธิ์ถูกต้องที่สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ หรือ เกิดจากการประดิษฐ์ขึ้นใหม่เองสําหรับผลงานที่ทําการส่งประกวดในครั้งนี้
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน
  • ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ และ เนื้อหาที่ใช้ประกอบผลงานประกวดหากมีข้อพิพาททางกฎหมายไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ให้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดและได้รับการคัดเลือกถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เพียงผู้เดียว โดยผู้ถือสิทธิ์สามารถปรับแก้ ดัดแปลง หรือ ทําซ้ําได้ นับตั้งแต่ได้รับคัดเลือก
  • การพิจารณาผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะร้องขออุธรณ์มิได้ และหากพบว่ามีการกระทําผิดในภายหลังที่ขัดต่อหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกวดเรื่องใดเรื่องหนึ่งทางคณะกรรมการจะเพิกถอนผลการตัดสินและเรียกคืนรางวัลที่ได้รับไปแล้วทั้งหมด

รูปแบบและเงื่อนไขในการส่งผลงาน

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องประกอบด้วย
    • ภาพตราสัญลักษณ์ที่ส่งเข้าประกวดในรูปแบบภาพสี และ ภาพขาว-ดํา ที่มีความละเอียดสูงไม่น้อยกว่า 300 DPI โดยส่งผลงานในรูปแบบไฟล์นําเสนอนามสกุล .JPG หรือ .PNG
    • คําอธิบายแนวคิด ความหมาย ของภาพและองค์ประกอบของตราสัญลักษณ์ความยาวไม่น้อยกว่า 300 คํา แต่ไม่เกิน 600 คํา
    • ไฟล์ผลงานต้นฉบับในรูปแบบไฟล์นําเสนอนามสกุล .ai หรือ .psd โดยจะต้องเป็นผลงานที่ออกแบบโดยการใช้โปรแกรม Adobe Illustrator และ/หรือ Photoshop เท่านั้นและต้องสามารถปรับแก้ผลงานได้หากมีตัวอักษรให้ Create outline ให้เรียบร้อย
  • ผลงานจะต้องไม่ใช้ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ในการออกแบบทุกกรณี
  • องค์ประกอบภายในตราสัญลักษณ์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ตัวอักษร และอื่น ๆ จะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
  • ผลงานออกแบบจะต้องสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบภาพสี และ ภาพขาว-ดํา
  • ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานออกแบบได้ไม่เกิน 2 ผลงาน/ตราสัญลักษณ์ โดยหาได้รับรางวัลจะได้รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียว

ระยะเวลาในการส่งผลงานเข้าประกวด

  • เปิดรับสมัครวันที่: วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567
  • ปิดรับสมัครวันที่: วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2567
  • ประกาศผลผู้ชนะการประกวด: วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 ทาง Facebook page: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลการประกวดในแต่ละประเภท

  • รางวัลชนะเลิศ จํานวน 1 รางวัล พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท และ เกียรติบัตร
  • ราวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จํานวน 1 รางวัล พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท และ เกียรติบัตร
  • ราวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จํานวน 1 รางวัล พร้อมเงินรางวัล 2,500 บาท และ เกียรติบัตร
  • รางวัลชมเชย จํานวน 5 รางวัล เกียรติบัตร

ติดต่อสอบถาม

  • thitiya.ku@chula.ac.th
  • 0 2218 5586, 0 2218 5042, 0 2218 5013
  • Facebook page: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ : คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

File attachments: 
หมดเขต: 
03 พ.ค. 2024 08:30 to 18 ส.ค. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.