^ Back to Top

ประกวดเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยภาษาถิ่น

ประกวดเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยภาษาถิ่น

ราชบัณฑิตยสถาน ขอเชิญนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. ๔-๖) สมัครเข้าร่วมการประกวดเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยภาษาถิ่น : ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ชิงทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร

การสมัครเข้าร่วมการประกวด
๑. โรงเรียนที่ประสงค์จะส่งนักเรียนเข้าร่วมประกวด สามารถส่งนักเรียนได้เพียง ๑ (หนึ่ง) คน โดยส่ง ใบสมัครพร้อมไฟล์วีดิทัศน์ที่บันทึกการเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยภาษาถิ่น ซึ่งมีทั้งภาพและเสียงของนักเรียนผู้เข้าประกวดเล่าเรื่องที่แสดงความสามารถในการใช้ภาษาถิ่น มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ และมีลีลาในการเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย บันทึกวีดิทัศน์ที่ถ่ายทาต่อเนื่อง ไม่มีการตัดต่อ แทรกภาพหรือเสียงอื่นใดเพิ่มเติมลงในแผ่นดีวีดี มีความยาวประมาณ ๕ (ห้า) นาที จานวน ๒ (สอง) แผ่น ด้วยไฟล์ที่สามารถเปิดได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (สมาร์ตโฟน) ทั่วไป เช่น AVI, MP4, VLC, WMV, 3GP, FLV (โรงเรียนที่อยู่ในภาคเหนือ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ, โรงเรียนที่อยู่ในภาคอีสาน เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน และโรงเรียนที่อยู่ภาคใต้ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคใต้)
๒. ส่งใบสมัครพร้อมแผ่นดีวีดีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมาที่ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ ภายในวันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ให้ถือวันที่ที่ทาการไปรษณีย์ออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทาการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองเป็นวันที่ส่ง ราชบัณฑิตยสถานจะไม่พิจารณาผู้สมัครเข้าประกวดที่ส่งใบสมัครเกินกาหนดเวลา หรือส่งใบสมัครผิดสถานที่ หรือบันทึกวีดิทัศน์ด้วยไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดอ่านกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ (สมาร์ตโฟน) ทั่วไปได้

วิธีการคัดเลือก
๑. รอบแรก ราชบัณฑิตยสถานจะคัดเลือกผู้ผ่านรอบแรกจากวีดิทัศน์ของแต่ละภาคให้เหลือภาคละ ๑๐ (สิบ) คน ผู้ผ่านรอบแรกพร้อมโรงเรียนจะได้รับเกียรติบัตรจากราชบัณฑิตยสถาน และเผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน
๒. รอบสุดท้าย ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในแต่ละภาคต้องเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนตามประเด็นเดิมในรอบแรก ต่อหน้าคณะกรรมการคัดเลือกของราชบัณฑิตยสถาน และออกอากาศในรายการวิทยุของสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ภาคเหนือที่สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่, ภาคอีสานที่สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดขอนแก่น, ภาคใต้ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดสงขลา) ในวันเวลาที่ราชบัณฑิตยสถานกาหนด โดยต้องมาลงทะเบียนภายในเวลาที่ราชบัณฑิตยสถานกาหนดและแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะบันทึกวีดิทัศน์ผู้เข้าประกวดทุกรายไว้เป็นหลักฐาน

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา ๑๒,๐๐๐ (หนึ่งหมื่นสองพัน) บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทุนการศึกษา ๑๐,๐๐๐ (หนึ่งหมื่น) บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทุนการศึกษา ๘,๐๐๐ (แปดพัน) บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนที่เข้าประกวดจะได้รับเกียรติบัตร
  • โรงเรียนต้นสังกัดจะได้รับโล่เกียรติยศ

หมายเหตุ

  • ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกที่ไม่มาประกวดในรอบสุดท้าย ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กาหนด หรือมาลงทะเบียนไม่ทันกาหนดเวลา ถือเป็นการสละสิทธิ์
  • ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละภาคต้องมารับทุนการศึกษาและเกียรติบัตร พร้อมเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยภาษาถิ่น ในวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ระหว่างเวลา ๙.๓๐-๑๐.๓๐ น. ณ สถานที่จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติของราชบัณฑิตยสถาน ประจาพุทธศักราช ๒๕๕๘ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ไม่มารับรางวัลพร้อมเล่าเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร อาจถูกพิจารณาตัดสิทธิ์ในการรับทุนการศึกษา

แนวทางการพิจารณาและตัดสินการประกวด
๑. เล่าเรื่องด้วยภาษาถิ่นที่แสดงถึงความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน เช่น วิถีชีวิต ประเพณี การละเล่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่ บุคคลสาคัญ
๒. คณะกรรมการจะพิจารณาจากความสามารถในการใช้ภาษาถิ่น มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ และมีลีลาในการเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย

รายละเอียดอื่นๆ
๑. นักเรียนจะได้รับค่าเดินทาง ดังนี้

  • นักเรียนผู้เข้ารอบสุดท้ายซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่จัดการประกวดรวมทั้งผู้ติดตาม จานวน ๒,๐๐๐ (สองพัน) บาท
  • นักเรียนผู้เข้ารอบสุดท้ายซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่นอกเขตจังหวัดที่จัดการประกวดรวมทั้งผู้ติดตาม จานวน ๔,๐๐๐ (สี่พัน) บาท
  • นักเรียนผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ และรองชนะเลิศอันดับ ๒ ในแต่ละภาคพร้อมผู้ติดตามที่เดินทางมารับรางวัลจะได้รับค่าเดินทางตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ๖,๐๐๐ (หกพัน) บาท

๒. นักเรียนพร้อมผู้ติดตามที่พักค้างคืนก่อนหรือหลังวันประกวด หรือวันรับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ และรองชนะเลิศอันดับ ๒ จะได้รับค่าที่พักตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐ (สองพัน) บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
๑. นางวรรณธนา มูลจันทร์ นักวรรณศิลป์ชานาญการ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๔๑๔๙ ๗๗๓๔
๒. นายปิยะพงษ์ โพธิ์เย็น นักวรรณศิลป์ชานาญการ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๘๕ ๔๔๙๔

หมดเขต: 
26 ก.พ. 2015 10:00 to 31 มี.ค. 2015 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.