^ Back to Top

ประกวดคลิป เกี่ยวกับโรคเมลิออยด์

ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยด์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมทำคลิปประกวดเกี่ยวกับโรคเมลิออยด์ ชิงเงินรางวัลมูลค่า 160,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ โดยมี 2 ประเภท ดังนี้

1. คลิป ประเภท “รู้จัก” เป็นคลิปที่ทำให้ผู้ชมสามารถจำชื่อ “โรคเมลิออยด์” ได้ และทราบว่าเป็น “โรคติดเชื้อ” ชนิดหนึ่ง จำแนกเป็นรางวัลต่างๆ ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ “มหาชนรู้จักโรคเมลิออยด์” เงินรางวัลรวม 40,000 บาท แบ่งเงินรางวัลออกเป็น

  • เงินรางวัลรับทุนสนับสนุน 25,000 บาท
  • ที่ปรึกษารับทุนสนับสนุน 5,000 บาท
  • สถาบันรับทุนสนับสนุน 10,000 บาท

ตัดสินโดย “most viewed” บน Youtube ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555

รางวัลชนะเลิศ “คนไข้รู้ทันโรคเมลิออยด์” เงินรางวัลรวม 40,000 บาท แบ่งเงินรางวัลออกเป็น

  • เงินรางวัลรับทุนสนับสนุน 25,000 บาท
  • ที่ปรึกษารับทุนสนับสนุน 5,000 บาท
  • สถาบันรับทุนสนับสนุน 10,000 บาท

ตัดสินโดยคณะกรรมการร่วมกับ กลุ่มตัวอย่างคนไข้เบาหวานภาคอีสานจำนวน 20 คน

2. คลิป ประเภท “รู้ทัน” ควรทำให้ผู้ชมทราบถึงวิธีการป้องกันตัวเองจาก “โรคเมลิออยด์”

รางวัลชนะเลิศ “มหาชนรู้ทันโรคเมลิออยด์” เงินรางวัลรวม 40,000 บาท แบ่งเงินรางวัลออกเป็น

  • เงินรางวัลรับทุนสนับสนุน 25,000 บาท
  • ที่ปรึกษารับทุนสนับสนุน 5,000 บาท
  • สถาบันรับทุนสนับสนุน 10,000 บาท

ตัดสินโดย “most viewed” บน Youtube ณ วันที่ 30 พย 55

รางวัลชนะเลิศ “คนไข้รู้ทันโรคเมลิออยด์” เงินรางวัลรวม 40,000 บาท แบ่งเงินรางวัลออกเป็น

  • เงินรางวัลรับทุนสนับสนุน 25,000 บาท
  • ที่ปรึกษารับทุนสนับสนุน 5,000 บาท
  • สถาบันรับทุนสนับสนุน 10,000 บาท

ตัดสินโดยคณะกรรมการร่วมกับ กลุ่มตัวอย่างคนไข้เบาหวานภาคอีสานจำนวน 20 คน

กติกาการประกวด

  • ไม่จำกัดอายุ และการศึกษาของผู้สมัคร
  • ความยาวไม่เกิน 10 นาที ไม่จำเป็นต้องซีเรียส หรือเป็นทางการ
  • ไม่จำกัดไอเดีย หรือรูปแบบของคลิป เช่น มิวสิควีดีโอ หรือ แอนิเมชั่นก็ได้
  • รวมตัวกันเป็นทีม ทีมละกี่คนก็ได้ (อย่างต่ำ 1 คน)
  • 1 ทีม สามารถส่งคลิปเข้าประกวดได้มากกว่า 1 คลิป
  • ที่ปรึกษา 1 ท่าน สามารถเป็นที่ปรึกษาได้มากกว่า 1 ทีม
  • 1 สถาบัน สามารถส่งทีมเข้าประกวดได้มากกว่า 1 ทีม
  • ถ้าอายุน้อยกว่า 18 ปี ต้องมีที่ปรึกษา
  • ที่ปรึกษาอาจเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข หรือผู้มีคุณวุฒิเทียบเท่า
  • ถ้าไม่มีที่ปรึกษาและ/หรือไม่สังกัดสถาบัน เงินรางวัลส่วนของที่ปรึกษาและ/หรือสถาบัน จะเป็นของทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวดทั้งหมด
  • ภาษาในคลิป (ถ้ามี) ต้องเป็นภาษาไทย (เป็นภาษาไทยท้องถิ่นก็ได้)
  • 1 คลิปที่ส่งเข้าประกวด ต้องเลือกว่าส่งเข้าประเภท “รู้จัก” หรือ “รู้ทัน”
  • 1 คลิปที่ส่งเข้าประกวดสามารถได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งจากมหาชนและจากกลุ่มตัวอย่างคนไข้ (เงินรางวัลรวมอาจสูงสุดถึง 80,000 บาท ต่อ 1 คลิป)
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวด คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถนำไปใช้ประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ได้
  • ผลงานต้องไม่เคยเผยแพร่มาก่อน และทำโดยสมาชิกในทีม
  • คำตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  • สามารถส่งคลิปเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคม 2555
  • รายละเอียดเกี่ยวกับโรคเมลิออยด์ และการป้องกันโรคเมลิออยด์สามารถอ่านได้ที่ www.facebook.com/melioid

วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด

  • อัพโหลดผลงานขึ้น Youtube.com
  • ตั้งผลงานว่า “[การประกวดคลิปเมลิออยด์] ชื่อคลิป”
  • ใส่คำอธิบาย (description) ใต้คลิปผลงานว่า
    1. ประเภท : รู้จักโรคเมลิออยด์ (หรือ “รู้ทันโรคเมลิออยด์”)
    2. ชื่อทีม : (พร้อมชื่อสมาชิก ในวงเล็บ)
    3. ชื่อที่ปรึกษา : (ถ้ามี)
    4. ชื่อสถาบัน : (ถ้ามี)
  • · จากนั้นคัดลอกลิงก์ที่ได้จาก Youtube.com ไปโพสต์ไว้ที่ www.facebook.com/melioid

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคเมลิออยด์
จาก : http://th-th.facebook.com/melioid

  1. คนไทยเป็น "โรคเมลิออยด์" ปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 คน และเสียชีวิตด้วยโรคนี้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ... (ตัวเลขรายงานโดยโรงพยาบาลนั้นคลาดเคลื่อนจากตัวเลขที่แท้จริงอย่างมาก)
  2. มีงานวิจัยยืนยันว่าในปี 2551 ถึง 2554 เฉพาะในจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วย "โรคเมลิออยด์" มากกว่า 150 รายต่อปี และจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้กำลังเพิ่มขึ้นทุกปี
  3. "โรคเมลิออยด์" เคยมีชื่อภาษาไทยอื่นๆ ว่า "โรคเมลิออยโดสิส" "โรคมงคล่อเทียม" และ "โรคไข้ดิน" ชื่อ "โรคเมลิออยด์" นั้นถูกกำหนดตามผลการประชุมระหว่างทีมนักวิจัยและตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2555 ณ. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล เพื่อให้การรณรงค์เกี่ยวกับโรคนี้ใในทุกภาคส่วนสอดคล้องกัน
  4. "โรคเมลิออยด์" เกิดจากการติด "เชื้อเมลิออยด์" ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดินและในน้ำ พบได้ทั่วไปในดินและในน้ำในประเทศไทย
  5. การติด "โรคเมลิออยด์" นั้นเกิดจาก (1) การสัมผัสดินและน้ำทางผิวหนังโดยตรง (2) จากการกินอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาดและมีแบคทีเรียปนเปื้อน หรือ (3) จากการหายใจเอาเชื้อเข้าทางปอดโดยตรง ** โดยที่โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน **
  6. "โรคเมลิออยด์" จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูทำนาของเกษตรกร โดยที่เกษตรกรไทยมีการสัมผัสดินและน้ำตลอดเวลาโดยไม่มีการป้องกัน
  7. อาการของ "โรคเมลิออยด์" นั้นมีได้หลากหลายรูปแบบ บางคนก็มาด้วยไข้สูงอย่างเดียว บางคนก็มาด้วยปอดอักเสบ บางคนก็มาด้วยอาการปวดท้อง บางคนก็มาด้วยอาการฝีเรื้อรังไม่หาย บางคนก็มาด้วยไอเหมือนวัณโรค อีกทั้ง บางคนก็มาด้วยอาการเฉียบพลัน บางคนก็มาด้วยอาการเรื้อรัง ทำให้ยากต่อการวินิจฉัย
  8. การวินิจฉัยโรคเมลิออยด์นั้นทำได้โดยการเพาะเชื้อ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2-7 วันในการเพาะเชื้อ แต่คนไทยไม่ค่อยรู้จักโรคนี้เพราะกว่าผลเพาะเชื้อจะออกว่าเป็น "โรคเมลิออยด์" นั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็เสียชีวิต และญาติได้นำศพกลับบ้านไปแล้ว
  9. "โรคเมลิออยด์" ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป ต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะกับเชื้อที่ก่อโรคนี้เท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยที่มีไข้สูง (ที่ไม่ใช่ไข้หวัด) และมีอาชีพทำไร่ทำนาหรือมีประวัติสัมผัสดินหรือน้ำโดยตรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้
  10. ทีสำคัญที่สุดก็คือ "โรคเมลิออยโดสิส" สามารถป้องกันได้ โดยการ
    1. ไม่สัมผัสดินและน้ำโดยตรง ไม่เดินเท้าเปล่า และ เกษตรกรควรสวมถุงมือและใส่รองเท้าบูทเสมอ
    2. กินอาหารที่สะอาดและดื่มน้ำต้มสุกเท่านั้น
    3. ถ้าจำเป็นต้องสัมผัสดินและน้ำโดยตรง (เช่น ต้องทำนาโดยไม่สามารถสวมถุงมือหรือใส่รองเท้าบู๊ทได้) ควรทำความสะอาดร่างกายทันที หลังจากเสร็จกิจกรรมนั้นๆ
    4. ไม่ตากฝน ไม่อยู่ท่านกลางฝุ่นดิน และ
    5. เลิกบุหรี่ ไม่ทานยาหม้อ ยาต้ม ยาชุด หรือ ยาลูกกลอน

ข่าว : วัชรา น้อยชมภู
คัดลอก/เผยแพร่ : ContestWar

มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
160,000 Baht
File attachments: 
หมดเขต: 
23 เม.ย. 2012 10:00 to 31 ต.ค. 2012 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.