^ Back to Top

ประกวดความคิดสร้าสรรค์การพัฒนาระบบราง หัวข้อ "รถไฟในฝัน"

ประกวดความคิดสร้าสรรค์การพัฒนาระบบราง หัวข้อ "รถไฟในฝัน"

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดความคิดสร้าสรรค์การพัฒนาระบบราง หัวข้อ "รถไฟในฝัน" ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 420,000 บาท พร้อมพร้อมโล่รางวัล เกียรติบัตร และสิทธิพิเศษ

ประเภทการประกวด

  • ระดับมัธยมศึกษา อายุ 16-18 ปี
  • ระดับอุดมศึกษา อายุ 18-22 ปี

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • ศึกษาอยู่ในจังหวัดที่มีรถไฟวิ่งผ่าน
  • สมัครเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 5 คน
  • มีใบรับรองจากสถานศึกษา
  • สมัครทางเว็บไซต์โครงการเท่านั้น
  • ผู้สมัครต้องตอบแบบสอบถามในเว็บไซต์ให้ครบถ้วน

กติกาการประกวด

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องนำเสนอแนวคิดหรือจินตนาการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาศักยภาพขบวนรถไฟ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการและสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศในด้านใดด้านหนึ่ง
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลจากที่อื่นมาก่อน
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผู้เข้าร่วมประกวดสร้างสรรค์ขึ้นเอง และไม่มีการลอกเลียนแบบจากผลงานของผู้อื่น
  • หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการลอกเลียนแบบผลงานนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดทันทีโดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  • ผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดให้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ สทร. และ ทาง สทร. สามารถปรับเปลี่ยนผลงานเพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับการใช้งานของ สทร. ต่อไป

วิธีการส่งผลงาน

  • เอกสารนําเสนอแนวคิด (Concept Presentation)
    • อธิบายแนวคิดที่นําเสนอ
    • ระบุประโยชน์และผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและสังคม
    • มีภาพประกอบเพื่ออธิบายแนวคิด โดยสามารถใช้ภาพเคลื่อนไหวกราฟิก ภาพวาดมือ หรือภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
  • เอกสารประกอบ
    • ประวัติทีมผู้เข้าแข่งขัน (ทีมละไม่เกิน 1 หน้า) พร้อมชื่อทีม
    • เอกสารรับรองจากทางสถานศึกษา

กำหนดการ

  • รับสมัครและส่งผลงาน 24 ตุลาคม – 24 พฤศจิกายน 2567
  • ปิดรับผลงาน 4 ธันวาคม 2567
  • ประกาศผลคัดเลือกรอบแรก 13 ธันวาคม 2567
  • กิจกรรมทัศนศึกษา 23-24 ธันวาคม 2567 เยี่ยมชมเทคโนโลยีระบบรางที่กรุงเทพมหานครสำหรับผู้ผ่านเข้ารอบแรก 10 ทีม (รุ่นละ 5 ทีม)
  • ประกาศผลตัดสินและมอบรางวัล 13 มกราคม 2568

คณะกรรมการตัดสิน

  • ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล
    ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
  • นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์
    กรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
  • นายสุชีพ สุขสว่าง
    รองผู้อำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ กรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
  • นายพัฒนพงษ์  พงศ์ศุภสมิทธิ์
    รองผู้อำนวยการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ กรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
  • รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต
    หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย
    เลขากรรมการตัดสิน
  • ดร.พัชริญา เพชรผ่อง
    เลขากรรมการตัดสิน
  • นายณัฏฐ์ อนุกูล
    ผู้ช่วยเลขากรรมการตัดสิน

เกณฑ์การตัดสิน

  • ความคิดสร้างสรรค์ (รอบแรก 70% รอบตัดสิน 50%)
    ความสามารถในการสร้างไอเดียที่น่าสนใจและสดใหม่
  • ความเกี่ยวข้องกับระบบรางและการนำไปใช้ได้จริง (รอบแรก 20% รอบตัดสิน 30%)
    ความสามารถในการตีความเพื่อพัฒนาศักยภาพของรถไฟที่ตอบโจทย์การพัฒนาระบบรางของประเทศ
  • การสื่อสารที่ชัดเจน (รอบแรก 10% รอบตัดสิน 20%)
    ความสามารถในการนำเสนอผลงานให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 100,000 บาท 2 รางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศ ทุนการศึกษา 50,000 บาท 2 รางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร
  • รางวัลพิเศษ ทุนการศึกษา 20,000 บาท 6 รางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  • ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการจาก สทร. โดยจะจัดส่งให้ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ หลังจากส่งผลงานแล้ว
  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก 10 ทีม จะได้เข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา “ส่องราง” เพื่อเยี่ยมชมเทคโนโลยีระบบรางที่กรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนค่าเดินทางรวมที่พัก และได้ทุนสนับสนุนการเตรียมตัวเพื่อนำเสนอผลงานในรอบตัดสินอีก 10,000 บาท

ติดต่อสอบถาม

  • โทร. 080-645-6522
  • อีเมล thinkbeyondtrack@gmail.com
  • www.rtrda.or.th
มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
420,000 Baht
File attachments: 
หมดเขต: 
24 ต.ค. 2024 08:30 to 24 พ.ย. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.