^ Back to Top

ประกวดถ่ายภาพ "อุทกภัย 2554 คนไทยไม่ทิ้งกัน"

สำนักงานปฏิรูป ร่วมกับสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และชมรมถ่ายภาพองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) จัดกิจกรรมประกวดถ่ายภาพ
"อุทกภัย 2554 คนไทยไม่ทิ้งกัน"

หลักการและเหตุผล
"จิตอาสา" ที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น หรือนึกถึงส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นครู พ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป ก็สามารถเป็นอาสาสมัครได้ตลอดเวลาหากมีจิตใจ ที่คำนึงถึงส่วนรวมอยู่เสมอ เราจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่า "อาสาสมัคร" นั้นไม่ใช่เป็นอาชีพ หากคือสำนึกที่สมควรมีอยู่คู่กับความเป็นมนุษย์ของเราจนกว่าชีวิตจะหาไม่1

อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เกิดผลกระทบต่อบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคมถึงเริ่มคลี่คลาย มีราษฎรได้รับผลกระทบแล้วมากกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งสร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 63 จังหวัด 641 อำเภอ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร ทางภาคเหนือ ไปจนถึง พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ปทุมธานี นครนายก นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี กรุงเทพมหานคร ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

ซึ่งอุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ" แต่บนความทุกข์จากอุทกภัย เราได้เห็นการเสียสละการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือส่วนรวม

ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชน สื่อมวลชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสยกย่องเชิดชูผู้ที่มีจิตอาสา ทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยให้ภาพถ่ายเป็นสื่อ ดังคำกล่าวที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพสื่อความหมายได้ดีกว่าคำพูดหมื่นคำ" นั้นนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้กับผู้ที่ทำงานเพื่อส่วนรวมแล้วยังจะเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนและเยาวชนได้อย่างดียิ่ง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรของคนไทยที่มีต่อกันในยามประสบอุทกภัย
  • เพื่อยกย่องเชิดชูผู้ที่ทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวมในเหตุการณ์อุทกภัย ปี 2554
  • เพื่อส่งเสริมแนวคิดจิตอาสาให้กับประชาชนและเยาวชน

กติกา

  • การส่งภาพเข้าประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
    1. ประชาชนทั่วไป
    2. นักเรียน นิสิต นักศึกษา
    3. สื่อมวลชน
  • ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายในช่วงเหตุการณ์อุทกภัย ในปี 2554 เท่านั้น
  • ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีการตกแต่งแก้ไขภาพ
  • ภาพถ่ายจะต้องเน้นถึงการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือในเหตุการณ์อุทกภัย ในปี 2554
  • ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดขององค์กรอื่นมาก่อน
  • ผู้ส่งภาพเข้าประกวดมีสิทธิ์ส่งได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น

ประเภทประชาชนทั่วไป

  1. ภาพที่ส่งเข้าประกวดเป็นภาพสี ขนาด 8 x 12 นิ้ว ซึ่งสามารถอัดขยายจากต้นฉบับเป็นฟิล์มสี ฟิล์มขาวดำ ฟิล์มสไลด์สี หรือถ่ายจากกล้องดิจิตอล
  2. ส่งภาพประกวดได้ไม่เกินคนละ 10 ภาพเท่านั้น และแต่ละภาพต้องติดลงบนกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ด เพื่อป้องกันความเสียหาย
  3. ทุกภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเขียนคำบรรยาย ความประทับใจในการถ่ายภาพในครั้งนั้นไม่ต่ำกว่า 2 บรรทัด
  4. ด้านหลังระบุชื่อผู้ถ่ายภาพ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อภาพ ระบุเลขที่จำนวนของภาพ สถานที่ถ่ายภาพและวันที่ถ่ายภาพ
  5. ภาพที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นภาพที่ถ่ายโดยผู้ส่งเข้าประกวดเท่านั้น หากพิสูจน์ได้ภายหลังว่า ผู้ส่งเข้าประกวดไม่ได้เป็นเจ้าของผลงาน ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการจะเรียกรางวัลที่ได้รับไปแล้วกลับคืนและตัดสิทธิ์ในการรับรางวัล
  6. ผู้จัดมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์และเผยแพร่ภาพที่ส่งเข้าประกวด โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของภาพ
  7. การตัดสินจะกระทำโดยความยุติธรรม โดยมีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยาน
  8. ผู้ได้รับรางวัลมีสิทธิ์รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียวและผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานปฏิรูป
  9. ผู้ได้รับรางวัลต้องส่งมอบฟิล์มหรือไฟล์ต้นฉบับก่อนรับรางวัล ถ้าไม่ส่งต้นฉบับผู้ส่งภาพจะถูกตัดสิทธิ์ในการรับรางวัล
  10. ภาพที่ส่งประกวดทุกภาพ ผู้จัดประกวดภาพจะไม่นำส่งคืน
  11. ผู้ส่งภาพประกวดทุกท่าน ยินยอมปฏิบัติตามกติกาที่ระบุไว้ข้างต้นทุกประการ และผลการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา

  1. ผู้ส่งภาพประกวดต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับไม่เกินปริญญาตรีและมีอายุไม่เกิน 25 ปี พร้อมสำเนาบัตรนักเรียน นิสิต นักศึกษา
  2. ภาพที่ส่งเข้าประกวดเป็นภาพสี ขนาด 8 x 12 นิ้ว ซึ่งสามารถอัดขยายจากต้นฉบับเป็นฟิล์มสี ฟิล์มขาวดำ ฟิล์มสไลด์สี หรือถ่ายจากกล้องดิจิตอล
  3. ส่งภาพประกวดได้ไม่เกินคนละ 10 ภาพเท่านั้น และแต่ละภาพต้องติดลงบนกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ด เพื่อป้องกันความเสียหาย
  4. ทุกภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเขียนคำบรรยาย ความประทับใจในการถ่ายภาพในครั้งนั้นไม่ต่ำกว่า 2 บรรทัด
  5. ด้านหลังระบุชื่อผู้ถ่ายภาพ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อภาพ ระบุเลขที่จำนวนของภาพ สถานที่ถ่ายภาพและวันที่ถ่ายภาพ
  6. ภาพที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นภาพที่ถ่ายโดยผู้ส่งเข้าประกวดเท่านั้น หากพิสูจน์ได้ภายหลังว่า ผู้ส่งเข้าประกวดไม่ได้เป็นเจ้าของผลงาน ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการจะเรียกรางวัลที่ได้รับไปแล้วกลับคืนและตัดสิทธิ์ในการรับรางวัล
  7. ผู้จัดมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์และเผยแพร่ภาพที่ส่งเข้าประกวดโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของภาพ
  8. การตัดสินจะกระทำโดยความยุติธรรม โดยมีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยาน
  9. ผู้ได้รับรางวัลมีสิทธิ์รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียวและผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานปฏิรูป
  10. ผู้ได้รับรางวัลต้องส่งมอบฟิล์มหรือไฟล์ต้นฉบับก่อนรับรางวัลถ้าไม่ส่งต้นฉบับผู้ส่งภาพจะถูกตัดสิทธิ์ในการรับรางวัล
  11. ภาพที่ส่งประกวดทุกภาพ ผู้จัดประกวดภาพจะไม่นำส่งคืน
  12. ผู้ส่งภาพประกวดทุกท่าน ยินยอมปฏิบัติตามกติกาที่ระบุไว้ข้างต้นทุกประการ และผลการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ประเภทสื่อมวลชน

  1. ผู้ส่งภาพเข้าประกวดต้องเป็นสื่อมวลชนประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยมี หนังสือรับรองจากสมาคมวิชาชีพที่เชื่อถือได้
  2. ภาพที่ส่งเข้าประกวดเป็นภาพสี ขนาด 8 x 12 นิ้ว ซึ่งสามารถอัดขยายจากต้นฉบับเป็นฟิล์มสี ฟิล์มขาวดำ ฟิล์มสไลด์สี หรือถ่ายจากกล้องดิจิตอล
  3. ส่งภาพประกวดได้ไม่เกินคนละ 10 ภาพเท่านั้น และแต่ละภาพต้องติดลงบนกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ด เพื่อป้องกันความเสียหาย
  4. ทุกภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเขียนคำบรรยาย ความประทับใจในการถ่ายภาพในครั้งนั้นไม่ต่ำกว่า 2 บรรทัด
  5. ด้านหลังระบุชื่อผู้ถ่ายภาพ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อภาพ ระบุเลขที่จำนวนของภาพ สถานที่ถ่ายภาพและวันที่ถ่ายภาพ
  6. ภาพที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นภาพที่ถ่ายโดยผู้ส่งเข้าประกวดเท่านั้น หากพิสูจน์ได้ภายหลังว่า ผู้ส่งเข้าประกวดไม่ได้เป็นเจ้าของผลงาน ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการจะเรียกรางวัลที่ได้รับไปแล้วกลับคืนและตัดสิทธิ์ในการรับรางวัล
  7. ผู้จัดมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์และเผยแพร่ภาพที่ส่งเข้าประกวดโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของภาพ
  8. การตัดสินจะกระทำโดยความยุติธรรม โดยมีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยาน
  9. ผู้ได้รับรางวัลมีสิทธิ์รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียวและผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานปฏิรูป
  10. ผู้ได้รับรางวัลต้องส่งมอบฟิล์มหรือไฟล์ต้นฉบับก่อนรับรางวัล ถ้าไม่ส่งต้นฉบับผู้ส่งภาพจะถูกตัดสิทธิ์ในการรับรางวัล
  11. ภาพที่ส่งประกวดทุกภาพ ผู้จัดประกวดภาพจะไม่นำส่งคืน
  12. ผู้ส่งภาพประกวดทุกท่าน ยินยอมปฏิบัติตามกติกาที่ระบุไว้ข้างต้นทุกประการ และผลการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

รางวัลประเภทประชาชนทั่วไป

  • รางวัลชนะเลิศ โล่เกียรติยศจาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 โล่เกียรติยศจาก นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 โล่เกียรติยศจาก นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท
  • รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 5,000 บาท

รางวัลประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา

  • รางวัลชนะเลิศ โล่เกียรติยศจาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 25,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 โล่เกียรติยศจาก นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 โล่เกียรติยศจาก นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท
  • รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 2,500 บาท

รางวัลประเภทสื่อมวลชน

  • รางวัลชนะเลิศ โล่เกียรติยศจาก นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 โล่เกียรติยศจาก นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 โล่เกียรติยศจาก นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท
  • รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 5,000 บาท

คณะกรรมการตัดสิน

  • นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป
  • พลเอกศรุต นาควัชระ กรรมการมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
  • นายวิชัย วลาพล นายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
  • นายชวรงค์ ลิมปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • นายวิชัย พรเศรษฐ์ถาวร นายกสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ
  • นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พุทธศักราช 2552 ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศไทย
  • นายอัมพร ธนชาญ ที่ปรึกษาสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นางฐาณิยา พงษ์ศิริ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ TNN2 (TRUE VISIONS 8)
  • นางวณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป
  • นายพุทธินคร ต้อยสำราญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาถ่ายภาพ วิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ชมรมภาพถ่ายขาว – ดำ แห่งประเทศไทย
  • นางสาวกังสดาล เชาว์วัฒนกุล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
  • นายอดุลย์ พรชุมพล ประธานชมรมถ่ายภาพ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS)
  • นายครรชิต ปิตะกา หัวหน้าฝ่ายสื่อสารสังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปฏิรูป

กำหนดเวลา
วันเปิดรับภาพ วันที่ 20 มกราคม 2555
วันปิดรับภาพ วันที่ 9 มีนาคม 2555 ( วันที่ประทับตราไปรษณีย์ )
วันตัดสินภาพ วันที่ 20 มีนาคม 2555
วันประกาศผลการตัดสิน วันที่ 21 มีนาคม 2555
(ทางเว็บไซต์สำนักงานปฏิรูป www.reform.or.th และ เว็บไซต์สมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ www.bpsthai.org)
วันมอบรางวัล วันที่ 30 มีนาคม 2555

ใบสมัครสามารถโหลดได้ที่ : www.reform.or.th

สถานที่ส่งภาพ : สำนักงานปฏิรูป 126/146 ชั้น 4 อาคาร 10 ชั้น สถาบันบำราศนราดูร
ซอยติวานนท์ 14 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร : 02-965-9531-3 ต่อ 121 - 2 โทรสาร : 02-965-9534

ที่มา : สมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ

มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
400,000 Baht
File attachments: 
วันประกาศผล: 
พ, 2012-03-21 (All day)
หมดเขต: 
20 ม.ค. 2012 10:00 to 09 มี.ค. 2012 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.