โครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากเส้นใยไหม KU SILK AWARDS ครั้งที่ 1
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่จำกัดสาขาวิชาที่เรียน ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากเส้นใยไหม KU SILK AWARDS ครั้งที่ 1 ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้ ของตกแต่งบ้าน และประเภทเครื่องแต่งกาย ชิงรางวัล โล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประเภทการประกวด
- ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้าน
- ประเภทเครื่องแต่งกาย
รางวัล ชนะเลิศโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
1. ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้าน
• รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทาน และทุนการศึกษา 20,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 10,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 5,000 บาท
2. ประเภทเครื่องแต่งกาย
• รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทาน และทุนการศึกษา 20,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 10,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 5,000 บาท
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ไม่จำกัดสาขาวิชาที่เรียน
การส่งผลงานเข้าประกวด
ส่งผลงานของจริงพร้อมเอกสารรายละเอียดของผลงานหรือสำเนาซีดีข้อมูล ประกอบด้วย
- ชื่อผลงาน
- ชื่อสมาชิกในทีม สถาบัน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
- แนวคิดในการประดิษฐ์ผลงาน
- ขั้นตอนการประดิษฐ์ผลงาน พร้อมทั้งภาพประกอบ
- วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ผลงาน พร้อมระบุแหล่งที่มาของวัสดุ น้ำหนักของวัสดุ น้ำหนักของผลงานรวม และค่าใช้จ่าย
- การนำไปใช้ประโยชน์
การส่งผลงาน
ส่งไปยังภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ส่งด้วยตนเอง (ในวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 16.00 น.) หรือส่งทางไปรษณีย์ วงเล็บมุมซอง (โครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากเส้นใยไหม KU SILK AWARDS) โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นนสำคัญ ภายในวันที่ 9 มกราคม 2557
การพิจารณาตัดสินการประกวด
ผู้ที่ชนะเลิศการประกวดในแต่ละประเภทจะได้รับรางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
1. ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้าน
• รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัลพระราชทาน และทุนการศึกษา 20,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 10,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 5,000 บาท
2. ประเภทเครื่องแต่งกาย
• รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัลพระราชทาน และทุนการศึกษา 20,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 10,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โล่รางวัล และทุนการศึกษา 5,000 บาท
กำหนดการดำเนินงาน
• ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 9 มกราคม 2557
• ประกาศผลการประกวดทาง www.facebook.com/kusilkawards และ http://rdi.kps.ku.ac.th/test/
คณะกรรมการ
- ผศ.ดร.ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ : ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต : หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Eco-design) & ศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ (Scrap Lab) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ : อาจารย์ ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ม.ล.ภาวินี สันติศิริ (ศุขสวัสดิ์) : กรรมการผู้จัดการ บริษัท อโยธยาเทรด (93) จำกัด / กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหัสชา (1993) จำกัด
- คุณไชยยง รัตนอังกูร : ประธานอนุกรรมการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC, บก.นิตยสาร Wall paper
หลักเกณฑ์การประกวด
หลักเกณฑ์การประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากเส้นใยไหม ปี 2556 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้าน
ผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้าน หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ ที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถนำไปใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง และเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์
ประเภทเครื่องแต่งกายจากเส้นใยไหม
เครื่องแต่งกายจากเส้นใยไหม ประกอบด้วย เสื้อ กางเกง กระโปรง อาจมีหรือไม่มีเครื่องประกอบชุดแต่งกายก็ได้ เช่น หมวก เข็มกลัด เนคไท เข็มขัด ผ้าพันคอ รองเท้า เครื่องประดับผม ต่างหู กำไล ฯลฯ ที่ทำมาจากเส้นใยไหม สามารถนำมาสวมใส่ได้จริง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถส่งเป็นผลงานเดี่ยวหรือส่งเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 2 คน ต่อ 1 ประเภท
- ส่งผลงานประกวดได้เพียง 1 ผลงานเท่านั้น โดยผลงานต้องมีขนาดเท่าของจริง
- ต้องเป็นผลงานที่ผู้ประกวดคิดขึ้นมาใหม่ ไม่ลอกเลียนหรือละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น และไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะเน้นการนำเส้นใยไหมมาใช้เป็นวัสดุหลัก มีองค์ประกอบของเส้นใยไหมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ หรือสามารถมองเห็นได้ภายนอกเกินร้อยละ 30 โดยต้องมีคุณสมบัติของผลงานดังนี้
- ความคิดสร้างสรรค์ (Innovation) ความเป็นนวัตกรรม
- ประโยชน์ใช้สอย / ความสะดวกสบาย (Functionality / Convenience) สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้
- ความเหมาะสม /ประสิทธิภาพ (Appropriateness /Efficiency) ความสวยงาม ความประณีต คงทน
- การต่อยอดเชิงพาณิชย์ (Of the total commercial)
- ผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจะต้องเขียนข้อมูล โดยสังเขปเกี่ยวกับผลงาน เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการตัดสิน (หรือสำเนาซีดีข้อมูล) มีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อผลงาน
- ชื่อสมาชิกในทีม สถาบัน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
- แนวคิดในการประดิษฐ์ผลงาน
- ขั้นตอนการประดิษฐ์ผลงาน พร้อมทั้งภาพประกอบ
- วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ผลงาน พร้อมระบุแหล่งที่มาของวัสดุ น้ำหนักของวัสดุ น้ำหนักของผลงานรวม และค่าใช้จ่าย
- การนำไปใช้ประโยชน์
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- ผลงานที่ชนะการประกวดทุกรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แนวทางการตัดสิน
การประกวดทั้ง 2 ประเภท ซึ่งได้แก่ ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้านจากเส้นใยไหม และประเภทเครื่องแต่งกายจากเส้นใยไหม มีแนวทางการตัดสิน ดังนี้
1. การตัดสินประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่งบ้านจากเส้นใยไหม เน้นความคิดสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์จากวัสดุและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
1.1. ความคิดสร้างสรรค์ (Innovation) 40 คะแนน
• ความแปลกใหม่ทางความคิด ความเป็นต้นแบบ / ไม่ซ้ำแบบ
• ความยากง่ายในการประดิษฐ์
• การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าให้แก่ทรัพยากร
1.2. ประโยชน์ใช้สอย/ความสะดวกสบาย (Functionality/Convenience) 20 คะแนน
• สิ่งประดิษฐ์ที่ประกวดจะต้องเน้นการผลิตเพื่อให้สามารถใช้ได้จริง
• ความคงทนของสิ่งประดิษฐ์
1.3. ความเหมาะสม /ประสิทธิภาพ(Appropriateness /Efficiency) 20 คะแนน
• ความละเอียดประณีตของผลงาน
• ความเรียบร้อยสมบูรณ์
• ขนาดของรูปทรงมีความเหมาะสมได้สัดส่วน
1.4. การต่อยอดเชิงพาณิชย์ 10 คะแนน
1.5. ความประทับใจโดยรวม 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน
*** ทั้งนี้แนวทางการให้คะแนนขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความเหมาะสมของคณะกรรมการตัดสิน
2. การตัดสินประเภทเครื่องแต่งกายจากเส้นใยไหม เน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้เส้นใยไหมเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสวมใส่และใช้ประโยชน์ได้
2.1. ความคิดสร้างสรรค์ (Innovation) 40 คะแนน
• ความแปลกใหม่ทางความคิด
• ความเป็นต้นแบบ / ไม่ซ้ำแบบ
• ความยากง่ายในการประดิษฐ์
2.2. ความสวยงาม 30 คะแนน
• ความละเอียดประณีตของผลงาน
• ความเรียบร้อยสมบูรณ์
• ขนาดของรูปทรงมีความเหมาะสมได้สัดส่วน
• ความเข้ากันได้ขององค์ประกอบของชุดเครื่องแต่งกาย (ชุดเครื่องประดับ ฯลฯ)
2.3. การประยุกต์ใช้เส้นใยไหมเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสวมใส่และใช้ประโยชน์ได้ 20 คะแนน
• เป็นเครื่องแต่งกายที่สามารถใช้ได้จริง
• ความคงทนของการตัดเย็บ
2.4. ความประทับใจโดยรวม 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน
*** ทั้งนี้ แนวทางการให้คะแนนขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความเหมาะสมของคณะกรรมการตัดสิน
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/kusilkawards และ http://rdi.kps.ku.ac.th/test/
ข่าวประชาสัมพันธ์ : คุณ ณัฐวรรณ เกตพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการ
- Log in to post comments