^ Back to Top

ประกวดประกวดนวัตกรรมพลังงานสะอาดและระบบพลังงานรูปแบบใหม่ "EnerG-Up: พลังสะอาด พลิกโลก"

ประกวดประกวดนวัตกรรมพลังงานสะอาดและระบบพลังงานรูปแบบใหม่ "EnerG-Up: พลังสะอาด พลิกโลก"

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สมัครและส่งผลงานการประกวดประกวดนวัตกรรมพลังงานสะอาดและระบบพลังงานรูปแบบใหม่ "EnerG-Up: พลังสะอาด พลิกโลก" ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 35,000 บาท

วัตถุประสงค์

  • ส่งเสริมการรับรู้: กระตุ้นการใช้พลังงานสะอาดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในหลายภาคส่วน รวมถึงการขับเคลื่อนยานพาหนะ (EV) ระบบพลังงานสาหรับอุตสาหกรรม และพลังงานในบ้านเรือน
  • พัฒนานวัตกรรม: สนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมที่มีอยู่ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานพลังงานสะอาดทั้งในด้านการขนส่ง การผลิตไฟฟ้า หรือการจัดการพลังงาน
  • เปิดโอกาส: สร้างเวทีสาหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในการแสดงผลงานนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตและใช้งานได้จริงในตลาด

คุณสมบัติ
นวัตกรรมจะต้องเป็นการคิดค้นใหม่หรือต่อยอดจากเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานหมุนเวียน การจัดการพลังงาน หรือเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนอื่น ๆ

เปิดรับสมัครใน 2 กลุ่ม

  • กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา: กระตุ้นให้เยาวชนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในด้านพลังงานสะอาด
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป/มืออาชีพ: เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือผู้สนใจด้านพลังงานสะอาดได้นาเสนอนวัตกรรมของตน

รายละเอียดผู้เข้าแข่ง

  • เอกสาร : ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาที่สำคัญและรูปภาพประกอบ เพื่อให้คณะกรรมการสามารถเข้าใจแนวคิดและประเมินความเป็นไปได้ของนวัตกรรมได้อย่างละเอียด โดยรายละเอียดโครงการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งมีดังนี้:
    • บทสรุปโครงการ (Executive Summary)
      อธิบายภาพรวมของโครงการ โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ หลักการของนวัตกรรม และแนวคิดในการพัฒนา ระบุให้ชัดเจนว่านวัตกรรมนี้จะช่วยตอบโจทย์ด้านพลังงานสะอาดได้อย่างไร และจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหรือการใช้งานพลังงานได้อย่างไร บทสรุปควรทำให้ผู้อ่านเข้าใจโครงการโดยรวมภายใน 1-2 ย่อหน้า
    • รายละเอียดเทคนิคเบื้องต้น (Technical Overview)
      อธิบายรายละเอียดเทคนิคของนวัตกรรม เช่น เทคโนโลยีที่ใช้ หลักการทางานเบื้องต้น และขั้นตอนการพัฒนา ให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เสนอมีความเป็นไปได้ในการใช้งานจริงอย่างไร เช่น การผลิต การบำรุงรักษา หรือความสามารถในการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
    • การนำไปใช้งาน (Application and Feasibility)
      อธิบายถึงความเป็นไปได้ในการนาโครงการนี้ไปใช้งานในชีวิตจริง หรือในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด อาจเป็นในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม
    • ระบุถึงเป้าหมายในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม หรือสาธารณูปโภค ยกตัวอย่างสถานการณ์การใช้งานหรือการทดสอบที่แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมนี้สามารถทำงานได้จริง และสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเจน
    • แผนการพัฒนา (Development Plan)
      ระบุถึงแผนการพัฒนานวัตกรรมในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ขั้นตอนการวิจัย การทดสอบ การผลิต และการนาออกสู่ตลาด อธิบายขั้นตอนที่จะทำให้โครงการสามารถเติบโตได้ในอนาคต รวมถึงการทางานร่วมกับพันธมิตรหรือการขยายผลจากต้นแบบไปสู่การผลิตจริง
    • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Benefits)
      อธิบายถึงประโยชน์ที่นวัตกรรมนี้จะมีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประหยัดพลังงาน หรือการสร้างงานใหม่ ๆ แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมของคุณมีศักยภาพในการแก้ปัญหาที่สำคัญอย่างไร และจะสามารถสร้างความยั่งยืนได้อย่างไรในระยะยาว
    • รูปภาพประกอบ (Visuals and Diagrams)
      แนบรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เช่น ภาพโครงสร้างการทำงาน ภาพตัวอย่างอุปกรณ์ หรือภาพจาลองการใช้งานจริง หากเป็นไปได้ ให้แสดงแผนผังการทำงาน (workflow) ของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น เพื่ออธิบายการทางานของระบบ
    • ข้อมูลอ้างอิง (References)
      ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิงสาหรับเทคโนโลยีหรือการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คณะกรรมการทราบถึงพื้นฐานทางวิชาการหรือเทคโนโลยีที่ใช้อ้างอิงในการพัฒนานวัตกรรม
  • วิดีโอ: โครงสร้างวิดีโอ Pitch (5-10 นาที): จะเป็นเกณฑ์คัดเลือกในการตัดสิน
    • บทนำ : แนะนาโครงงานแข่งขัน โดยเน้นถึงความสำคัญของการใช้พลังงานสะอาดและบทบาทของนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงโลก
    • ปัญหาและความต้องการในตลาด : อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ความจำเป็นในการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้
    • นวัตกรรมของคุณ : อธิบายรายละเอียดของนวัตกรรมที่คุณพัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานหมุนเวียนหรือการจัดการพลังงานที่ยั่งยืน เช่น คุณสมบัติพิเศษที่ทำให้นวัตกรรมนี้โดดเด่น และปัญหาที่มันสามารถแก้ไขได้
    • กลยุทธ์การตลาด : อธิบายวิสัยทัศน์ในการนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด เช่น ความร่วมมือกับภาครัฐหรือเอกชน และการขยายขอบเขตการใช้งาน

ช่วงเวลาการรับสมัครและประกวด

  • รับสมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2567
  • คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบและประกาศผลในวันที่ 10 มกราคม 2568
  • ประกวดรอบสุดท้ายที่ ศูนย์พลังงานสะอาดและนวัตกรรม seic สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

หมายเหตุ

  • โดยคำตัดสิน คัดเลือกและดุลยพินิจใดๆ ของคณะกรรมการ ถือเป็นเด็ดขาด สิ้นสุด และไม่เปิดให้โต้แย้งในทุกกรณี
  • สงวนสิทธิ์ให้ 1 ทีม สามารถส่งผลงานได้เพียง 1 งานประกวด/คลิปเท่านั้น หากมีการตรวจสอบได้ว่าผู้ร่วมประกวดส่งประกวดซ้ำ ทางกรรมการจะคัดเลือกคลิปลำดับแรกสุดที่อัพโหลดในลิ้งค์ที่ทางกองประกวดระบุไว้
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านถือว่ารับทราบและยินยอมปฎิบัติตามกติกาการเข้าร่วมกิจกรรมฉบับนี้ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ

เกณฑ์การตัดสิน

  • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ความเป็นไปได้ในการนาไปใช้จริง
  • ศักยภาพในตลาด
  • ผลกระทบต่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม

รางวัล โดยลำดับผู้ชนะจะพิจารณาจากผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 กลุ่ม โดยแบ่งเป็น 3 ลำดับ

  • รางวัลที่ 1: 20,000 บาท
  • รางวัลที่ 2: 10,000 บาท
  • รางวัลที่ 3: 5,000 บาท

ติดต่อสอบถาม
www.facebook.com/thaisolarengineer

ข่าวประชาสัมพันธ์ : Admin SEIC

File attachments: 
Deadline: 
23 Oct 2024 08:30 to 25 Dec 2024 16:30

Members Online

There is currently 1 user online.

  • mod