แข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 17 : The 17th Thailand Paper-Folded Airplane Competition
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมเครื่องบินกระดาษพับ ขอเชิญผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 17 : The 17th Thailand Paper-Folded Airplane Competition ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่รางวัล เกียรติบัตร ของรางวัล และเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ณ ประเทศญี่ปุ่น
ประเภทการรับสมัคร
- รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี (ผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
- รุ่นทั่วไป (ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2554)
หมายเหตุ พนักงาน อพวช. สมาชิกสมาคมเครื่องบินกระดาษพับ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขัน ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน
ประเภทการแข่งขัน
ประเภทร่อนนาน
ข้อกำหนดของเครื่องบินกระดาษพับ
- ใช้กระดาษขนาด A5 (14.8 ซม. x 21.0 ซม.) ชนิด 65 แกรม เฉพาะที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยจะพับจากกระดาษ A5 ที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือจะตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ด้านละ 14.8 ซม.) ก่อนใช้พับก็ได้
- ใช้วิธีพับเพียงอย่างเดียวจากกระดาษแผ่นเดียว ห้าม ตัด เจาะ ติดกาวหรือเทปกาว โรยสิ่งอื่นใดลงบนกระดาษ หรือติดที่ถ่วงน้ำหนักบนเครื่องบินกระดาษ
- ให้เขียนชื่อ - นามสกุล ของผู้แข่งขันลงบนเครื่องบินกระดาษพับที่จะใช้ร่อนแข่งขัน
ข้อกำหนดการร่อน
- ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่บนพื้นระดับเดียวกันและเครื่องบินต้องตกบนระดับพื้นเดียวกับที่ผู้แข่งขันยืน
- ให้ร่อนจากมือผู้แข่งขันเท่านั้น ห้ามใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วยในการร่อน
- ขณะร่อนเครื่องบินออกจากมือ ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระโดด โดยเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
- การเข้าร่อน 1 รอบให้ผู้แข่งขันร่อนได้ 2 ครั้ง
- เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ให้ผู้แข่งขันยื่นใบบันทึกสถิติให้กับกรรมการจับเวลา และยกมือให้สัญญาณกรรมการก่อนการร่อนจับเวลาแต่ละครั้ง
เกณฑ์การนับเวลาบินในอากาศ
- นับเวลาบินในอากาศตั้งแต่ร่อนออกจากมือ จนเครื่องบินกระดาษสัมผัสพื้นครั้งแรก
- ในกรณีที่ผู้ร่อนทำผิดข้อกำหนดห้ามกระโดดขณะร่อน ให้ถือเป็นการร่อน 1 ครั้ง และนับเวลาเป็น 0 วินาที
- ในกรณีที่เครื่องบินบินไปชนกำแพงหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ ให้นับถึงเวลาที่เครื่องบินตกลงพื้น
- หากเครื่องบินติดค้างอยู่บนสิ่งกีดขวางหรือไม่ตกบนพื้นระดับเดียวกับที่ผู้แข่งขันยืน ให้ร่อนใหม่
ข้อกำหนดการลงทะเบียนและลำดับการแข่งขัน
- ผู้แข่งขันสามารถลงทะเบียนเข้าแข่งขันได้ในระหว่างเวลาที่กำหนด โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ทำบัตรประชาชน) หรือในกรณีไม่ใช่สัญชาติไทยให้แสดงหนังสือเดินทางหรือเอกสารรับรองที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย ต่อกรรมการเป็นหลักฐาน
- เมื่อผู้แข่งขันลงทะเบียนจะได้รับใบบันทึกสถิติ ให้กรอกรายละเอียดของตนเองให้ครบถ้วนและถูกต้อง ใบบันทึกสถิติสามารถใช้เข้าแข่งขันได้ตลอดทั้งวัน
- ให้ผู้แข่งขันพับเครื่องบินกระดาษ ณ บริเวณที่เตรียมไว้ให้ เมื่อพร้อมที่จะแข่งขันให้นำใบบันทึกสถิติและเครื่องบินกระดาษไปตรวจกับเจ้าหน้าที่ แล้วเข้าแถวรอเข้าแข่งขันบันทึกสถิติกับกรรมการจับเวลา
- อนุโลมให้ผู้ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานประจำตัวตามข้อ 6.1 ลงทะเบียนเข้าแข่งขันรอบคัดเลือกได้ โดยต้องส่งหลักฐานให้กรรมการภายในวันที่กำหนดหากมีการร้องขอ
- คณะกรรมการจัดการแข่งขันสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสิทธิ์การผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศของผู้แข่งขันที่ไม่แสดงหลักฐานภายในกำหนดหรือลงทะเบียนเข้าแข่งขันผิดรุ่น
กำหนดระยะเวลา
- สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ ณ สนามแข่งขันในวันเวลาที่ทำการจัดแข่งขัน (16 - 25 สิงหาคม 2566 ตามวันเวลาการแข่งขันของแต่ละสนามแข่งขัน)
- กำหนดการและสนามการแข่งขันรอบคัดเลือก
- ภาคกลาง
- 17-18 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ภาคตะวันออก
- 17-18 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- 16-17 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 17-18 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- ภาคเหนือ
- 17-18 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (พิษณุโลก)
- 24-25 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เชียงใหม่)
- ภาคใต้
- 17-18 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
- 17-18 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- ภาคกลาง
- การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 3 กันยายน 2566
การแข่งขันรอบคัดเลือก
- แต่ละสนาม จะเปิดลงทะเบียนเข้าแข่งขัน เวลา 9.00 - 15.00 น. โดยผู้แข่งขันสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ไม่จำกัดจำนวนรอบและจำนวนวันตลอดช่วงของวันที่จัดแข่งขัน
- ผู้แข่งขันรอบแรกต้องทำสถิติได้ 9 วินาทีขึ้นไปในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และ 11 วินาทีขึ้นไปในรุ่นทั่วไป จึงจะมีสิทธิ์บันทึกสถิติสำหรับรอบตัดสิน โดยต้องนำใบบันทึกสถิติรอบแรกมาเปลี่ยนเป็นบัตรประจำตัวบันทึกสถิติรอบตัดสินจากกรรมการบันทึกสถิติ
- ผู้แข่งขันรอบตัดสินจะต้องใช้กระดาษเฉพาะสำหรับรอบตัดสินเท่านั้น และต้องพับเครื่องบินต่อหน้ากรรมการภายในสนามแข่ง หากต้องการเปลี่ยนกระดาษแผ่นใหม่ ให้นำกระดาษแผ่นเก่ามาเปลี่ยนได้กับกรรมการในสนาม โดยผู้แข่งขันรอบตัดสินแต่ละคนจะสามารถใช้กระดาษได้ไม่เกิน 7 แผ่นต่อวัน
- ผู้แข่งขันรอบตัดสินสามารถเข้าแข่งขันบันทึกสถิติรอบตัดสินได้ไม่จำกัดจำนวนรอบในวันนั้นๆ
- การตัดสินอันดับจะใช้วิธีเรียงสถิติของผู้แข่งขันรอบตัดสินตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายของสนามนั้นๆ โดยผู้แข่งขันแต่ละรุ่นที่ได้อันดับที่กำหนดของแต่ละสนาม เป็นผู้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ
- ผู้แข่งขันมีสิทธิ์บันทึกสถิติรอบตัดสินของสนามรอบคัดเลือกได้เพียงคนละ 1 สนามเท่านั้น ผู้แข่งขันรอบตัดสินที่ไม่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ จะไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบตัดสินของสนามอื่นได้อีก
การแข่งขันรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศ
- ผู้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศแต่ละรุ่น ได้แก่
- อันดับ 1-5 จากสนามแข่งขันรอบคัดเลือกส่วนภูมิภาค
- ผู้แข่งขัน 6 คนสุดท้ายของรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันฯ ครั้งที่ 16
- ใช้กระดาษมาตรฐาน International ORIGAMI PLANE Association ประเทศญี่ปุ่น ขนาด A5
- ทำการแข่งขันในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 (สนามการแข่งขัน จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง)
- รอบรองชนะเลิศ เวลา 9.00 - 12.00 น. คัดเลือกผู้ที่ทำสถิติสูงสุด 6 อันดับในแต่ละรุ่นผ่านเข้ารอบชิงฯ
- รอบชิงชนะเลิศ เวลา 13.00 - 17.00 น. ให้ผู้แข่งขันพับเครื่องบินแบบที่กรรมการกำหนดและแบบที่ผู้แข่งขันถนัดนำมาร่อนบันทึกสถิติ โดยขั้นตอนวิธีพับแบบเครื่องบินที่กำหนดจะประกาศในวันแข่งขันการตัดสินอันดับใช้วิธีเรียงสถิติเฉลี่ยที่ได้จากสถิติที่ดีที่สุดของเครื่องบินแต่ละแบบ เพื่อหาผู้ชนะเลิศในแต่ละรุ่น
ข้อกำหนดอื่นๆ
- ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์แข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่เป็นผู้แข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ 6 คนสุดท้ายของรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันฯ ครั้งที่ 16 ได้ที่เว็บไซต์ของสมาคม www.mtec.or.th/paperairplane/
- ผู้แข่งขันหน้าใหม่ดีเยี่ยม หมายถึง ผู้แข่งขันที่ไม่เคยติดอันดับสถิติการร่อนเครื่องบินกระดาษพับของประเทศไทย ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2562 ในแต่ละรุ่นมาก่อน และสามารถทำสถิติอย่างเป็นทางการในรอบที่ใช้กระดาษมาตรฐาน International ORIGAMI PLANE Association ได้ติดอันดับสถิติการร่อนเครื่องบินกระดาษพับของประเทศไทยที่ดีที่สุด ณ วันสิ้นสุดการแข่งขันฯ ครั้งนี้
- ผู้สร้างสถิติใหม่สูงสุดประเทศไทย หมายถึง ผู้แข่งขันในแต่ละรุ่นที่สามารถทำสถิติอย่างเป็นทางการสูงที่สุดในรอบที่ใช้กระดาษมาตรฐาน International ORIGAMI PLANE Association ณ วันสิ้นสุดการแข่งขันฯ ครั้งนี้ ได้มากกว่าสถิติสูงสุดของการร่อนเครื่องบินกระดาษพับของประเทศไทย ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2562
- หากมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหรือกติกาการแข่งขัน จะประกาศบนเว็บไซต์ของ อพวช. และสมาคม
- การตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด
รางวัลการแข่งขัน
- ชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท โล่รางวัล เกียรติบัตรและของรางวัล และเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ณ ประเทศญี่ปุ่น
- รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท โล่รางวัล เกียรติบัตรและของรางวัล
- รองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท โล่รางวัล เกียรติบัตรและของรางวัล
- ผู้แข่งขันหน้าใหม่ดีเยี่ยม เงินรางวัล 3,000 บาท โล่รางวัลและเกียรติบัตร
- ผู้สร้างสถิติใหม่สูงสุดประเทศไทย เงินรางวัล 3,000 บาท และเกียรติบัตร
- เกียรติบัตรรองชนะเลิศ อันดับ 3 - 5
- เงินทุนการศึกษา 500 บาท สำหรับผู้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศที่เดินทางมาเข้าแข่งขัน
- เกียรติบัตรผู้เข้ารอบรองชนะเลิศ สำหรับผู้แข่งขันที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศจากสนามแข่งขันรอบคัดเลือก
- เกียรติบัตรการแข่งขันรอบคัดเลือก สำหรับผู้แข่งขันที่ทำสถิติรอบตัดสินของแต่ละสนามรอบคัดเลือกได้ดังนี้
- ผู้แข่งขันที่ทำสถิติรอบตัดสิน ได้ 9 วินาทีขึ้นไปในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และอยู่ในอันดับที่ 6 – 10
- 2) ผู้แข่งขันที่ทำสถิติรอบตัดสิน ได้ 11 วินาทีขึ้นไปในรุ่นทั่วไป และอยู่ในอันดับที่ 6 – 10
ติดต่อสอบถาม
- โทร: 02-577-9999 ต่อ 1790-1794
- www.facebook.com/NSMThailand