^ Back to Top

ประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ประจำปี ๒๕๖๗ : Thailand Science Drama Competition 2024

ประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ประจำปี ๒๕๖๗ : Thailand Science Drama Competition 2024

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์/ศูนย์วิทยาศาสตร์ ASPAC ในต่างประเทศ ขอเชิญนักเรียนประถมศึกษา และประชาชนทั่วไป สมัครเข้าร่วมการประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ประจำปี ๒๕๖๗ : Thailand Science Drama Competition 2024 ภายใต้หัวข้อ "Global Sustainability: Nations in Action" ชิงทุนการศึกษา พร้อมโล่ และเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science) และศิลปะ (Art) มาบูรณาการร่วมกันในรูปแบบของละครวิทยาศาสตร์
  • เพื่อสร้างเวทีการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ผ่านการแสดงละครวิทยาศาสตร์
  • เพื่อคัดเลือกทีมตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันละครวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ

หัวข้อการแสดง
"Global Sustainability: Nations in Action" หรือ ความพยายามของประเทศไทยที่จะจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสู่ความยั่งยืนระดับโลก โดยแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย วิธีการป้องกันและแก้ปัญหาของภาคประชาชนหรือรัฐบาลผ่านการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์

คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร

  • ละครวิทยาศาสตร์ในรูปแบบละครเวที แบ่งเป็น ๒ ประเภท
    • ประเภท ประถมศึกษา (Junior Category)
      นักแสดงมีอายุไม่เกิน ๑๒ ปี (ผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นต้นไป) ยกเว้นครูที่ปรึกษาหรือผู้ควบคุมทีม และผู้ทำงานเบื้องหลัง
    • ประเภท บุคคลทั่วไป (Open Category)
      ไม่จำกัดอายุ แต่ต้องมีนักแสดงอย่างน้อย ๑ คน ที่อายุมากกว่า ๑๒ ปี
  • ละครวิทยาศาสตร์ในรูปแบบภาพยนตร์สั้น
    • ประเภท ภาพยนตร์สั้น (Short Film Category)
      นักแสดง ผู้เขียนบท นักตัดต่อวีดีโอ ช่างถ่ายวิดีโอ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำภาพยนตร์สั้นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา เท่านั้น โดยผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำได้

เงื่อนไขการสมัคร

  • สมาชิกในทีมทั้งหมด ไม่เกิน ๑๕ คน
    • ประเภทประถมศึกษาและบุคคลทั่วไป ประกอบด้วยนักแสดง คุณครู หรือผู้ดูแลทีมผู้ทำงานเบื้องหลัง เท่านั้น
    • ประเภทภาพยนตร์สั้น ประกอบไปด้วยนักแสดง คุณครูหรือผู้ดูแลทีม ผู้ทำงานเบื้องหลัง เช่น ผู้ตัดต่อวิดีโอ ผู้บันทึกวิดีโอ ผู้กำกับ นักเขียนบท ฯลฯ
    • ผู้ทำงานเบื้องหลังสามารถช่วยเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก ควบคุมเบื้องหลัง หรือช่วยนักแสดงได้ แต่ไม่สามารถเข้าร่วมการแสดงได้
    • คุณครูหรือผู้ดูแลทีมสามารถช่วยเหลือทีมได้เช่นเดียวกับผู้ทำงานเบื้องหลัง
  • แต่ละหน่วยงาน หรือ สถาบันสามารถส่งทีมเข้าประกวดได้ทั้ง ๓ ประเภท ไม่จำกัดจำนวนทีม
  • ในกรณีที่หน่วยงาน หรือสถาบันส่งประกวดมากกว่า ๑ ทีม ในประเภทเดียวกัน สมาชิกของทีมจะต้องไม่ซ้ำกัน แต่สามารถลงประกวดในประเภทอื่นได้ เช่น โรงเรียนส่งทีมเข้าประกวดในประเภทประถมศึกษา จำนวน ๒ ทีม ได้แก่ ทีม X และ ทีม Y หากผู้แสดง A ลงประกวดในทีม X จะไม่สามารถลงประกวดในทีม Y ได้ แต่สามารถลงประกวดประเภทบุคคลทั่วไป หรือภาพยนตร์สั้นได้
  • ในกรณีที่หน่วยงาน หรือสถาบันส่งประกวดมากกว่า ๑ ทีม ไม่สามารถใช้เนื้อเรื่องเดียวกันได้
  • ครูที่ปรึกษา หรือผู้ควบคุมทีม สามารถควบคุมและดูแลทีมมากกว่า ๑ ทีม จากหน่วยงาน หรือ สถาบันเดียวกันได้
  • การศึกษาทางเลือก เช่น Home School สามารถสมัครได้

ขั้นตอนการสมัครและส่งผลงาน

  • สมัครเข้าร่วมการประกวด (เปิดรับสมัคร ๔ ธ.ค. ๖๖ - ๒๙ ม.ค. ๖๗)
    • ชื่อโรงเรียน/สถาบัน (Home School สามารถสมัครได้)
    • ข้อมูลผู้ประสานงาน
  • ส่งวิดีโอการแสดง พร้อมบทละคร (ส่งผลงาน ๔ ธ.ค. ๖๖ - ๒๙ ม.ค. ๖๗)
    • ชื่อโรงเรียน/สถาบัน
    • ข้อมูลผู้ประสานงาน
    • ชื่อทีม + ชื่อการแสดง
    • รายชื่อสมาชิก
    • บทละครฉบับสมบูรณ์
    • ลิงก์วิดีโอการแสดง
  • รอบคัดเลือก (ประกาศผลรอบคัดเลือก ๒๓ ก.พ. ๖๗)
    คณะกรรมการพิจารณาผลงานและคัดเลือกประเภทละ ๕ ทีม เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
  • การอบรมพัฒนาทักษะการแสดง (เข้าร่วมการอบรม ๑๘ - ๒๐ มี.ค. ๖๗)
    ๕ ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจากประเภทประถมศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป เข้าร่วมอบรมพัฒนาทักษะการแสดง โดยวิทยากรจากสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รอบชิงชนะเลิศ (แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ๒๗ - ๒๘ เม.ย. ๖๗)
    ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากทั้ง ๓ ประเภท เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ประจำปี ๒๕๖๗

กติกาการผลิตคลิปวิดีโอ

  • เงื่อนไขคลิปวิดีโอแต่ละประเภท
    • ประเภทประถมศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป
      เป็นการแสดงในรูปแบบละครเวที คลิปวิดีโอการแสดงต้องไม่มีการตัดต่อใด ๆ ไม่เปลี่ยนมุมกล้อง และไม่มีการซูมเข้า-ออก
    • ประเภทภาพยนตร์สั้น
      มีการให้คะแนนเทคนิคการตัดต่อ ดังนั้นสามารถตัดต่อคลิปวิดีโอได้และต้องมีคำบรรยายภาษาอังกฤษประกอบ (English Subtitle) ตลอดทั้งคลิป
  • ใช้ภาษาอังกฤษในการแสดงเท่านั้น
  • เวลาที่ใช้ในการแสดง ๕ - ๗ นาที
    • แสดงเกินเวลาหรือน้อยกว่าเวลา ไม่เกิน ๑ นาที หัก ๑ คะแนน
    • แสดงเกินเวลาหรือน้อยกว่าเวลา ตั้งแต่ ๑.๐๑ นาทีเป็นต้นไป หัก ๒ คะแนน
  • โปรดระบุชื่อทีม โรงเรียน/หน่วยงาน และประเภทการประกวดให้ชัดเจนในวิดีโอและชื่อไฟล์ที่ส่ง
  • ผู้เข้าประกวดต้องมั่นใจว่า การบันทึกทั้งภาพและเสียงนั้นคมชัด เพื่อให้กรรมการเข้าใจเนื้อหาเข้าถึงบทบาทตัวละคร และสามารถตัดสินได้ง่าย
  • ส่งผลงานได้ตั้งแต่ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๖ – ๒๙ มกราคม ๒๕๖๗

รางวัล ทุนการศึกษา และการสนับสนุน
รางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมประกวด แต่ละประเภท

  • รางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ ทุนการศึกษา ๑๕,๐๐๐ บาท โล่ และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทุนการศึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทุนการศึกษา ๗,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร
  • รางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม ทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร
  • เกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมประกวด

หมายเหตุ ทั้งนี้รูปแบบและของรางวัล อาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐๒ ๕๗๗ ๙๙๙๙ ต่อ ๑๗๔๕, ๑๗๙๓

File attachments: 
หมดเขต: 
04 ธ.ค. 2023 08:30 to 29 ม.ค. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.