^ Back to Top

ประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ ประจำปี 2567

ประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ ประจำปี 2567

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอเชิญนักเรียน นักศุึกษา หรือเทียบเท่า สมัครเข้าร่วมการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ ประจำปี 2567 ในงานวันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ประจําปีพุทธศักราช 2567 ชิงเหรียญรางวัล พร้อมเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการสร้างประสบการณ์ด้านการปฏิบัติทักษะดนตรีไทยให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ อันจะนําไปสู่การสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจําชาติสืบไป

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

  • เป็นนักเรียน หรือนิสิตนักศึกษาในระดับชั้นใดระดับชั้นหนึ่ง ดังนี้
    • ระดับชั้นประถมศึกษาหรือเทียบเท่า
    • ระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
    • ระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับหนึ่งหรืออันดับสองในระดับภาค ระดับชาติ หรือเทียบเท่า ทุกรายการจากการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีและขับร้องในประเภทและระดับชั้นที่จะเข้าร่วมการประกวด ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ซึ่งรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับหนึ่งหรืออันดับสองดังกล่าว เทียบเคียงได้ดังนี้
    • ระดับชนะเลิศ หรือรางวัลเหรียญทองอันดับ 1 หรือได้รับรางวัลในการแข่งขันอันดับ 1
    • รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง หรือรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับ 1 หรือได้รับรางวัลในการแข่งขันอันดับ 2
    • รองชนะเลิศอันดับสอง หรือรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับ 2 หรือได้รับรางวัลในการแข่งขันอันดับ 3
  • มีหนังสือรับรองการศึกษาและรับรองว่า เป็นนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาในสถานศึกษา และไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดดนตรี ออกโดยหัวหน้าสถานศึกษาในระดับผู้อํานวยการหรือคณบดีหรืออธิการบดี หากคณะผู้จัดงานพบว่า ข้อมูลที่ได้รับไม่เป็นความจริง จะตัดสิทธิ์การเข้าร่วมการประกวดดนตรีไทยที่จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาของสถาบันนั้น ๆ เป็นเวลา 3 ปี และยกเลิกรางวัลทุกประเภทของสถาบันนั้น
  • ผู้สมัคร 1 คน สามารถเข้าประกวดได้เพียง 1 รายการเท่านั้น
  • ในแต่ละสถาบันสามารถส่งผู้เข้าร่วมประกวดได้มากกว่า 1 รายการ

รายการของการประกวด

  • การขับร้องเพลงไทย
  • การบรรเลงเดี่ยวซอสามสาย
  • การบรรเลงเดี่ยวซอด้วง
  • การบรรเลงเดี่ยวซออู้
  • การบรรเลงเดี่ยวจะเข้
  • การบรรเลงเดี่ยวขิม 7 หย่อง
  • การบรรเลงเดี่ยวขลุ่ยเพียงออ
  • การบรรเลงเดี่ยวปี่ใน
  • การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก
  • การบรรเลงเดี่ยวระนาดทุ้ม
  • การบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่
  • การบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็ก

รายละเอียดการประกวด

  • ผู้เข้าประกวดสามารถใช้ทางเพลงได้อย่างอิสระ โดยให้สอดคล้องกับทํานองหลักหรือบทร้อง จังหวะหน้าทับบันไดเสียงที่ใช้ในเพลงจากโน้ตเพลงที่กําหนดให้โดยให้ผู้เข้าประกวดตรวจสอบหมายเหตุท้ายโน้ตเพลงที่แนบมาท้ายประกาศนี้อย่างเคร่งครัด
  • การประกวดบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีทุกรายการ จะต้องเป็นบทเพลงที่ใช้ทางเดี่ยว ให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการเข้าประกวดเท่านั้น สําหรับการประกวดเดี่ยวซอสามสาย ปี่ใน ระดับประถมศึกษา บรรเลงทางปกติไม่บรรเลงเป็นทางเดี่ยว
  • การประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องทุกรายการ ต้องมีฉิ่งและเครื่องหนังประกอบจังหวะ (การประกวดเดี่ยวปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ใช้กลองสองหน้าบรรเลงทุกรายการ การประกวดขับร้องเพลงไทย เดี่ยวซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขิม ขลุ่ยเพียงออ ใช้กลองแขกหรือโทนรํามะนาตามความเหมาะสม) โดยผู้บรรเลงสามารถเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์หรือนักดนตรีอาชีพบรรเลงประกอบได้ (ผู้บรรเลงเครื่องประกอบจังหวะไม่จําเป็นต้องปรากฏใน VDO Clip)
  • การประกวดขับร้องเพลงไทย ให้มีการบรรเลงระนาดเอก (จํานวน 22 ลูก ระดับเสียงกรมศิลปากร) บรรเลงรับร้องและส่งร้อง โดยบรรเลงเฉพาะสวมร้อง และส่งร้องไม่เกิน 8 ห้องเพลงไทย และไม่มีการบรรเลงทํานองคั่น (การบรรเลงรับร้อง ส่งร้องจะไม่มีการนับคะแนน แต่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามความเหมาะสมของบทเพลง โดยให้การสวมร้อง และส่งร้องเป็นไปตาม VDO Clip ตัวอย่าง ซึ่งสามารถสแกนได้จาก QR Code ในเอกสารโน้ตเพลงทํานองหลักและบทขับร้อง) ทั้งในรอบคัดเลือก (บันทึกเทป) และรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศ กองประกวดจะจัดเตรียมระนาดเอกให้ทั้งนี้ให้ผู้เข้าประกวดจัดเตรียมผู้บรรเลงรับร้องส่งร้องมาเอง
  • การประกวดเดี่ยวระนาดเอก ให้ใช้ไม้แข็งในการบรรเลง และการประกวดเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ให้ใช้ไม้หนังในการบรรเลงทุกรายการ
  • การประกวดเดี่ยวซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย จะเข้ ขิม 7 หย่อง ทุกระดับชั้น สามารถเลือกใช้ประเภทของสายได้ตามความถนัดของผู้บรรเลง
  • การประกวดเดี่ยวขิม 7 หย่อง สามารถใช้ผีเสื้อหรือขิมคางหมู จํานวน 7 หย่อง โดยสามารถใช้หย่องเสริมได้
  • การประกวดในรอบชิงชนะเลิศ สามารถใช้เครื่องดนตรีที่เตรียมมาด้วยตนเองหรือสามารถใช้เครื่องดนตรีที่กองประกวดจัดเตรียมไว้ให้โดยผู้เข้าประกวดต้องนําไม้ตีหรือไม้ดีดมาด้วยตนเอง ยกเว้นขลุ่ยเพียงออและปี่ในผู้เข้าประกวดต้องนําเครื่องดนตรีมาเอง ทั้งนี้จะต้องเป็นเครื่องดนตรีที่เทียบเสียงในระดับเสียงของกรมศิลปากรเท่านั้น

กำหนดระยะเวลา
สมัครและส่งผลงานวันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2566

รางวัลการประกวดรอบชิงชนะเลิศ
ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ จะมีผู้เข้าประกวดที่ผ่านการคัดเลือกจากรอบคัดเลือก ประเภทละไม่เกิน 10 คน เพื่อบรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการ โดยมีรางวัลในการประกวดดังต่อไปนี้

  • รางวัลเหรียญทองอันดับที่ 1 (คะแนนสูงสุดอันดับที่ 1) ประเภทละ 1 รางวัล เหรียญรางวัล พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลเหรียญทองอันดับที่ 2 (คะแนนสูงสุดอันดับที่ 2) ประเภทละ 1 รางวัล เหรียญรางวัล พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลเหรียญทองอันดับที่ 3 (คะแนนสูงสุดอันดับที่ 3) ประเภทละ 1 รางวัล เหรียญรางวัล พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลระดับเหรียญทอง (ได้คะแนนร้อยละ 80 – 100 คะแนน) ไม่จํากัดจํานวน เกียรติบัตรเหรียญทอง
  • รางวัลระดับเหรียญเงิน (ได้คะแนนร้อยละ 70 – 79 คะแนน) ไม่จํากัดจํานวน เกียรติบัตรเหรียญเงิน
  • รางวัลระดับเหรียญทองแดง (ได้คะแนนร้อยละ 60 – 69 คะแนน) ไม่จํากัดจํานวน เกียรติบัตรเหรียญทองแดง

หมายเหตุ

  • เกียรติบัตรจะได้รับเฉพาะผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเท่านั้น
  • ผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 60 คะแนน จะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการประกวด
  • เกียรติบัตรที่ได้รับจะเป็นเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่นําส่งผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น

ติดต่สอบถาม

  • ผศ.ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง โทรศัพท์ 086 363 7307
  • ผศ.เชาวน์มนัส ประภักดี โทรศัพท์081 274 2130
File attachments: 
หมดเขต: 
01 ต.ค. 2023 08:30 to 31 ต.ค. 2023 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.