ประกวดดนตรีไทยระดับมัธยมศึกษา "ประลองเพลง ประเลงมโหรี"
กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า เข้าร่วมการประกวดดนตรีไทยระดับมัธยมศึกษา "ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล และเกียรติบัตร
หลักการและวัตถุประสงค์
สืบเนื่องจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปรารภในปัจจุบันนี้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีไทย ประเภทมโหรีค่อนข้างน้อยมาก เรื่องนี้จําเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมให้เยาวชนไทยรวมทั้งครูที่สอนดนตรีไทย ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมโหรี ที่ถูกต้อง ทั้งด้านมาตรฐานเสียง ประเภทของเพลงที่ใช้กับวงมโหรี ตลอดจน ระเบียบแบบแผนในการใช้มือปฏิบัติต่อเครื่องดนตรี เพื่อจะได้มีความรู้ และสามารถปฏิบัติอย่างถูกต้องได้ต่อไป ในอนาคต รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ เรื่องมโหรีให้แก่ผู้อื่นสืบต่อไปอีกด้วย
เพื่อสนองพระราชปณิธานในเรื่องนี้ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) และกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) จึงได้ดําเนินการให้มีการประกวดดนตรีไทยในระดับมัธยมศึกษา “ประลองเพลง ประเลงมโหรี” เป็นประจําทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ จนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลา ๓๕ ปีแล้ว ผลปรากฏว่ามีเยาวชนได้ผ่านการประกวดดนตรีไทย ประเภทมโหรี่มาแล้วหลายรุ่น ได้เพิ่มพูนผู้มีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งนักเรียนและครูผู้สอนเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ยังมีนักเรียนและครูอีกหลายคนที่ได้ศึกษาต่อในวิชาดนตรีไทยจนจบในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ได้เป็นครูผู้สอนดนตรีไทยที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการ และการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมไทยสืบมา
ประเภทของการประกวด
- การบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี) แบ่งเป็น ๒ ประเภท
- ถ้วย ก หมายถึง การประกวดฯ สําหรับสถานศึกษาหรือวงดนตรีที่เข้าร่วมการประกวดฯ เคยได้รับรางวัล หรือวงดนตรีที่ชนะเลิศ ถ้วย ข
- ถ้วย ข หมายถึง การประกวดฯ สําหรับสถานศึกษาหรือวงดนตรีที่ยังไม่เคยเข้าร่วม การประกวดฯ หรือเคยเข้าร่วมการประกวดแต่ไม่ได้รับรางวัล (หากประกวดประเภทนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ต้องไปประกวดถ้วย ก)
- การบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีและขับร้อง
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- ผู้เข้าประกวดการบรรเลงรับร้องวงมโหรี จะต้องมีผู้บรรเลงรวมวงไม่เกิน ๑๖ คน โดยรวมนักร้องและนักดนตรีสํารองอีก ๒ คนแล้ว ทั้งนี้ ให้ระบุชื่อ-นามสกุลผู้บรรเลงตามเครื่องดนตรีใบสมัครให้ครบทุกเครื่องมือ รวมทั้งนักดนตรีสํารองด้วย พร้อมติดภาพถ่ายในใบสมัคร (นักดนตรีสํารองไม่สามารถเพิ่มเติมภายหลังได้) และกรณีขอสับเปลี่ยนนักดนตรีอนุญาตให้สับเปลี่ยนได้เฉพาะหน้าที่การบรรเลงภายในวงที่ส่งประกวด ทั้งนี้ขอให้แจ้งธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ก่อนการประกวดฯ ๗ วันทําการ และการบรรเลงรวมวงไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้ประกวดได้
- สถาบันการศึกษาสามารถส่งเข้าประกวดได้ประเภทละ ๑ วง
- สถานศึกษาใดที่มีนักดนตรีไม่ครบตามข้อกําหนด สามารถเชิญนักดนตรีต่างสถานศึกษาเข้ามาร่วมบรรเลงได้
- บ้านดนตรี/ชมรมดนตรี ชุมนุมดนตรี ส่งเข้าประกวดได้ประเภทละ ๑ วงต้องเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ หรือเทียบเท่า เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อเข้าประกวดฯ ของต่างสถาบันการศึกษาในการประกวดจะต้องมีสัดส่วนของเครื่องดนตรีประเภทดําเนินทํานองที่เท่า ๆ กัน โดยให้สถาบันการศึกษาออกหนังสือรับรองสถานภาพของผู้เข้าประกวด
- ผู้เข้าประกวดประเภทวง จะต้องเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ หรือเทียบเท่า โดยให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองสถานภาพของผู้เข้าประกวด และผู้เข้าประกวดประเภทการบรรเลงเดี่ยว อนุญาตให้ส่งในนามตนเองได้ แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันศึกษาว่ากําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาจริง
หมายเหตุ หากไม่เป็นตามคุณสมบัติข้างต้น กรรมการขอตัดสิทธิในการประกวด
ผู้บรรเลงรวมวง ประกอบด้วย- ซอสามสาย (ไม่ต้องสีคลอร้อง)
- ซอด้วง (ให้ใช้สายไหม หรือ เอ็น ห้ามใช้สายโลหะ)
- ซออู้ (ให้ใช้สายไหม หรือ เอ็น ห้ามใช้สายโลหะ)
- ขลุ่ยเพียงออ
- จะเข้
- ระนาดเอกมโหรี
- ระนาดทุ้มมโหรี
- ฆ้องวงมโหรี หรือฆ้องกลาง
- โทน (กําหนดให้บรรเลงเครื่องดนตรีละ ๑ คน)
- รํามะนา (กําหนดให้บรรเลงเครื่องดนตรีละ ๑ คน)
- ฉิ่ง
- กรับพวง
- โหม่ง
- นักร้อง
หมายเหตุ การประกวดบรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการ กําหนดให้ใช้เครื่องดนตรีที่กองประกวดจัดไว้ให้ ได้แก่ ระนาดเอกมโหรี ระนาดทุ้มมโหรี ฆ้องวงมโหรี หรือฆ้องกลาง ฉิ่ง กรับพวง และโหม่ง สําหรับเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่า และ โทน - รํามะนา ผู้ประกวดสามารถจัดเตรียมมาเองหรือใช้เครื่องดนตรีของกองประกวด
- การบรรเลงต้องเป็นไปตามแบบฉบับการบรรเลงรับร้องของมโหรีอันพึงปฏิบัติ
- ผู้สมัครที่ส่งชื่อเข้าประกวด ถ้าสังกัดวงใดแล้วต้องสังกัดวงนั้นเพียงวงเดียว
- คณะกรรมการจะตรวจสอบชื่อนักดนตรีในถ้วย ข หากพบว่ามีผู้เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทถ้วย ก ร่วมบรรเลงในวงที่ประกวด กรรมการจะตัดสิทธิ์ในการประกวดทันที
- การประกวดประเภทเดี่ยวเครื่องดนตรีและขับร้อง อนุญาตให้ผู้ประกวดสามารถเลือกประเภทในการประกวดได้เพียงคนละ ๑ ประเภทเท่านั้น หากนักเรียนที่ได้รับรางวัลที่ ๑ แล้ว การประกวดเดี่ยว เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยเพียงออ และขับร้อง ขอให้สงวนสิทธิ์ในการประกวดเครื่องนั้น ๆ
- นักเรียนที่เข้าประกวดทุกประเภทต้องนําบัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียน มาให้ฝ่ายลงทะเบียนตรวจสอบทุกครั้งที่มีการประกวดต่อหน้าคณะกรรมการ หากไม่มีอาจจะพิจารณาตัดสิทธิ์ในการประกวดทุกประเภท
- การประกวดทุกประเภท ผู้ที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ รวมถึงครูผู้ฝึกซ้อมจะได้รับเกียรติบัตร จากกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.)
กำหนดระยะเวลาและการสมัคร
- การประกวดบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี) ถ้วย ก และ ถ้วย ข
ปิดรับสมัคร วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ - การประกวดบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีและขับร้อง จะเข้ ซออู้ ขลุ่ย ระนาดทุ้ม และรับร้อง
ปิดรับสมัคร วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ - ส่งใบสมัครได้ด้วยตนเองหรือสมัคร ทางไปรษณีย์ได้ที่
ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ ชั้น ๔
ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) สํานักงานใหญ่
ถนนสีลม แขวงสีลม กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐
รางวัลการประกวด
- ประเภทการบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี)
- ถ้วย ก
- รางวัลที่ ๑ ถ้วยมโหรี เกียรติบัตรพระราชทาน เข็มมโหรี รางวัลผู้ปรับวง เกียรติบัตรพระราชทาน และเข็มมโหรี ๑ รางวัล เงินรางวัล ๕๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลที่ ๒ ถ้วยรางวัลของ ดย. เกียรติบัตรพระราชทาน เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลที่ ๓ ถ้วยรางวัลของ ธนาคารกรุงเทพ เกียรติบัตรพระราชทาน เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย จํานวน ๒ รางวัล ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เกียรติบัตรพระราชทาน
- ถ้วย ข
- รางวัลที่ ๑ ถ้วยมโหรี เกียรติบัตรพระราชทาน เข็มมโหรี รางวัลผู้ปรับวง เกียรติบัตรพระราชทาน และเข็มมโหรี เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท ๑ รางวัล
- รางวัลที่ ๒ ถ้วยรางวัลของ ดย. เกียรติบัตรพระราชทาน เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลที่ ๓ ถ้วยรางวัลของ ธนาคารกรุงเทพ เกียรติบัตรพระราชทาน เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย จํานวน ๒ รางวัล ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เกียรติบัตรพระราชทาน
- ถ้วย ก
- ประเภทการบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีและขับร้อง
- รางวัลที่ ๑ เกียรติบัตรพระราชทาน โล่เกียรติยศจาก ดย. เข็มมโหรี เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลที่ ๒ เกียรติบัตรพระราชทาน เงินรางวัล ๖,๐๐๐ บาท
- รางวัลที่ ๓ เกียรติบัตรพระราชทาน เงินรางวัล ๔,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย จํานวน ๕ รางวัล ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท เกียรติบัตรพระราชทาน
ติดต่อสอบถาม
- กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (กสส.)
- โทรศัพท์ ๐ ๒๖๕๑ ๒๕๔๑ ในเวลาราชการ ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
- ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน)
- โทรศัพท์ ๐ ๒๒๓๐ ๒๗๑๑ และ ๑๒ ๒๓๐ ๒๗๑๕
- โทรสาร ๐ ๒๖๒๖ ๓๓๕๗ ในวันและเวลาทําการ ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.