ประกวดออกแบบลายผ้าไทย "Cultural Textile Awards 2023"
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบลายผ้าไทย "Cultural Textile Awards 2023" ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๖ ชิงเงินรางวัล พร้อมประกาศนียบัตร
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทย และนักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่ ได้นําเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์ผ้าไทย ภายใต้แนวคิดจากหนังสือแนวโน้ม และทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๓ (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023) นําเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์ลายผ้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และต่อยอดภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนสืบไป
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- นักออกแบบ นิสิต นักศึกษา
- กลุ่มผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน
- ประชาชนทั่วไป ไม่จํากัดอาชีพ เพศและอายุ
- สัญชาติไทย
- ส่งในลักษณะบุคคล หรือกลุ่มไม่เกิน ๓ คน
หัวข้อในการประกวด
- แนวคิดหลัก "ตัวตนข้ามวัฒนธรรม Expressive Exotic"
หนึ่งในแนวคิดจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๓ (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023) ผู้ส่งผลงานร่วมประกวดสามารถ ตีความได้อย่างไม่จํากัด โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติและสีย้อมธรรมชาติ - การประกวดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทได้แก่
- ผ้าไหม ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดใช้เส้นไหมมาทอหรือผลิตเป็นผืนผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ ตามที่ต้องการนําเสนอ โดยเน้นการใช้เส้นไหมพันธุ์ไทย สร้างสรรค์เป็นผลงาน เน้นการย้อมโดยใช้สีจากธรรมชาติที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถหาได้ในท้องถิ่น
- ผ้าฝ้าย ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดใช้เส้นฝ้ายมาทอหรือผลิตเป็นผืนผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ ตามที่ต้องการนําเสนอ โดยเน้นการใช้ฝ้ายที่หาได้ในท้องถิ่น สร้างสรรค์เป็นผลงาน เน้นการย้อมโดยใช้ สีจากธรรมชาติ ที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถหาได้ในท้องถิ่น
- สิ่งทอสร้างสรรค์ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด สามารถผสมผสานวัสดุ ผสมผสานเทคนิคต่างๆ ได้ไม่จํากัด หรือผสมเส้นใยนวัตกรรม กําหนดให้มีการใช้วัสดุและการย้อมสีธรรมชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
- ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ต้องจัดส่งผลงานภาพร่าง แนวความคิดในการออกแบบผ้าอย่างชัดเจน สามารถส่งผลงานได้ทั้ง ๓ ประเภท (ผ้าไหม ผ้าฝ้าย สิ่งทอสร้างสรรค์) ไม่จํากัดจํานวนผลงาน แสดงถึงความคิด สร้างสรรค์ในการออกแบบผ้าที่สามารถถ่ายทอดแรงบันดาลใจ แนวความคิด การประยุกต์ใช้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นออกมาเป็นผลงานการออกแบบผ้าที่สวยงามและสามารถผลิตได้จริง
- หากผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ผ่านการคัดเลือกรอบแรกแล้ว (คณะกรรมการจะพิจารณาจาก ผลงาน Sketch Design ก่อนที่จะสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ) จากนั้นจะมีเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ โดยประมาณ ๖ สัปดาห์ เพื่อนําเสนอผลงานผ้าผืนที่สร้างสรรค์เสร็จเรียบร้อยในรอบตัดสินต่อไป
รูปแบบในการส่งผลงาน
- ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดส่งผลงานในรูปแบบ Sketch Design โดยมีแบบร่างความคิดสร้างสรรค์ พร้อมลงรายละเอียดการออกแบบพร้อมคําอธิบายตามหัวข้อและประเภทที่กําหนด
- ห้ามลอกเลียนแบบหรือดัดแปลงผลงานของผู้อื่นโดยเด็ดขาด
- ขนาดผลงานไม่เกิน ๒๙.๓ x ๔๒ เซนติเมตร (A3) จํานวนไม่เกิน ๔ หน้า โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
- แนวคิดในการออกแบบ ภาพแรงบันดาลใจ มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการออกแบบ
- ภาพแบบร่าง Sketch Design พร้อมตัวอย่างวัสดุที่จะใช้ในการผลิตผลงาน
- ภาพแสดงเทคนิคการทอหรือเทคนิคการสร้างลวดลาย วัสดุที่ใช้ย้อม
- ระบุประเภทที่สมัครประกวดที่มุมขวาล่างทุกหน้าของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
- กรุณาเขียนชื่อที่อยู่พร้อมรายละเอียดหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของผู้เข้าประกวด ไว้ด้านหลังทุกหน้าของผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบสําเนาบัตรประชาชนของผู้สมัครหรือตัวแทนกลุ่ม
การจัดส่งผลงาน
ส่งผลงานด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ได้ที่
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กลุ่มเผยแพร่และต่อยอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ชั้น ๓ อาคารบริการการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐
กำหนดระยะเวลา
- ส่งผลงานภาพแบบร่าง Sketch Design ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖
- คัดเลือกผลงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
- ตัดสินผลงาน ภายในวันที่ 4 กันยายน ๒๕๖๖
เกณฑ์การตัดสินผลงาน
- การใช้แนวคิดการนํามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด และมีความ สอดคล้องเชื่อมโยงกับ “ตัวตนข้ามวัฒนธรรม Expressive Exotic” ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดจากหนังสือแนวโน้ม และทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๓ (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023)
- การใช้วัสดุย้อมสีจากวัสดุธรรมชาติ สอดคล้องกับหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและ การออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๓ (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023)
- ผลงานที่มีเอกลักษณ์ออกแบบขึ้นใหม่ มีความโดดเด่น ไม่เคยส่งเข้าประกวดที่ไหนมาก่อน ๔.๔ ความคิดสร้างสรรค์ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและผู้บริโภค
- ความสวยงาม ตรงตามแบบร่างที่ส่งเข้าประกวด ความประณีตและความสม่ําเสมอในการทอ หรือการสร้างสรรค์ผ้า
- ความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์
- ทุกผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบต้องสามารถผลิตออกมาเป็นผ้าผืนได้จริง ตรงตามแบบที่เสนอต่อคณะกรรมการ และเสร็จสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่กําหนด จํานวนไม่น้อยกว่า ๒ หลา (๑๘๐ เซนติเมตร)
- คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินการประกวดประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ สิ่งทอ นักออกแบบด้านเครื่องแต่งกายและผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น โดยคําตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด จะอุทธรณ์ไม่ได้
รางวัลการประกวด
- ประเภทผ้าไหม
- รางวัลที่ ๑ (ชนะเลิศ) ๕๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๕ รางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท
- ประเภทผ้าฝ้าย
- รางวัลที่ ๑ (ชนะเลิศ) ๕๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๕ รางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท
- ประเภทสิ่งทอสร้างสรรค์
- รางวัลที่ ๑ (ชนะเลิศ) ๕๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๕ รางวัลๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ ทุกรางวัลรับเงินรางวัลพร้อมประกาศนียบัตร
ติดต่อสอบถาม
กลุ่มเผยแพร่และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
โทร ๐๒ – ๒๔๗๐๐๑๓ ต่อ ๔๓๐๕ และ ๔๓๑๙ - ๔๓๒๑ ในวันและเวลาราชการ