ประกวดละครเพลงต่อต้านการทุจริต ประจำปี ๒๕๖๖
เขียนโดย mod เมื่อ พ, 2023-07-12 17:30
มูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม, เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษา หรือเทียบเท่า ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดละครเพลงต่อต้านการทุจริต ประจำปี ๒๕๖๖ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า ๖๕๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร
วัตถุประสงค์
- เป็นการประกวดการแสดงละครเพลงต่อต้านการทุจริตที่มีความร่วมสมัย เข้าถึงผู้ชมได้ง่าย และสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตให้กับประชาชน ผ่านการใช้บทเพลงช่อสะอาดต้านทุจริตทั้ง ๑๐ เพลง เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตให้กับชาวไทยในทุกเพศ ทุกวัย
- เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยร่วมสร้างสรรค์ผลงานการแสดงในรูปแบบละครเพลง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการต่อต้านทุจริต ในรูปแบบใหม่ ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยทั่วประเทศ
- เพื่อแสดงถึงจุดมุ่งมั่นของมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนและครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญที่สุดของทุกสังคม
- เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตผ่านการประกวดโครงการนี้ โดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
- เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต และสร้างความกล้าหาญให้กับเยาวชนในเรื่องการต่อต้านการทุจริต ที่เยาวชนสามารถเป็นผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบให้กับสังคมและให้กับประเทศชาติได้ในช่องทางที่ถูกต้อง ด้วยการสร้างเครือข่ายเพื่อนช่อสะอาด ระหว่างผู้เข้าประกวดและสถานศึกษาในการร่วมมือกัน รณรงค์ต่อต้านการทุจริต โดยจะไม่ทน ไม่ยอม และไม่เฉยต่อการทุจริต
- เพื่อนำผลงานที่ได้จากการประกวดในรอบชิงชนะเลิศมาใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ของมูลนิธิต่อต้านการทุจริต กระทรวงวัฒนธรรม เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู และองค์กรสื่อสารมวลชน อื่นๆ ในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตต่อไป
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าประกวด
- การประกวดแบ่งเป็น ๒ ระดับ
- ระดับมัธยมศึกษา
- ระดับอุดมศึกษา
- คุณสมบัติผู้สมัคร
- ผู้สมัครระดับมัธยมศึกษา ต้องเป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา หรืออาชีวะศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ผู้สมัครระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปวส.และปริญญาตรี)
- กรณีที่การแสดงจำเป็นต้องมีตัวละครเด็กร่วมแสดง คณะกรรมการอนุญาตให้นำนักเรียนระดับประถมศึกษา และระดับอนุบาลเข้าร่วมการแสดงได้ แต่นักแสดงเด็กจะต้องอยู่ในสถานศึกษาเดียวกัน โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดคณะกรรมการจะพิจารณาว่าจะจัดให้อยู่ในระดับใด จะพิจารณาจากระดับการศึกษาที่สูงที่สุดของนักแสดงในทีม
- สมาชิกในทีมต้องอยู่สถานศึกษาเดียวกันทั้งหมด
- ผู้เข้าประกวดจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้บริหารสถานศึกษารับรอง
- สมาชิกในทีมมีได้ไม่เกิน ๒๐ คน
เกณฑ์/ ประเภทการประกวด
- การแสดงละครเพลง เป็นรูปแบบของละครที่นาดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม เรียกง่าย ๆ ว่า ‘มิวสิคัล’
- ความยาวของการแสดง ๗-๑๐ นาที
- การแสดงจะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและในการแสดงจะต้องใช้เพลงรณรงค์ต่อต้านทุจริตของมูลนิธิ ฯ อย่างน้อย ๑ เพลง โดยมีเพลงให้เลือกใช้พร้อม Backing Track จำนวน ๑๐ เพลง ดังนี้
- เพลงช่อสะอาด...ต้านทุจริต
- เพลงปลวก
- เพลงเด็กไทยโตไปไม่โกง
- เพลงใจสะอาด
- เพลงต้นกล้าความดี
- เพลงสาบานกับฟ้า สัญญากับใจ
- เพลงกาล…โกง
- เพลงทุจริตอย่าติดว้าว
- เพลงฉันจะไม่ทน…
- เพลงคนไทยหัวใจไม่โกง
- ในการแสดงหากมีเพลงที่ไม่ได้แต่งเองนำมาประกอบการแสดงทั้งเพลงที่ใช้ขับร้อง และเพลงประกอบการแสดง ผู้สมัครจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานในการนำมาใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนำส่งหลักฐานการได้รับอนุญาตแนบมากับหลักฐานการสมัคร
- ตัวละครที่ขับร้องเพลงต้องขับร้องด้วยตนเอง ไม่อนุญาตให้ใช้การลิปซิงค์ (Lip Sync)
- จำนวนนักแสดงไม่เกิน ๒๐ คน
การสมัครประกวด และการส่งผลงาน
- ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.acf.or.th, หรือที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ ‘ช่อสะอาดต้านทุจริต’
- การส่งผลงานเข้าประกวดมีรายละเอียดดังนี้
- ส่งผลงานการแสดงผ่านคลิปวิดิโอ ความยาวไม่เกิน ๗-๑๐ นาที ประเภทไฟล์ mp4 (Full HD ๑,๙๒๐ x ๑,๐๘๐) โดยแนบลิงค์ให้สามารถดาวน์โหลดได้
- ส่งบทละคร และบทร้องที่แสดงในคลิปวิดีโอเพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คณะกรรมการพิจารณา โดยการพิมพ์เป็นไฟล์ WORD เท่านั้น
- ส่งบทบรรยายแนวความคิดของการแสดงไม่เกิน ๑ กระดาษ A4 ให้คณะกรรมการพิจารณา โดยการพิมพ์เป็นไฟล์ WORD เท่านั้น
- ส่งใบสมัคร และหลักฐานการศึกษาของสมาชิกในทีม เป็นไฟล์ PDF
- ส่งคลิปวิดีโอ, บทละครและบทร้อง, บทบรรยายแนวความคิดของการแสดง พร้อมใบสมัครและหลักฐานการศึกษามาที่ E-mail : ppyactivities@trueplookpanya.com ภายในวันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
วิธีดำเนินโครงการและหลักเกณฑ์การจัดประกวด
- การประกวดรอบแรก
- คณะกรรมการตัดสินรอบแรกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต, กระทรวงวัฒนธรรม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการแสดงละครเพลง และนักวิชาการด้านศิลปะการแสดง
- การคัดเลือกรอบแรกมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
- การตัดสินผลงานการแสดงจะแยกประเภทระหว่างระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
- การแสดงมีเนื้อหาชักชวนให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการทุจริต
- การแสดงไม่มีเนื้อหาหรือถ้อยคำที่หยาบคาย หรือพาดพิงถึงบุคคล องค์กร หรือสถาบันให้ เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง
- การแสดงจะต้องมีบทเพลงรณรงค์ต่อต้านทุจริตของมูลนิธิ ฯ อยู่ในการแสดงอย่างน้อย ๑ เพลง จะร้องจนจบเพลง หรือร้องเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้
- ผลงานละครเพลง จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบมาจากที่ใด เนื้อหาบทละคร และคำร้อง ต้องแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หากมีการใช้เพลงรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ที่นอกเหนือจาก ๑๐ เพลงที่กาหนด ต้องเป็นเพลงที่แต่งเองขึ้นมาใหม่
- การแสดงที่ส่งมาเป็นคลิปวิดีโอในรอบแรกต้องแสดงได้จริงบนเวทีการประกวดรอบชิงชนะเลิศ โดยคณะกรรมการมิได้คัดเลือกผลงานจากการถ่ายทำหรือการตัดต่อที่ดีและสมบูรณ์
- คัดเลือกผลงานรอบแรก วันที่ ๑๑–๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ และประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก ในวันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ www.acf.or.th, และเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘ช่อสะอาดต้านทุจริต’
- คณะกรรมการจะคัดเลือกการแสดงที่ผ่านรอบแรก ประเภทละ ๑๐ ทีม ภาค จากทั้ง ๒ ระดับ รวม ๒๐ ทีม เข้าสู่รอบที่ ๒ ต่อไป โดยทีมที่ผ่านรอบแรกจะได้รับทุนการศึกษาทีมละ ๕,๐๐๐ บาท
- การประกวดรอบที่ ๒
- ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบที่ ๒ คณะกรรมการอาจจะมีการแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขการแสดงของแต่ละทีมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งทุกทีมจะต้องนำคำแนะนาจากคณะกรรมการไปปรับปรุงผลงานใหม่ให้เหมาะสม แล้วจัดการแสดงพร้อมถ่ายคลิปการแสดงส่งกลับมาให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง สำหรับทีมที่ไม่ได้รับคำแนะนำแต่ละทีมอาจปรับปรุง และฝึกซ้อมการแสดงให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ก่อนถ่ายคลิปการแสดงส่งกลับมาให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ทาง E-mail : ppyactivities@trueplookpanya.com
- การคัดเลือกรอบที่ ๒ จัดให้มีขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต, กระทรวงวัฒนธรรม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการแสดงละครเพลง และนักวิชาการด้านศิลปะการแสดง
- โดยพิจารณาคัดเลือกผลงานการแสดงให้เหลือระดับละ ๕ ทีม รวม ๑๐ ทีม จากทั้ง ๒ ระดับ เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป โดยพิจารณาจากผลงานที่มีเนื้อหาต่อต้านการทุจริตที่โดนใจ การแสดงที่งดงาม มีคุณภาพ มีความเป็นละครเพลง ‘มิวสิคัล’ ที่โดดเด่น พร้อมทั้งผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์เข้ากับสังคมในยุคปัจจุบันตลอดทั้งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย และมีความเหมาะสมสำหรับการแสดงรอบชิงชนะเลิศ
- ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทั้ง ๒ ระดับ จำนวน ๑๐ ทีมจะได้รับเงินทุนสนับสนุนการประกวดทีมละ ๑๐,๐๐๐ บาท และค่าเดินทางสำหรับรอบชิงชนะเลิศอีก ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับนำไปพัฒนาการแสดง และร่วมกิจกรรมในรอบชิงชนะเลิศต่อไป
- ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในวันจันทร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ที่ www.acf.or.th, และเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘ช่อสะอาดต้านทุจริต’
- รอบชิงชนะเลิศ
- เกณฑ์การพิจารณา คณะกรรมการจะพิจารณาคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- เนื้อหา คำร้อง ต้องเป็นการแสดงชุดเดียวกับในคลิปวิดีโอ ที่ส่งมาในรอบแรก แต่อนุญาตให้ปรับเพิ่มเติมเนื้อหาการแสดงหรือสร้างความน่าสนใจในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตได้ตามความเหมาะสม
- ในแต่ละทีมสามารถเลือกที่จะใช้ดนตรีประกอบการขับร้อง (Backing Track) ซึ่งเป็นเพลงรณรงค์ต่อต้านทุจริตของมูลนิธิ ฯ หรือเพลงที่ตัวเองแต่งขึ้นมาเองก็ได้ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ แต่ถ้าหากใช้ดนตรีที่ไม่ได้แต่งขึ้นเองมาประกอบในการแสดงจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องนำส่งหลักฐานที่ได้รับการอนุญาตนำส่งให้คณะกรรมการก่อนทำการประกวดรอบชิงชนะเลิศ
- เนื้อหาการแสดงสามารถชักชวนให้ ประชาชนมาร่วมกันต่อต้านการทุจริต และไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย และไม่พาดพิงถึงบุคคล องค์กร หรือสถาบันให้ เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง
- ขั้นตอนการประกวด
- ผู้เข้าประกวดพูดนำเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดงชุดนี้ไม่เกิน ๒ นาที
- จัดการแสดงในเวลา ๗-๑๐ นาที บนเวทีต่อหน้าคณะกรรมการ
- คณะกรรมการซักถาม ๕ นาที
(การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)
- คณะกรรมการร่วมตัดสินรอบชิงชนะเลิศประกอบด้วย จากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต, กระทรวงวัฒนธรรม เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ศิลปินแห่งชาติ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการแสดงละครเพลง และนักวิชาการด้านศิลปะการแสดง ในวันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
- เกณฑ์การพิจารณา คณะกรรมการจะพิจารณาคุณลักษณะดังต่อไปนี้
ห้วงระยะเวลาการจัดงาน
- เปิดรับผลงาน วันที่ ๑๑ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
- ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ วันที่ ๘ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
- ปิดรับผลงาน วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
- คัดเลือกผลงานรอบแรก วันที่ ๑๑- ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖
- ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก วันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖
- ส่งคลิปวิดีโอที่ปรับใหม่ให้คณะกรรมการ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- คัดเลือกผลงานรอบที่สอง วันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖
- ประกาศผลผู้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ วันจันทร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖
- ซ้อมใหญ่การประกวดรอบชิงชนะเลิศ วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
- การประกวดรอบชิงชนะเลิศ วันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
รางวัลการประกวด
- ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ
- ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
- เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- ทุนการศึกษา จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑
- ถ้วยเกียรติยศ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- ทุนการศึกษา จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒
- ถ้วยเกียรติยศ จากกระทรวงวัฒนธรรม
- เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- ทุนการศึกษา จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ( ๒ รางวัล )
- ถ้วยเกียรติยศ จากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- ทุนการศึกษา จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชนะเลิศ
- รางวัลสำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบแรก ๒๐ ทีม
ทั้ง ๒ ระดับชั้น ทุนสนับสนุน ทีมละ ๕,๐๐๐ บาท - รางวัลสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ๑๐ ทีม
ทั้ง ๒ ระดับชั้น ทุนสนับสนุน ทีมละ ๑๕,๐๐๐ บาท - รางวัลขวัญใจมหาชน ( Popular Vote )
- ถ้วยเกียรติยศ จากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
- ทุนการศึกษา จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ
- การลงคะแนนผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR code) สามารถลงคะแนนได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งแต่จะต้องอยู่ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
- คณะกรรมการจะนับคะแนนโหวตจากผู้ที่ชื่นชอบการแสดงนั้น ๆ ซึ่งพิจารณาจากผลรวมของการนับคะแนนจากการลงคะแนนผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR code) จากการแสดงทั้ง ๒ ระดับชั้น ภายในเวลาที่กำหนด ณ วันถ่ายทอดสดการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ
ติดต่อสอบถาม
- โทร. ๐๙๗-๒๘๙-๙๒๔๖, ๐๙๖-๘๗๙-๖๔๑๖
- www.facebook.com/Chorsaardthailand
Contest Type:
Eligibility:
มูลค่าเงินรางวัลรวม:
650,000 Baht
Contest's URL:
File attachments:
หมดเขต:
11 ก.ค. 2023 04:59 to 30 ก.ย. 2023 17:00
Published by: