^ Back to Top

ประกวดโครงการ “BAAC Hackathon and Incubator, Agricultural Revolution หรือ ปฏิวัติเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

ประกวดโครงการ “BAAC Hackathon and Incubator, Agricultural Revolution หรือ ปฏิวัติเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขอเชิญนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดโครงการ “BAAC Hackathon and Incubator, Agricultural Revolution หรือ ปฏิวัติเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ชิงเงินรางวัล พร้อมถ้วยเกียรติยศ

ภายใต้โจทย์

  1. ข้าวไทยในตลาดสากล
    เมื่อเทียบราคาและปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิไทยกับต่างประเทศพบว่า ไทยยังมีผลผลิตต่อไร่ต่ำและมีต้นทุนสูง ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยเสียเปรียบทางการตลาด และในด้านของข้าวขาว ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีผลผลิตข้าวขาวต่อไร่สูงก็จริง แต่ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคภายในประเทศนั้นกลับมีคุณภาพต่ำ จึงเป็นที่มาของการสรรหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะสามารถพัฒนาและปรับปรุงข้าวของไทยให้มีคุณภาพและมีมูลค่าเทียบเท่ากับตลาดสากลได้
  2. เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
    ตามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ที่เกิดขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทนมและผลิตภัณฑ์นม ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทย รวมถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนมที่ยังไม่พร้อมรับมือกับการค้าเสรีอย่างเป็นทางการ เผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตและภาษี จึงเป็นที่มาในการร่วมกันหาทางปรับตัวและรับมือเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยอยู่รอดได้
  3. การเกษตรเพื่ออาหารสุขภาพ
    เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญมากขึ้นในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) ประเด็นด้านสุขภาพและสวัสดิภาพแรงงาน (Labor Welfare) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกษตรของไทยจำเป็นต้องปรับตัวขนานใหญ่ให้เข้ากับแนวโน้มของผู้บริโภคในอนาคต
  4. ห่วงโซ่อุปทานการเกษตร
    การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานการเกษตรเพื่อไห้ได้มาซึ่งความยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ส่งผลสำคัญต่อการไหลเวียนสินค้าภาคการเกษตร ต้นทุนการผลิตในด้านต่าง ๆ รวมถึงรายได้ของตัวเกษตรกร จึงเป็นอีกความท้าทายที่หากสามารถพัฒนาระบบธุรกิจเกษตรให้ดีขึ้นได้ ทุกกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่นี้ก็จะได้รับผลประโยชน์โดยทั่วกัน

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นนิสิต นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในหัวข้อปัญหาที่กำหนด
  • มีสมาชิกทีม 2-5 คน

ทั้งนี้ ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณารับสมัครตามลำดับเวลาของการยื่นใบสมัคร จนกว่าจะครบจำนวนที่กำหนด

ปฏิทินโครงการ

  • 20 กันยายน - 18 ตุลาคม 2564 เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
  • 20 ตุลาคม 2564 ประกาศรายชื่อ 18 ทีมที่ผ่านเข้าร่วมโครงการ
  • 23 - 24 ตุลาคม 2564 กิจกรรม Virtual Hackathon ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
  • 25 ตุลาคม 2564 ประกาศรายชื่อ 9 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ
  • 28 ตุลาคม 2564 - 4 กุมภาพันธ์ 2565 กิจกรรม Incubator ระยะเวลา 3 เดือน
  • 5 กุมภาพันธ์ 2565 ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบ Demo day
  • 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2565 กิจกรรม Bootcamp ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
  • 25 กุมภาพันธ์ 2565 กิจกรรม Demo day นำเสนอผลงานนวัตกรรม

สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ

  • โอกาสร่วมงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ประสบการณ์ร่วมปฏิวัติและพัฒนาภาคการเกษตรของไทย
  • คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายวงการ
  • เงินรางวัล
    • รางวัลชนะเลิศรอบ Demo Day เงินรางวัลมูลค่า 200,00 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ
    • รางวัลรองชนะเลิศรอบ Demo Day เงินรางวัลมูลค่า 100,00 บาท
    • ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Incubator เงินรางวัลมูลค่า 50,00 บาท
    • ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Hackathon เงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท

ติดต่อสอบถาม

  • baacincubator@gmail.com
  • 085-134-5241 (เค้ก) : 9.00-18.00 น.
File attachments: 
หมดเขต: 
08 ต.ค. 2021 05:21 to 18 ต.ค. 2021 05:21

Members Online

There are currently 0 users online.