โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ระดับชาติ ประจำปี 2556
โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ระดับชาติ ประจำปี 2556 หัวข้อ “พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” โดย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย ร่วมกับ กลุ่มบริษัท ทรู
1. หลักการและเหตุผล
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย (สวทศ.) เห็นความสำคัญของการส่งเสริมเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา จึงได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท ทรู จัดโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ระดับชาติ ประจำปี 2556 ในหัวข้อเรื่อง “พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นโครงงานที่เน้นให้รัก ดูแล อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสา
2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษา
1. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
2. สามารถดำเนินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
3. มีจิตวิทยาศาสตร์ อยู่อย่างพอเพียง ใฝ่เรียนใฝ่รู้ และมีจิตสาธารณะ
3. เป้าหมาย
นักเรียนระดับประถมศึกษาสามารถทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
• สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย (สวทศ.)
• กลุ่มบริษัท ทรู
5. ระยะเวลาดำเนินงาน
• เปิดรับโครงงาน : วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2556
• ปิดรับโครงงาน : วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556
• แจ้งผลการคัดเลือกรอบสุดท้ายทาง : วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2556 ที่ www.trueplookpanya.com, www.baiyokehotel.com
• นำเสนอโครงงานที่เข้ารอบสุดท้ายและตัดสินผล : วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556
• จัดแสดงโครงงานในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ : วันอาทิตย์ที่ 18 – วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2556
6. ลักษณะโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ที่ส่งประกวดจะต้องเป็นโครงงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยแบ่งเป็น โครงงานประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลอง และ โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือการอนุรักษ์ การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดมลพิษของสิ่งแวดล้อม การหาหรือสร้างสิ่งทดแทนที่มีอยู่เดิม การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ การ
พัฒนาและหรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
7. คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในโรงเรียนภาครัฐและเอกชน ทั่วประเทศในทุกสังกัด
2. นักเรียนต้องสมัครเป็นทีม ทีมละ 2 - 3 คน ต่อ 1 โครงงาน
3. นักเรียนหนึ่งคนมีสิทธิ์สมัครเข้าร่วมประกวดโครงงานได้เพียง 1 โครงงานเท่านั้น
8. ระเบียบการสมัคร
1. ครู/อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 1 – 3 คน ต่อ 1 โครงงาน
2. แต่ละโรงเรียนสามารถส่งโครงงานเข้าร่วมประกวด ได้ไม่เกิน 6 โครงงาน
3. โครงงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่คัดลอกโครงงานของผู้อื่นส่งเข้าประกวด
4. โครงงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องประกอบด้วย
4.1 เอกสารโครงงานฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ พร้อมระบุชื่อโครงงาน และประเภทของโครงงานอย่างชัดเจน
4.2 ใบสมัครหรือสำเนาที่สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / กลุ่มบริษัท ทรู จัดส่งไปให้ พร้อมกรอกรายละเอียดต่างๆในใบสมัครให้ครบถ้วน สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้จาก www.truecorp.co.th , www.trueplookpanya.com รวมถึงสามารถจัดทำแบบฟอร์มดังกล่าวได้เองตามตัวอย่าง
9. เกณฑ์การคัดเลือกรอบแรก พิจารณาจาก
1. ความคิดริเริ่มของปัญหาหรือหัวข้อเรื่องที่นำมาศึกษา
2. ความถูกต้องเหมาะสมของการออกแบบการทดลองหรือการศึกษาหาคำตอบ
3. ความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกระบวนการทดลองหรือศึกษา
4. การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ถูกต้อง และประหยัด
5. การสื่อความหมายข้อมูล การตีความหมายและสรุปผล
6. ความชัดเจนและถูกต้องของการเขียนรายงานโครงงาน
โครงงานที่เข้ารอบสุดท้าย จำนวน 15 โครงงาน ผู้ส่งโครงงานต้องนำแผงโครงงานมาแสดงตามขนาดที่กำหนด (0.60 เมตร x 1.2 เมตร) และนักเรียนจะต้องนำเสนอโครงงานด้วยวาจาบนเวทีพร้อมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น แผ่นใส สไลด์ วีดิทัศน์ โปรแกรมการนำเสนอ (MS-PowerPoint) เป็นต้น ภายในเวลา 10 นาที และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ 5 นาที รวมเวลา 15 นาที ทั้งนี้การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดและสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทยสามารถนำไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ต้องขออนุญาต
10. รางวัลในการประกวด
• รางวัลเหรียญทอง
- ชุดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โครงการทรูปลูกปัญญา และได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนในโครงการทรูปลูกปัญญา
- เงินสนับสนุนการทำโครงงาน 7,000 บาท
• รางวัลเหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง
- เงินสนับสนุนการทำโครงงาน 7,000 บาท
• รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล
- เงินสนับสนุนการทำโครงงาน รางวัลละ 1,000 บาท
• รางวัล Excellent Innovation by True Innovation
รางวัลพิเศษ ที่ทาง True Innovation จะพิจารณามอบให้แก่โครงงานที่มีความโดดเด่น และเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานทางพาณิชย์ได้ โดยมีรางวัลดังนี้
- โอกาสในการทัศนศึกษาดูงานทางด้านนวัตกรรม ณ ประเทศเกาหลี จำนวน 4 ที่นั่ง ได้แก่ นักเรียนที่ทำโครงงานจำนวน 3 ท่าน และครูที่ปรึกษา จำนวน 1 ท่าน
- เกียรติบัตรพร้อมโล่รางวัล
- การสนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรทางด้านการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การสนับสนุน ให้คำปรึกษา อบรม พัฒนา และปรับปรุงผลงานจนสามารถนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ (ระยะเวลาจะแจ้งให้ทราบภายหลัง) ทั้งนี้ผู้ได้รับรางวัลต้องสามารถเดินทางหรือดำเนินงาน ต่อเนื่องกับโครงการได้
หมายเหตุ
• โครงงานที่ส่งเข้าประกวดทุกโครงงานจะได้รับเกียรติบัตรจากสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย
• โครงงานที่เข้ารอบ 15 ทีมสุดท้าย จะต้องเดินทางมาแสดงผลงานที่กรุงเทพฯ ในรอบชิงชนะเลิศ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทยจะสนับสนุนค่าเดินทางและที่พักให้ ครู / อาจารย์ที่ปรึกษาจำนวน 1 ท่าน พร้อมนักเรียนที่ทำโครงงาน
• สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โครงการปลูกปัญญา ประกอบด้วย
1. ชุดอุปกรณ์รับสัญญาณทรูวิชั่นส์, เครื่องรับโทรทัศน์ LCD32 นิ้ว และตู้เก็บอุปกรณ์ ช่องรายการ คุณภาพที่มีเนื้อหาสาระเพื่อการเรียนรู้จากทรูวิชั่นส์ กว่า 51 ช่อง ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรายการคุณภาพที่เด็กทั่วโลกควรได้ดู เช่น ช่องสารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติ และชีวิตสัตว์Animal Planet, ช่องสารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติ ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม National Geographic Channel, ช่องสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก วัฒนธรรม และอัตชีวประวัติบุคคลสำคัญของโลก The History Channel, ช่องสารคดีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Discovery Channel และ True Explore, ช่องรายการสำหรับเด็กและครอบครัว Disney Channel และ True Spark, ช่องข่าวทันเหตุการณ์ทั่วโลกและประเทศไทย BBC WORLD NEWS และ TNN24 เป็นต้น
2. สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์แบบบูรณาการ "ทรูคลิกไลฟ์" สำหรับชั้น อ.1 - ป.6 ซึ่งมีพร้อมทั้งคู่มือการสอนสำหรับคุณครู แบบเรียน เพลง เกมส์ และบทเรียนเอนิเมชั่น
3. สื่อดิจิทัลเสริมการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับชั้น ป.1-6
4. อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) เพื่อแปลงสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ขึ้นบนหน้าจอ โทรทัศน์ เพื่อให้นักเรียนสามารถรับชมได้พร้อมกันทั้งห้องเรียน
5. เกมพอเพียง เพื่อปลูกฝังและเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบที่สนุกสนานและได้ความรู้
อนึ่ง รางวัล “สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โครงการปลูกปัญญา” เป็นสื่อการเรียนรู้ ที่จะเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนได้มีเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ๆ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะใฝ่หาความรู้ โดยครูสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ ICT (ICT–based learning) ซึ่งเป็นกลวิธีที่สำคัญที่ใช้พัฒนาห้องเรียนแห่งคุณภาพ โรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกปัญญานั้น จะมีโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพกับบุคลากรทางการศึกษาต่างๆ
11. สถานที่ส่งโครงงาน
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย
เลขที่ 222 (โรงแรมใบหยกสกาย) ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
คุณสุชีรา เจศรีชัย โทรศัพท์ 0-2656-3000 กด 72150 โทรสาร 0-2656-3228
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
• สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย
รองศาสตราจารย์ลัดดา ภู่เกียรติ โทรศัพท์ 08-1752-7157
รองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข โทรศัพท์ 08-1922-0853
อาจารย์พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ โทรศัพท์ 08-1875-5832
• ฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มบริษัท ทรู
โทรศัพท์ 0-2615–9610 โทรสาร 0-2615-9615
เผยแพร่ : http://www.contestwar.com
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น