^ Back to Top

ประกวดหนังสั้นความยุติธรรมปี 4 หัวข้อ “หนัง (ว่าด้วย) กรอบ”

ประกวดหนังสั้นความยุติธรรม ปี 4 หัวข้อ “หนัง (ว่าด้วย) กรอบ”

สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับ Thai PBS และสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ขอเชิญนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป อายุระหว่าง 15-40 ปี ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม ปี 4 หัวข้อ “หนัง (ว่าด้วย) กรอบ” มาร่วมแสดงความคิดสร้างสรรค์มาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความยุติธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม (The Rule of Law ) ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท

ที่มาของโครงการ
สำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีพันธกิจ ส่งเสริม สนับสนุน และบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนในกระบวนการยุติธรรม และเสริมสร้างนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนและร่วมกันรักษาความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งโครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำนักงานกิจการยุติธรรม จัดขึ้นเพื่อต้องการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมได้ตระหนักและมองเห็นบทบาท หน้าที่ ความสำคัญของกระบวนการยุติธรรมต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับสังคม ในมิติที่หลากหลาย เพื่อให้สังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอมุมมอง แนวคิดใหม่ๆ ต่อกระบวนการยุติธรรมและสรรค์สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกระบวนการยุติธรรม อันนำไปสู่เป้าหมายการอำนวยความยุติธรรมและการบูรณาการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม

โครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรมปี 4 จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชน รวมถึงนิสิต นักศึกษาทั่วไปซึ่งเป็นเยาชนของประเทศในอนาคต ได้ตระหนัก รับรู้ถึง แก่นแท้แนวคิดของหลักนิติธรรม เพื่อเป็นการเชื่อมโยงหลักการจากภาคทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ และถ่ายทอดเป็นเรื่องราว ที่สามารถให้ทุกคนเข้าใจ และเกิดความรู้สึกร่วมได้ โดยในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 4 ได้กำหนด หัวข้อเรื่อง The Rule of Law (หลักนิติธรรม) ในหัวข้อ “หนัง (ว่าด้วย) กรอบ” เพื่อจะกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องหลักนิติธรรม ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ 7 หลักการคือ

  1. หลักการแบ่งแยกอำนาจ
  2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
  3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง 
  4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
  5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
  6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” และ
  7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบกันเป็นกฎ กติกาที่สำคัญนำมาซึ่งความสงบสุขของบ้านเมือง

คุณสมบัติผู้สมัคร
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 14-40 ปี

ขั้นตอนการรับสมัคร
1. ขั้นตอนการรับสมัคร

  • ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม โดยศึกษาระเบียบการรับสมัครและกรอกรายละเอียด ผ่านทาง www.oja.go.th (สำนักงานกิจการยุติธรรม) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
    • E-mail : justiceshortfilms@gmail.com
    • www.facebook.com/justiceshortfilms
    • โทรศัพท์ 0-2141-3754, 089-043-7718
  • ลงทะเบียนสมัครและส่ง Treatment (โครงเรื่องขยาย) ได้ที่
    • E-mail justiceshortfilms@gmail.com
    • หมดเขตรับสมัครภายในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2557 (เวลา 24.00 น.)

2. ขั้นตอนการส่งโครงเรื่องขยาย (Treatment)

  • การส่งโครงเรื่องขยาย (Treatment) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (ขนาดอักษร 16 Angsana New)
  • กำหนดให้ 1 ทีมมีสิทธิ์ส่งโครงเรื่องขยาย (Treatment) ได้ทีมละ 1 เรื่องเท่านั้น
  • ทีมงานต้องมีไม่เกิน 5 คน โดยรายชื่อสมาชิกจะยึดตามการกรอกข้อมูลการรับสมัครในเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการยุติธรรม (ไม่รวมนักแสดง)

หมายเหตุ โครงเรื่องขยาย (Treatment) คือการเขียนคาอธิบายของโครงเรื่องย่อ (Plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สาหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์และ การเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสาคัญ (Premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

3. ประกาศรายชื่อทีมที่มีสิทฺธิ์เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

  • ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งมีสิทธิเข้าร่วมการสัมมนา Workshop ทางเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการยุติธรรม www.oja.go.th และ www.facebook.com/justiceshortfilms
  • วันที่ 7 มีนาคม 2557
  • ในกรณีที่สมาชิกในทีมไม่สามารถเข้าร่วมได้ทั้งหมด ให้แต่ละทีมส่งสมาชิกในทีมอย่างน้อย 1 คนเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ (Workshop)

4. ขั้นตอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งที่ 1

  • การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม ปี 4 Theme “The Rule of Law” (หลักนิติธรรม)
    • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักนิติธรรม “The Rule of Law” (หลักนิติธรรม)
    • การถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ...สู่งานภาพยนตร์
    • การค้นหาแรงบันดาลใจ การค้นหาไอเดีย
  • การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในวันที่ 8-9 มีนาคม 2557 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ
  • ทีมที่สมัครเข้าร่วมการประกวดหนังสั้นความยุติธรรมปี 4 จะต้องเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ (Workshop) ครั้งที่ 1 จึงจะมีสิทธิ์ส่งบทภาพยนตร์สั้น (Screen play + Scene list) เพื่อคัดเลือกในรอบสองต่อไป

หมายเหตุ การเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คณะผู้จัดการประกวดจะรับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวันและอาหารว่าง ทั้ง 2 วัน ในส่วนของค่าเดินทางและที่พักของแต่ละทีมนั้น ทางคณะผู้จัดการประกวดไม่มีงบประมาณสนับสนุน ยกเว้นในกรณีสาหรับทีมที่เดินทางไกลมาจากต่างจังหวัด ซึ่งจะเบิกจ่ายให้ทีมละไม่เกิน 1,500 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง

5. ขั้นตอนการส่งบทภาพยนต์สั้น (Screen play+Scene list)

  • การส่งบทภาพยนตร์สั้น (Screen play+Scene list)
    กำหนดให้ 1 ทีมมีสิทธิ์ส่งบทภาพยนตร์สั้น (Screen play + Scene list) ได้ทีมละ 1 เรื่อง โดยจะเป็นการพัฒนาบทภาพยนตร์สั้นเดิมหรืออาจจะเป็นบทภาพยนตร์สั้นที่พัฒนาใหม่ก็ได้ตามความเหมาะสมหลังจากผ่านการ Workshop
  • ทีมที่จะมีสิทธิ์ส่งบทภาพยนตร์สั้น (Screen play+Scene list) ได้นั้นจะต้องเป็นทีมที่ผ่านหรือส่งสมาชิกในทีมเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการครั้งที่ 1 เท่านั้น

6. การตัดสินรอบคัดเลือก
โดยคณะกรรมการตัดสินรางวัลหนังสั้น ความยุติธรรม จำนวน 5 ท่านประกอบด้วย อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ สื่อมวลชน ผู้กำกับหนังสั้น และนักวิชาการยุติธรรม

7. ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือก

  • ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการยุติธรรม www.oja.go.th และ www.facebook.com/justiceshortfilms ในวันที่ 31 มีนาคม 2557
  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 1๐ ทีมจะต้องเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2

8. ค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop Camp) ครั้งที่ 2 และมอบทุนสนับสนุนการผลิตหนังสั้น

  • การเข้าค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop Camp) ครั้งที่ 2 โดยมีกำหนดการทั้งหมด 3 วัน ในระหว่างวันที่ 4-6 เมษายน 2557 ณ ต่างจังหวัด
  • หัวข้อการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop Camp) ครั้งที่ 2 ได้แก่
    • การพัฒนาบทภาพยนตร์สั้น เช่น การเล่ำเรื่อง การลำดับเรื่อง ฯลฯ
    • การกำกับการแสดง
    • เทคนิคการถ่ายทำหนังสั้นขั้นสูง จากผู้กำกับและทีมงานมืออาชีพ
    • กิจกรรมสันทนาการจากสานักงานกิจการยุติธรรม
  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 1๐ ทีมจะต้องเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2
  • ในกรณีที่ทีมใดไม่สามารถเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 ได้จะถือว่ำสละสิทธิ์
  • ในกรณีที่สมาชิกในทีมไม่สามารถเข้าร่วมได้ทั้งหมด ให้แต่ละทีมส่งสมาชิกในทีมอย่างน้อย 3 คนเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ

หมายเหตุ การเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คณะผู้จัดการประกวดจะรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย อาหาร ที่พัก ตลอดการสัมมนา

9. การตัดสินรางวัลชนะเลิศ

  • คณะกรรมการตัดสินรางวัลชนะเลิศหนังสั้นความยุติธรรม ปี 4 จำนวน 8 ท่านประกอบด้วย อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ นักสื่อมวลชน ผู้กำกับหนังสั้น นักวิจารณ์และนักวิชาการยุติธรรม
  • เกณฑ์การตัดสินแบ่งเป็นสัดส่วนของแนวคิดหรือ Concept ในการนำเสนอ 5๐% ซึ่ง Concept หรือเนื้อหาที่ใช้ในการนำเสนอนั้นต้องสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นสื่อหรือการรณรงค์ด้วยสื่ออื่นๆ ได้อีก โดยจะพิจารณาจาก Concept และ Main idea เป็นหลัก อีก 5๐% เป็นคะแนนของการนำเสนอผ่านหนังสั้น
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

1๐. ขั้นตอนการประกาศผลรางวัลและมอบรางวัล

  • ประกาศผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศทาง
    • www.oja.go.th
    • www.facebook.com/justiceshortfilms
  • มอบรางวัลผู้ชนะเลิศการประกวดหนังสั้น ณ โรงหนังสกาลา
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ประเภทของรางวัลและทุนสนับสนุนการผลิตหนังสั้น

  • ประเภทรางวัล
    • รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 5๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รองอันดับ 1 จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 3๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รองอันดับ 2 จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 2๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรางวัลชมเชย จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 1๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรางวัลชมเชย จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 1๐,๐๐๐ บาท
  • ทุนสนับสนุน
    ทุนการศึกษาสนับสนุนการทำหนังสั้น จำนวน 1๐ ทุน ทุนละ 1๐,๐๐๐ บาท

กติกาการส่งผลงาน
1. ส่งเนื้อหำหนังสั้นเกี่ยวกับหลักนิติธรรมภายใต้หัวข้อ “The Rule of Law” (หลักนิติธรรม)
2. ผู้เข้าประกวดสามารถตั้งชื่อเรื่องตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับหัวข้อ (Theme) และเนื้อหา
3. โครงเรื่องหนังสั้นที่นำเสนอต้องเป็นโครงเรื่องใหม่ ไม่เคยเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลใดมาก่อน และเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดการอานวยความยุติธรรมในสังคม
4. การส่งเข้าประกวดแต่ละทีมมีสิทธิ์ได้รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียว
5. ไม่จากัดเทคนิคการถ่ายทาและรูปแบบวิธีการนำเสนอ
6. จำกัดความยาวของภาพยนตร์ไม่เกิน 1๐ นาที
7. ทีมงานต้องมีไม่เกิน 5 คน (ไม่รวมนักแสดง) และเมื่อส่งรายชื่อทีมแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
8. การส่งผลงานให้จัดส่งในรูปแบบ DVD มาตรฐานที่สามารถเปิดรับชมจากเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้ จำนวน 2 แผ่น
9. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดในระดับใดมาก่อน
1๐. ผลงานที่ได้รับรางวัลทุกเรื่อง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานกิจการยุติธรรม
11. ผลงานหนังสั้นจะต้องใส่ LOGO ของสำนักงานกิจการยุติธรรม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย (Thai PBS ) และสมาคมผู้กำกับหนังไทย ในตอนท้ายเรื่อง (ห้ามใช้ภาพ อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือเพลงที่มีลิขสิทธิ์)
12. ต้องให้ความเคารพต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่พาดพิง อันเป็นการจำบจ้วงล่วงละเมิดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจน บุคลากร สมาคม หรือองค์กรใดๆอันจะทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือขององค์กรใดๆ ตลอดจนไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรม จริยธรรมหรือหลักศำสนาใดๆ
13. ไม่ใช้ถ้อยคำหรือการแสดงออกที่สื่อในทางหยาบคาย ดูหมิ่น เสียดสี นินทาว่าร้าย ยั่วยุสร้างความแตกแยกอย่างเด็ดขาด
14. ไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
15. ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์ผู้เข้าร่วมการประกวดได้ทันที โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ หากตรวจสอบพบว่าผู้เข้าร่วมประกวดไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกา หรือให้ข้อมูลใดอันเป็นเท็จ
16. ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด และเงื่อนไขต่างๆ ของการประกวดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
17. ในกรณีที่ทีมใดไม่สามารถเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 ได้จะถือว่าสละสิทธิ์และให้เลื่อนทีมในลาดับถัดไปขึ้นมาแทน ให้ครบ 1๐ ทีม
18. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

หมายเหตุ

  • Treatment ในการเขียนบท หมายถึงโครงเรื่องขยาย คือมีการเขียนคำอธิบายขยายเนื้อเรื่องชัดเจนมากขึ้น เหมือนรูปแบบของนวนิยายหรือเรื่องสั้น มีการบรรยายรายละเอียดต่างๆที่จำเป็นต่อการเล่าเรื่อง เช่น ชื่อตัวละคร ลักษณะตัวละคร สถานการณ์ต่างๆ สถานที่ วัน เวลา เหตุผลของตัวละคร ฯ แต่ยังไม่มีบทสนทนา (นอกจากจะเป็นประโยคสำคัญ)
  • Treatment หนังสั้น มักมีความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 เป็นบทที่นิยมมอบให้คนอื่นอ่าน เพราะจะมีรายละเอียดที่มำกพอจะเล่าเรื่องได้สมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงมักตั้งชื่อตัวละครไปด้วย ชื่อตัวละครของหนังสั้นที่ดี ควรจะสื่อถึง character
  • Screenplay บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง

ติดต่อสอบถาม

  • เจ้าหน้าประสานงานโครงการ
    • นายอนุรักษ์ ทัศคร 02-141-3754, 089-043-7718
    • นางสาวกัลยา ถ้ำทอง 02-141-3794, 080-645-7428
  • กองงานคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
    • สำนักงานกิจการยุติธรรม
      อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ
      ​ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
    • โทรศัพท์ 02-141-3754
    • โทรสาร 02-143-8930
Total Prize Money: 
200,000 Baht
Deadline: 
13 Feb 2014 (All day) to 06 Mar 2014 (All day)

Members Online

There are currently 0 users online.