ประกวดร้องเพลงแหล่ประจําปี 2556
ขอเชิญนักเรียน นิสิต ประกวดร้องเพลงแหล่ ประจําปี 2556 “ โครงการสืบสานเพลงพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง” ชิงรางวัล “เพชรพิบูลเพลงแหล่ ครั้งที่ 1” เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2556
1. ระดับการประกวด
1.1 ระดับมัธยมศึกษา
1.2 ระดับอุดมศึกษา
2. คุณสมบัติของผู้สมคัร
2.1 เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา หรือเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
2.2 นักร้องที่เข้าประกวดจะต้องไม่มีผลงานอัลบั้มเป็นของตนเอง หรือสังกัดค่ายเทปใด
3. หลักฐานและการสมัครประกวดร้องเพลง
3.1 ใบสมัครที่กรอกรายละเอียดอย่างสมบูรณ์
3.2 สําเนาบัตรนักเรียน นักศึกษา หรือหนังสือรับรองการเป็นนักเรียนจากสถานศึกษา
3.3 แผ่นบันทกเสึ ียง (CD) ที่ร้องโดยผู้สมัครเข้าประกวดจํานวน 1 เพลงโดยไม่มีดนตรีประกอบ
ส่งมาที่ ดร. สุชาดา เจียพงษ์ สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
เลขที่ 156 หมู่ 5 ต. พลายชุมพล อ. เมือง จ.พิษณุโลก 65000
หมายเหตุ : ส่งใบสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2556
4.วัน เวลา สถานที่ และขั้นตอนดําเนินการประกวดร้องเพลง
4.1 รอบคัดเลือก
ประกาศผลผู้ผานการคัดเลือกวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ที่ http://huso.psru.ac.th
4.2 รอบชิงชนะเลศิ
กําหนดการประกวดรอบชิงชนะเลิศวันที่ 6 สิงหาคม 2556 เวลา 10.30 – 12.00 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมศรีวชิรโชติมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) โดยผู้เข้าประกวดรายงานตัวและจับสลาก เวลา 09.00 ถึง 10.00 น. ประกาศผลการคัดเลือกและมอบรางวัล
5. หลักเกณฑ์การประกวดและการตัดสิน
• เกณฑ์การประกวด
- เพลงที่ร้องต้องเป็นเพลงทํานองแหล่เท่านั้น
- ผู้เข้าประกวดแต่งกายสุภาพ สวยงาม
- การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุดและเด็ดขาดจะคัดค้านมิได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้เข้าประกวดและผู้ที่เกี่ยวข้องแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพทําให้เกิดความเสียหายจะถูกตัดคะแนนและตัดสิทธิ์ในการสมัครครั้งต่อไป
• เกณฑ์การตัดสิน
- การใช้เ้สียง / น้ำเสียง (30 คะแนน) หมายถึงการควบคุมและบังค้บลมในการข้บร้องดี มีการใช้เทคนิคการับร้องอย่างครบถ้วนและถูกวิธีน้ําเสียงสดใสกังวาน มีพลังเสียงมีความกลมกลืนในการเอื้อนเสียง
- จังหวะ (20 คะแนน) หมายถึงไม่ร้องคร่อมหรือหลงจังหวะมีความมั่นใจในการเข้าจังหวะในการวรรคตอนต่างๆ
- ทํานอง (20 คะแนน) หมายถึงตรงคีย์เพลงที่ร้องมีการร้องโน้ตที่ร้องยากและร้องได้ดี ไม่มีเสียงแกว่งหรือเสียงเพี้ยน
- เนื้อร้อง/ อักขระ/ภาษา (15 คะแนน) หมายถึงคําร้องถูกต้องครบถ้วน คําควบกล้ำ ร / ล และอื่นๆถูกต้อง
- บุคลิกภาพ (15 คะแนน) หมายถึงการใช้อารมณ์ลีลา ท่าทางการปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม
6. คณะกรรมการตัดสิน
คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีการสอนร้องเพลงภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการออกเสียงภาษาไทยจํานวน 5 ท่าน
7 รางวัลทุนการศึกษา สําหรบนักเรียน นักศึกษาที่ชนะเลิศการประกวด
- ชนะเลิศเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
- รองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลชมเชย 1 รางวัลเงินรางวัลละ 500 บาท พร้อมเกียรติบัตร
8. ผู้ประสานงานและรับผิดชอบการจัดการประกวด
อาจารย์ ดร. สุชาดา เจียพงษ์ ประธานโครงการสืบสานเพลงพื้นบ้าน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง สาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โทรศัพท 081-785-6247
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น