การประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 5
การประกวดศิลปกรรมทำให้เกิดการพัฒนาทักษะ แนวความคิด และกระบวนการสร้างสรรค์แก่เด็ก และเยาวชนของชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดให้มีการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นการวางรากฐานที่ดีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ ได้ซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของศิลปะอย่างยั่งยืน
ระเบียบการ
๑. ประเภทผลงานศิลปกรรม
เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีกระบวนการคิดและ เทคนิคอิสระ สร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง และไม่เคยส่งประกวดหรือแสดงที่อื่นมาก่อน ได้แก่
๑.๑ จิตรกรรม เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคสีน้ำ สีน้ำมัน สีอะคริลิค สีดินสอ สีเทียน ฯลฯ
๑.๒ ประติมากรรม เป็นผลงานการปั้นที่ใช้เทคนิคการปั้น การหล่อ การเชื่อม การแกะสลัก ฯลฯ
๑.๓ ภาพพิมพ์ เป็นผลงานที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ ด้วย แม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์ซิลค์สกรีน ฯลฯ
๑.๔ สื่อผสม เป็นผลงานที่เกิดจากการผสมผสานเทคนิคต่าง ๆ ทางศิลปะ
๑.๕ วาดเส้น เป็นผลงานที่เกิดจากเทคนิคการเขียนด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน ฯลฯ
๒. ขนาดของผลงานศิลปกรรม
๒.๑ ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น ๒ มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว) ด้านละไม่เกิน ๑๒๐ ซม. (ไม่รวมกรอบ)
๒.๒ ผลงานที่มีลักษณะงานเป็น ๓ มิติ (ขนาดกว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน ๑๒๐ ซม. (ไม่รวมแท่นฐาน)
๓. ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด
๓.๑ ระดับอายุ ไม่เกิน ๘ ปี
๓.๒ ระดับอายุ ๙ – ๑๒ ปี
๓.๓ ระดับอายุ ๑๓ – ๑๖ ปี
๓.๔ ระดับอายุ ๑๗ – ๒๐ ปี
๔. การส่งผลงานเข้าประกวด
๔.๑ ส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ ๓ ชิ้น
๔.๒ จัดส่งด้วยตนเองหรือมอบฉันทะ
๔.๓ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีผู้รับรองผลงาน ได้แก่ ผู้บริหารจากสถานศึกษา อาจารย์ ครูผู้สอนในสถานศึกษา ผู้สอนเด็กด้อยโอกาส หัวหน้าเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อ – แม่ หรือผู้ปกครอง
๔.๔ ผลงานที่ส่งทางไปรษณีย์ จะถือตราประทับวันที่ส่งของทางไปรษณีย์เป็นวันสุดท้าย ของการรับสมัคร
๔.๕ ผลงานที่ส่งเข้าประกวด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จะดูแลรักษาเป็นอย่างดี ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย
๔.๖ ผู้ส่งผลงานสามารถดาวน์โหลดระเบียบการและใบสมัครได้ที่ www.bpi.ac.th
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : ประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๕
http://www.bpi.ac.th/document/culture/POSTERS.pdf
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น