ประกวดการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเยาวชนระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 4 หัวข้อ “Climate Change”
สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ขอเชิญ นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทุกสาขาวิชา ร่วมโครงการประกวดการผลิตรายการโทรทัศน์ สำหรับเยาวชนระดับอุดมศึกษา (ครั้งที่ 4) ประเภทแอนิเมชั่น เจ้าส้ม ภายใต้หัวข้อ “Climate Change” ความยาวไม่เกิน 3 นาที ชิงทุนการศึกษารวม 150,000 บาท
หลักการและเหตุผล
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ถือเป็นอีกปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อสังคมโลกในยุคปัจจุบันซึ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันจะเห็นได้จากสภาพภูมิอากาศที่วิกฤตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ภาวะภัยแล้ง น้้าท่วม แผ่นดินไหว รวมทั้งการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
ปัจจัยส้าคัญที่ท้าให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดจากกระท้าของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งจากการปล่อยมลพิษ การเผาไหม้พลังงานเชื้อเพลิง การตัดไม้ท้าลายป่า ฯลฯ ดังนั้นการเตรียมการรับมือและพยายามลดผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้จึงเป็นเรื่องส้าคัญยิ่ง
สื่อสาธารณะเป็นส่วนส้าคัญที่ท้าหน้าที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารความรู้แก่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงสาเหตุ ที่มา ผลกระทบ วิธีการป้องกันและการรับมือ โดยสามารถน้าข้อมูลที่ได้รับมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ จึงได้จัดโครงการประกวดรายการโทรทัศน์ส้าหรับเยาวชนระดับอุดมศึกษา (ครั้งที่ 4) ประเภทแอนิเมชั่น เจ้าส้ม ภายใต้หัวข้อ “Climate Change” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตรายการสิ่งแวดล้อม ในประเด็น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านตัวการ์ตูนแอนิเมชั่นซึ่งจะเป็นต้นแบบในการน้าไปพัฒนาต่อยอดเพื่อออกอากาศต่อไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความรู้สื่อสาธารณะและสร้างเครือข่ายวิชาการกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
คุณสมบัติของผู้ประกวด
1. นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทุกสาขาวิชา
2. รวมกลุ่มสมัครเป็นทีมๆ ละไม่เกิน 3 คน
3. ทุกทีมต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา (อาจารย์สามารถเป็นที่ปรึกษาได้มากกว่า 1 ทีม)
4. หนึ่งสถาบันสามารถสมัครได้มากกว่าหนึ่งทีม
การส่งหลักฐานสมัคร
1. ดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่ www.thaipbs.or.th/academic
2. กรอกข้อมูลในใบสมัคร พร้อมติดรูปถ่ายสมาชิกในทีม ส่งใบสมัครพร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือส้าเนาบัตรนักศึกษา พร้อมลงนามรับรองสำเนา
3. เอกสารผลงานประกอบด้วย
3.1 เอกสารเสนอแนวความคิด (Concept Paper) เล่าเรื่อง Climate Change ผ่านสื่อสาธารณะ
3.2 ในรอบแรกให้ทีมส่งผลงานการออกแบบและตั้งชื่อตัวละคร (Character Design) ให้มีลักษณะเคลื่อนไหวพร้อมฉากหลังประกอบ โดยไม่จำเป็นต้องมีบทพูด ตาม
บุคลิกลักษณะตัวละครตามที่ไทยพีบีเอสกำหนดทั้ง 5 ตัว ประกอบด้วย
• “เจ้าส้ม” // นกกำพร้า มาอยู่ที่ครอบครัวตั้งแต่ยังเป็นไข่ คิดว่าตัวเองเป็นน้องคนเล็ก จึงเอาแต่ใจ อารมณ์ดี สนุกสนานและชอบแกล้งคนอื่นๆ
• “พ่อ” เพศชาย อายุ 36 ปี // บ้างาน จริงจังกับทุกๆ อย่าง ไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว ตัดสินทุกอย่างด้วยเหตุผล ฟอร์มเยอะ ซื่อสัตย์ พอเพียง และรักหน้ายิ่งชีพ
• “แม่” เพศหญิง อายุ 34 ปี // นิสัยสบายๆ มองโลกในแง่ดี ใจดี ช่างพูดช่างคุย ขี้สงสาร ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักเอาอกเอาใจสามีและลูกๆ
• “พี่” เพศชาย อายุ 8 ปี // ลูกชายคนโต เป็นเด็กมีน้้าใจ ขี้กลัว บ้าเทคโนโลยี เริ่มติดเพื่อน ติดเกมส์ ติดเฟซบุ๊ก และช่างคิด ช่างสงสัย บางครั้งดูเหมือนขวางโลก
• “น้อง” เพศหญิง อายุ 5 ปี // ขี้อ้อน ร่าเริง ชอบการแสดง งานศิลปะ ชอบผจญภัย แก่นแก้ว ซุกซน และไม่กลัวอะไร
3.3 ระบุเทคนิค วิธีการ ที่ใช้ในการผลิต ตลอดจนอุปกรณ์ และซอฟแวร์ที่ใช้ในการผลิต
4. ส่งเอกสารหลักฐานพร้อมผลงานบันทึกลงแผ่นดีวีดีเป็น ไฟล์ MPEG4 หรือ .AVI มาทางไปรษณีย์ วงเล็บมุมซอง Thai PBS Animation Contest หมดเขตรับผลงานภายในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556 (ดูประทับตราไปรษณีย์เป็นส้าคัญ) โดยส่งมาที่ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เลขที่ 145 ถนน วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หลังจากส่งผลงานแล้วกรุณาโทรศัพท์แจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบการยืนยันว่าส่งผลงาน
5 กรุณาตรวจสอบเอกสารและไฟล์งานให้ถูกต้องก่อนส่ง หากพบว่าไฟล์งานไม่สามารถเปิดได้ จะถือว่าเป็นโมฆะ
รายละเอียดการประกวด
(1) แนวคิดการประกวด
ผู้ส่งผลงานประกวดต้องผลิตเนื้อหาเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่อง Climate Change ผ่านสื่อสาธารณะผู้ส่งผลงานประกวด สามารถใช้เทคนิคใดก็ได้ในการผลิตแอนิเมชั่นผู้ผลิตผลงานจะต้อง ผลิตผลงานแอนิเมชั่นนั้นด้วยตนเอง
(2) การประกวด แบ่งเป็นกิจกรรมดังนี้
2.1 รอบคัดเลือก จากการส่งผลงานในรอบแรก กำหนดส่งผลงานภายใน วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556 จากนั้นคณะกรรมการจะพิจารณาผลงานโดยคัดเลือกเหลือจ้านวน 10 ทีม และจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556 โดยประกาศผลทาง www.thaipbs.or.th/academic และ facebook.com/academic.tpbs
2.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ ทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก พร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการผลิตแอนิเมชั่น พร้อมเรียนรู้ประเด็นสิ่งแวดล้อมจากพื้นที่จริง เป็นเวลา 3 คืน 4 วัน ระหว่างวันที่ 4 - 7 ตุลาคม 2556 (สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายระหว่างการอบรมเชิงปฏิการดังกล่าว ประกอบด้วยค่าเดินทาง ค่าอาหาร และที่พัก)
2.3 ช่วงการพัฒนาผลงาน หลังจากผ่านการอบรม ทีมจะต้องพัฒนาผลงานเพื่อแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งก้าหนดส่งผลงานในรอบสุดท้าย ภายในวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน
2556
2.4 รอบชิงชนะเลิศ ทุกทีมพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องมาน้าเสนอผลงาน ต่อคณะกรรมการใน รอบชิงชนะเลิศ ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2556 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้ามานำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ ประกอบด้วยค่าเดินทาง ค่าอาหาร และที่พักระหว่างกิจกรรมทั้งหมด)
ลิขสิทธิ์ของผลงาน
ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก และรอบชิงชนะเลิศ เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ และไทยพีบีเอส ผลงานทั้งหมดที่มีคุณภาพ จะถูกนำไปใช้เพื่อเผยแพร่ผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ และทางเว็บไซต์ของไทยพีบีเอสเท่านั้น หากผู้สมัครหรือสถาบันการศึกษาจะนำไปเผยแพร่เพื่อการศึกษา และกิจกรรมใดๆ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยขอให้แจ้งมายังสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ
ประเภทของรางวัล
ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ แบ่งรางวัลออกเป็นดังนี้
• รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงินทุนการศึกษา จ้านวน 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และใบประกาศเกียรติคุณ
• รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงินทุนการศึกษา จ้านวน 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และใบประกาศเกียรติคุณ
• รางวัลที่ 3 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงินทุนการศึกษา จ้านวน 15,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และใบประกาศเกียรติคุณ
• รางวัลชมเชย จำนวน 7 รางวัล เป็นเงินทุนการศึกษารางวัลละ จ้านวน 7,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และใบประกาศเกียรติคุณ
• รางวัล Popular vote จำนวน 1 รางวัล เป็นเงินทุนการศึกษาจ้านวน 5,000 บาท โดยเปิดให้โหวต ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม 2556 ทาง www.thaipbs.or.th/academic
(ผู้ได้รับรางวัลทั้ง 10 ทีม จะต้องเสียภาษี หัก ณ ที่จ่ายจากมูลค่ารางวัลที่ได้รับ)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
• ฝ่ายส่งเสริมความรู้สื่อสาธารณะ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
• หมายเลขโทรศัพท์ 02-790-2428-9
• email: thanapongt@thaipbs.or.th
• email: nattapongp@thaipbs.or.th
• email: teeranartd@thaipbs.or.th
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น