^ Back to Top

ประกวดสื่อสันติภาพระดับชาติ "รางวัลช่อมะกอก" ปีที่ 9 ประจําปี 2566 : 9th Olive Branch Awards 2023"

ประกวดสื่อสันติภาพระดับชาติ "รางวัลช่อมะกอก" ปีที่ 9 ประจําปี 2566 : 9th Olive Branch Awards 2023"

สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และผู้ไม่สังกัดสถานศึกษาในระบบ (อายุไม่เกิน 24 ปี) ส่งผลงานการประกวดสื่อสันติภาพระดับชาติ "รางวัลช่อมะกอก" ปีที่ 9 ประจําปี 2566 : 9th Olive Branch Awards 2023" ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

ประเภทการประกวด

  • ประเภทสุนทรพจน์
  • ประเภทบทกวี
  • ประเภทเรื่องเล่า

กติกาการประกวดประเภทสุนทรพจน์

  • คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
    • กําลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือผู้มีอายุเทียบเท่า
    • ส่งประเภทบุคคล ไม่จํากัดจํานวนผลงาน
  • เนื้อหาผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์มุมมอง ความคิด ซึ่งเลือกหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่งมากล่าวถึงอย่างเด่นชัด เช่น "ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี/ ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/ สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก” หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนําเสนอในเชิงการสะท้อนมนุษย์ สะท้อนสังคม เพื่อตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่จําเป็นต้องติดกรอบสุนทรพจน์รูปแบบเดิมๆ
  • ตั้งชื่อเรื่องให้ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหาผลงาน และตั้งได้ตามอิสระของผู้เขียน
  • ต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์ขนาด 16 พ้อยต์ ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งเป็นความยาวที่ใช้เวลาในการกล่าวสุนทรพจน์ประมาณ 15 นาที
  • ผลงานต้องเป็นการสร้างสรรค์ของผู้เขียน ใช้ภาษาไทยในการเขียนเป็นหลัก ต้องไม่ใช่งานแปล แปลง เลียนแบบ ลอก ทําซ้ำผลงานของผู้อื่น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในไฟล์ผลงานให้ชัดเจน
  • กรณีมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษาผลงาน ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ในผลงานให้ชัดเจน หากส่งผลงานไปแล้ว ไม่อนุญาตให้เพิ่มชื่อในภายหลัง
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน และเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
  • สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงาน รวมทั้งคลิปวิดีโอการกล่าวสุนทรพจน์รอบชิงชนะเลิศมาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปผ่านช่องทางต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอีก
  • การตัดสินใช้ฉันทามติของคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • เนื้อหา: มีความสอดคล้องหรือสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนดและเกี่ยวข้อง สามารถตีความยกตัวอย่าง สร้างเรื่องราว บอกเล่าได้อย่างเข้าใจและนําเสนอในเชิงลึกได้
    • การสร้างสรรค์: เนื้อหา เรื่องราวมีความโดดเด่น ทั้งมุมมอง ความคิด รวมถึงรูปแบบ เทคนิค การนําเสนอ มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่จําเป็นต้องยึดติดกับสุนทรพจน์รูปแบบเดิมๆ
    • ภาษา: ถูกต้อง กระชับ สวยงาม สื่อความได้อย่างมีนัยยะและพลังทางวรรณกรรม
    • การกล่าวสุนทรพจน์: หากผลงานเข้ารอบชิงชนะเลิศ เจ้าของผลงานสามารถกล่าวสุนทรพจน์ได้เหมาะสมตามเพศ วัย หรือลักษณะเฉพาะในแบบของตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องยึดติดกับการกล่าวสุนทรพจน์ในรูปแบบเดิมๆ โดยกล่าวได้ชัดตามอักขระวิธีน้ำเสียง ท่วงทํานอง สีหน้า ท่าทางที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกออกมาได้อย่างกลมกลืนกับเนื้อหา และใช้เวลาได้ตามที่กําหนดประมาณ 15 นาที
  • ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุนทรพจน์ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 4 ผลงาน ผู้เขียนจะต้องเข้าร่วมกล่าวสุนทรพจน์รอบชิงชนะเลิศแบบออนไลน์ในงาน ม.อ.วิชาการ 2566 ของสถาบันสันติศึกษา วันที่ 17 สิงหาคม 2566 หากไม่สามารถเข้าร่วมกล่าวสุนทรพจน์รอบชิงชนะเลิศในวันเวลาที่กําหนดได้ถือว่าสละสิทธิ์จากการประกวด และคณะกรรมการจะให้สิทธิ์แก่ผลงานลําดับสํารอง
  • ส่งผลงานเป็นไฟล์ Word และไฟล์ PDF (ต้องส่งทั้ง 2 ไฟล์)

กติกาการประกวดประเภทบทกวี

  • คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
    • กําลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาและปริญญาตรีหรือมีอายุเทียบเท่า
    • ส่งประเภทบุคคล ไม่จํากัดจํานวนผลงาน
  • เนื้อหาผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ มุมมอง ความคิดที่สะท้อนประเด็นใดประเด็นหนึ่งอย่างเด่นชัด เพื่อตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้น เช่น "ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี/ ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/ สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก" หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่จําเป็นต้องยึดติดกับบทกวีในรูปแบบเดิมๆ
  • ตั้งชื่อเรื่องให้ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหาผลงาน และตั้งได้ตามอิสระของผู้เขียน
  • เขียนเป็นบทกวีฉันทลักษณ์หรือบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ก็ได้ โดยต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์ขนาด 16 พ้อยต์
    • บทกวีฉันทลักษณ์ ความยาวไม่เกิน 10 บท
    • บทกวีไร้ฉันทลักษณ์(กลอนเปล่า) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4
  • ผลงานต้องเป็นการสร้างสรรค์ของผู้เขียน ใช้ภาษาไทยในการเขียนเป็นหลัก ต้องไม่ใช่งานแปล แปลง เลียนแบบ ลอก ทําซ้ําผลงานของผู้อื่น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในไฟล์ผลงานให้ชัดเจน
  • กรณีมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษาผลงาน ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ในผลงานให้ชัดเจน หากส่งผลงานไปแล้ว ไม่อนุญาตให้เพิ่มชื่อในภายหลัง
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน และเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
  • สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปผ่านช่องทางต่างๆ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอีก
  • การตัดสินใช้ฉันทามติของคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • เนื้อหา: มีความสอดคล้องหรือสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนดและเกี่ยวข้อง สามารถตีความสร้างเรื่องราว บอกเล่าได้อย่างเข้าใจและนําเสนอในเชิงลึกได้
    • การสร้างสรรค์: เนื้อหา เรื่องราวมีความโดดเด่น ทั้งมุมมอง ความคิด รวมถึงรูปแบบ เทคนิค การนําเสนอ มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่จําเป็นต้องยึดติดกับบทกวีรูปแบบเดิมๆ
    • ภาษา: ถูกต้อง กระชับ สวยงาม สื่อความได้อย่างมีนัยยะและพลังทางวรรณกรรม
  • ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ประกาศผลการตัดสินพร้อมมอบรางวัลแบบออนไลน์ในงาน ม.อ.วิชาการ 2566 ของสถาบันสันติศึกษา วันที่ 17 สิงหาคม 2566
  • ส่งผลงานเป็นไฟล์ Word และไฟล์ PDF (ต้องส่งทั้ง 2 ไฟล์)

กติกาการประกวดประเภทเรื่องเล่า

  • คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
    • กําลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาและปริญญาตรีหรือมีอายุเทียบเท่า
    • ส่งประเภทบุคคล ไม่จํากัดจํานวนผลงาน
  • เนื้อหาผลงานเป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ที่สะท้อนประเด็นใดประเด็นหนึ่งอย่างเด่นชัด เพื่อตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้น เช่น "ความขัดแย้ง / ความรุนแรง / สันติวิธี / ความยุติธรรม / สิทธิมนุษยชน / การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ / สังคมพหุวัฒนธรรม / การอยู่ร่วมกันในสังคม / การกระทําต่อกันของมนุษย์ทั้งในเชิงโครงสร้างและปัจเจก" หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่จําเป็นต้องยึดติดกับการเล่าเรื่องในรูปแบบเดิมๆ
  • ตั้งชื่อเรื่องให้ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหาผลงาน และตั้งได้ตามอิสระของผู้เขียน
  • ต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์ขนาด 16 พ้อยต์ ความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4
  • ผลงานต้องเป็นการสร้างสรรค์ของผู้เขียน ใช้ภาษาไทยในการเขียนเป็นหลัก ต้องไม่ใช่งานแปล แปลง เลียนแบบ ลอก ทําซ้ําผลงานของผู้อื่น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ ชื่อสถานศึกษา ที่ตั้ง และชั้นปีที่กําลังศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่มีไว้ในไฟล์ผลงานให้ชัดเจน
  • กรณีมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษาผลงาน ให้ระบุชื่อ-สกุลไว้ในผลงานให้ชัดเจน หากส่งผลงานไปแล้ว ไม่อนุญาตให้เพิ่มชื่อในภายหลัง
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน และเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
  • สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถนําผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปผ่านช่องทางต่างๆ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอีก
  • การตัดสินใช้ฉันทามติของคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก
    • เนื้อหา: มีความสอดคล้องหรือสะท้อนถึงประเด็นที่กําหนดและเกี่ยวข้อง สามารถตีความสร้างเรื่องราว บอกเล่าได้อย่างเข้าใจและนําเสนอในเชิงลึกได้
    • การสร้างสรรค์: เนื้อหา เรื่องราวมีความโดดเด่น ทั้งมุมมอง ความคิด รวมถึงรูปแบบ เทคนิค การนําเสนอ มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่จําเป็นต้องยึดติดกับการเล่าเรื่องรูปแบบเดิมๆ
    • ภาษา: ถูกต้อง กระชับ สวยงาม สื่อความได้อย่างมีนัยยะและพลังทางวรรณกรรม
  • ประกาศรายชื่อผลงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ทางเพจโครงการประกวดสื่อสันติภาพรางวัลช่อมะกอก และเว็บไซต์สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ประกาศผลการตัดสินพร้อมมอบรางวัลแบบออนไลน์ในงาน ม.อ.วิชาการ 2566 ของสถาบันสันติศึกษา วันที่ 17 สิงหาคม 2566
  • ส่งผลงานเป็นไฟล์ Word และไฟล์ PDF (ต้องส่งทั้ง 2 ไฟล์)

กำหนดระยะเวลา
หมดเขตส่งผลงานวันที่ 15 กรกฎาคม 2566

รางวัลการประกวด

  • ประเภทสุนทรพจน์
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 2 รางวัล
  • ประเภทบทกวี
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 2 รางวัล
  • ประเภทเรื่องเล่า
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จํานวน 2 รางวัล

หมายเหตุ

  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่มอบรางวัลใดรางวัลหนึ่ง หากผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามฉันทามติของคณะกรรมการ
  • ผู้ส่งผลงานและครู/อาจารย์ที่ปรึกษาผลงานทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมประกวด

ติดต่อสอบถาม
074-289463 (คุณนิวดี)

ข่าวประชาสัมพันธ์ : K. Niwadee Saheem / สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Total Prize Money: 
60,000 Baht
File attachments: 
Deadline: 
19 Apr 2023 08:30 to 15 Jul 2023 16:30

Members Online

There is currently 1 user online.

  • mod