^ Back to Top

ประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ "Eco-Design Sparking Innovation Award"

ประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ "Eco-Design Sparking Innovation Award"

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ "Eco-Design Sparking Innovation Award" A Call for Innovation in Design for Recycling and Carbon Footprint Solutions ชิงโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมศึกษาดูงานที่ประเทศไต้หวัน

หัวข้อการประกวด
การประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Eco-Design for Sustainable Packaging ภายใต้หัวข้อ A Call for Innovation in Design for Recycling and Carbon Footprint Solutions

ธีมการประกวด
A Call for Innovation in Design for Recycling and Carbon Footprint Solutions คือการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืนบนแนวคิดของนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์เพื่อโลกสีเขียว และคำนึงถึงหลักการออกแบบเพื่อการรีไซเคิล Design for Recycling (D4R) และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs Start-ups นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่เพิ่มอัตราการเก็บกลับของบรรจุภัณฑ์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

  • ประเภทผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs: กิจการที่ถือเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 และจดทะเบียนตามกฎหมายอย่างถูกต้อง
  • ประเภทบุคคลทั่วไป หรือ Start-ups: บุคคลทั่วไป ทั้งรูปแบบเดี่ยวหรือกลุ่ม (ไม่จำกัดจำนวนสมาชิก) รวมถึง Start-ups และมีสัญชาติไทย
  • ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา: นิสิตหรือนักศึกษา ทั้งรูปแบบเดี่ยวหรือกลุ่ม (ไม่จำกัดจำนวนสมาชิก) ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา และมีสัญชาติไทย

ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่เปิดรับสมัคร

  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบเพื่อหีบห่อหรือบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยต่ออาหารและเครื่องดื่ม การคงคุณภาพ ความสวยงาม รวมไปถึงความสะดวกในการใช้งาน ทั้งนี้ต้องเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติก ทั้งรูปแบบบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (ถุงและซองขนาดเล็ก) และบรรจุภัณฑ์พลาสติกคงรูป (ขวด โหล กล่อง ถาด ถ้วย บลิสเตอร์แพค หลอด ลัง)
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกส าหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (Non Food and Beverage Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบเพื่อหีบห่อหรือบรรจุสำหรับสินค้าอุปโภคที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับความงามและดูแลร่างกาย (สบู่ แชมพู ครีมทาผิว ผลิตภัณฑ์สปา เครื่องสำอาง) บรรจุภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน (น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาปรับผ้านุ่ม) บรรจุภัณฑ์สำหรับดูแลสุขภาพ (ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในโรงพยาบาล) และ บรรจุภัณฑ์อื่นๆ (ถุงขยะ สติ๊กเกอร์) ทั้งนี้ ต้องเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งรูปแบบบบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (ถุงและซองขนาดเล็ก) และบรรจุภัณฑ์พลาสติกคงรูป (ขวด ตลับ กล่อง ถ้วย หลอด บลิสเตอร์แพค ถัง ลัง)
  • บรรจุภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Innovative Sustainable Packaging) คือ บรรจุภัณฑ์อื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 2 ข้อด้านบน หรือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบจากวัสดุทดแทน เช่น กระดาษ อ้อย
  • ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์ที่เปิดรับสมัครต้องเป็นการออกแบบในประเทศไทยหรือส าหรับใช้ในประเทศไทยหรือเพื่อการส่งออกเท่านั้น

รายละเอียดของผลงานที่ส่งเข้าประกวด

  • ใบสมัครการประกวดโดยระบุรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ สามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • วิดีโอการนำเสนอผลงาน ความยาวไม่เกิน 3 นาที สามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในการนำเสนอควรมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
    • ชื่อผู้นำเสนอหรือชื่อกลุ่ม/ทีม
    • ชื่อผลงาน
    • แนวคิดการออกแบบที่สอดคล้องกับหัวข้อการประกวดหรือนำเสนอความน่าสนใจของชิ้นงาน
      โดยสามารถส่งใบสมัครพร้อมส่งวิดีโอให้ทาง email: giz.innovationaward2025@gmail.com
  • หากผ่านการพิจารณารอบแรก ผู้ผ่านเข้ารอบจะต้องส่งบรรจุภัณฑ์ที่จำหน่ายจริงในตลาด (Commercial) 2 ชิ้น หรือบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) 1 ชิ้น เพื่อให้คณะกรรมการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะรางวัล (โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อกำหนดการประกวด)

กำหนดระยะเวลา

  • 4 มีนาคม - 15 เมษายน 2568 (ปิดรับสมัครเวลา 23.59 น. ของวันที่ 15 เมษายน 2568) ประกาศรับสมัครและประชาสัมพันธ์ ลงทะเบียน และส่งผลงานเข้าประกวด
  • 15 - 30 เมษายน 2568 พิจารณาผู้ผ่านเข้ารอบแรก: ประกาศผลผู้ผ่านการพิจารณารอบแรก 30 เมษายน
  • 1 - 14 พฤษภาคม 2568 (ปิดรับชิ้นงานเวลา 23.59 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม 2568) ผู้เข้ารอบส่งบรรจุภัณฑ์ที่จ าหน่ายจริงในตลาด (Commercial) 2 ชิ้น หรือบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) 1 ชิ้น
    * บรรจุภัณฑ์ต้นแบบต้องถูกผลิตออกมาเป็นชิ้น อาจจะใช้การพิมพ์แบบ 3D หรือกระบวนการอื่นที่ให้คณะกรรมการเห็นเป็นชิ้นงาน
  • 15 - 31 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการพิจารณาผู้ได้รับรางวัล
  • 1 มิถุนายน 2568 ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล
  • 11 มิถุนายน 2568 ผู้ชนะรางวัลที่ 1-3 เข้าร่วมรับรางวัลในงาน “Eco-design Sparking Innovation” ในงาน ProPak Asia 2025 ณ ไบเทค บางนา

เกณฑ์การให้คะแนน

  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คือ ความแปลกใหม่และความสร้างสรรค์ของบรรจุภัณฑ์เมื่อเทียบกับของที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • ความสะดวกในการใช้งาน คือ บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งานของผู้บริโภคหรือไม่
  • นวัตกรรม คือ การออกแบบน าเสนอเทคนิค วัสดุ หรือแนวทางใหม่หรือไม่
  • การนำไปผลิตได้จริง คือ สามารถน าไปผลิตได้จริงในระดับอุตสาหกรรม
  • การเลือกวัตถุดิบ คือ การออกแบบช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบหรือไม่ (เช่น ใช้วัสดุรีไซเคิล, วัสดุทดแทน, หลีกเลี่ยงสารอันตราย)
  • กระบวนการผลิต คือ กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรหรือไม่ (เช่น ใช้พลังงานน้อย, ลดของเสีย, แหล่งที่มายั่งยืน, ใช้น้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ)
  • การกระจายสินค้า คือ บรรจุภัณฑ์ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งหรือไม่ (เช่นออกแบบให้มีน้ำหนักเบา, โครงสร้างกะทัดรัด, ลดบรรจุภัณฑ์เสริม)
  • การใช้งาน คือ บรรจุภัณฑ์ได้รับการออกแบบให้มีความทนทานและสามารถน ากลับมาใช้ซ้ำได้หรือไม่ (เช่น น ากลับมาเติมได้, ยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์)
  • การจัดการซาก คือ บรรจุภัณฑ์สามารถน ากลับมารีไซเคิล หรือ ได้รับการรับรองมาตรฐาน compostable (เช่น การออกแบบด้วยวัสดุชนิดเดียว, คำแนะนำในการจัดการที่ชัดเจน, ใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้)
  • การยอมรับในระบบซาเล้ง คือ มีราคาขายที่ชัดเจนและมีซาเล้งที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้ว

รางวัลการประกวด

  • ผู้ชนะรางวัลลำดับ 1 ของแต่ละประเภทจะได้รับ
    • โล่ประกาศเกียรติคุณ / ประกาศนียบัตร
    • ศึกษาดูงานที่ไต้หวัน โดย ความร่วมมือกับ Taiwan Plastics Industry Development Center (PIDC) พร้อมเข้าร่วมงาน Green Life and Sustainable Taiwan Expo ในเดือนพฤศจิกายน 2568*
      • ประเภท SMEs จำนวน 1 ที่/ ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่รับสมัคร
      • ประเภท บุคคลทั่วไป และ Start-ups จำนวน 1 ที่/ ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่รับสมัคร
      • ประเภทนิสิต นักศึกษา จำนวน 1 ที่ / ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่รับสมัคร
    • การประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านเครือข่าย GIZ Global Network และพันธมิตรของโครงการ
    • การเข้าร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ และเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ ซึ่งจัดขึ้นโดย GIZ Global Network
  • ผู้ชนะรางวัลล าดับ 2-3 จะได้รับ
    • โล่ประกาศเกียรติคุณ /ประกาศนียบัตร
    • การประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านเครือข่าย GIZ Global Network และพันธมิตรของโครงการ
    • การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ ซึ่งจัดขึ้นโดย GIZ Global Network และพันธมิตรของโครงการ
  • ผู้ที่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก จะได้ใบประกาศนียบัตรเข้าร่วมการประกวด

หมายเหตุ
*ผู้จัดงานจะเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้รายละเอียดของการสนับสนุนเรื่องการศึกษางานให้เป็นไปตามเงื่อนที่ผู้จัดงานกำหนด
** ในกรณีที่สมัครแบบกลุ่ม ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้แทนของกลุ่มที่ชนะจ านวน 1 คน เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ไต้หวัน

ติดต่อสอบถาม

  • Facebook: Eco-design Innovation Award 2025
  • IG account: Eco-design Innovation Award 2025
  • Email account: giz.innovationaward2025@gmail.com
File attachments: 
หมดเขต: 
04 มี.ค. 2025 (All day) to 15 เม.ย. 2025 (All day)

Members Online

There are currently 0 users online.