บรรยาย หัวข้อ “ศิลปะ สังคม สงคราม และความเป็นเวียดนาม”
บรรยาย หัวข้อ “ศิลปะ สังคม สงคราม และความเป็นเวียดนาม” โดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร และกฤติยา กาวีวงศ์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 13.00 - 15.30 น. ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House
การบรรยายในหัวข้อ “ศิลปะ สังคม สงคราม และความเป็นเวียดนาม”
โดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร และกฤติยา กาวีวงศ์
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 13.00-15.30น.
ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันการบรรยายครั้งนี้จะดำเนินรายการเป็นภาษาไทยเท่านั้น (The program will be conducted in Thai only)
การบรรยายครั้งนี้จะแบ่งเป็นสองส่วน เรื่องของประวัติศาสตร์สังคมของเวียดนาม และศิลปะ โดยผศ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตรกล่าวถึงประเทศเวียดนาม ในฐานะที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นเพียงชื่อสงครามหากแต่สำหรับชาวเวียดนาม ยากที่จะหาข้อยุติว่าจะเรียกชื่อสงครามนี้อย่างไรการถอดรื้อให้เห็นความกำกวมของสงครามนี้ผ่านความรับรู้อันเลือนลางของชาวไทยต่อเวียดนาม เมืองเว้และการเกี่ยวข้องของไทยในสงครามดังกล่าวจนถึงการสืบย้อนกลับไปในยุคความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับเมืองเว้ในปลายรัชกาลที่ 1 จะให้ความหมายแก่ศิลปะเวียดนามอย่างไรรวมถึงบทบาทของศิลปะและศิลปินร่วมสมัยในประเทศเวียดนามท่ามกลางบริบทของสังคมปัจจุบัน
กฤติยา กาวีวงศ์ บรรยายเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของเวียดนามในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคสงคราม อเมริกัน (หรือสงครามเวียดนาม) จนถึงยุคหลังโดยเหม่ย โดยใช้กรณีศึกษาของนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ไซ่ง่อน โอเพ่น ซิตี้ (Saigon Open City) ที่เธอได้รับเชิญเป็นภัณฑารักษัร่วมกับฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ที่เมืองโฮจิมินห์ ในปี 2006 เน้นการเตรียมงาน การลงพื้นที่ เยี่ยมสตูดิโอศิลปินเวียตนามทั้งที่ฮานอย และไซ่ง่อน รวมถึงอุปสรรค ปัญหา ของการทำงานในประเทศคอมมิวนิสต์ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดด้านเสรีภาพในการแสดงออก ทำให้งานนิทรรศการนี้กลายเป็นโครงการที่ค้างคา (unfinished project)
กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ The Game | Viet Nam by LE Brothersซึ่งเป็นนิทรรศการสื่อผสมและวิดีโอ โดยศิลปิน เล หง็อก ตาน (Le Ngoc Thanh) และ เล ดึก ฮาย (Le DucHai) คู่แฝดชายชาววียดนามที่สร้างสรรค์ผลงานในนาม LE Brothers ได้พิเคราะห์ถึงเวียดนามในปัจจุบัน ด้วยการหวนระลึกถึงวัยเด็กและความทรงจำในอดีต ช่วงสี่ทศวรรษหลังจากการรวมประเทศ ที่ผู้คนในยุคสมัยเดียวกันเติบโตขึ้นในประเทศที่มีรอยแผลเป็นจากสงครามและอุดมการณ์ทางความคิดที่แตกแยกเป็นเหนือและใต้ ภาพของการทำลายล้างและความตายหลอกหลอนวัยเยาว์ของพวกเขาในวัยเด็กพวกเขาเล่นบทบาทในโลกแห่งจินตนาการที่มีความสงบสุข และการเยียวยาด้วยทรัพยากรอันจำกัด เกมส์ในวัยเด็กของพวกเขาคือการเผชิญหน้าด้วยอาวุธเสมือนที่ทำจากวัสดุต่างๆ ที่หาได้ จำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบข้าง สองพี่น้องและเพื่อนๆ ต่อสู้เพื่อความเป็นเอกภาพในแบบฉบับของตนเอง
ทั้งหมดนี้ทำให้ The Game | Vietnam by LE Brothers ไม่เพียงสะท้อนความทรงจำส่วนตัวในอดีตของศิลปิน และยังสร้างการเล่าเรื่องที่ผู้คนในท้องถิ่นสามารถมีอารมณ์ร่วมในการตั้งคำถามและให้คำตอบในเรื่องของอัตลักษณ์ และการตระหนักรู้ทางสังคม ที่เป็นผลจากการแบ่งแยกหลังสงคราม และในท้ายที่สุด ทำให้เกิดการปรองดอง และความเป็นปึกแผ่นทางสังคม
เกี่ยวกับผู้บรรยาย
ผศ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร จบปริญญาเอกทางมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ทำปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาภาษาและชาติพันธ์ศึกษา ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของอักษรไทดำในประเทศเวียดนาม และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชนชาติไทดำในเวียดนาม นอกจากนี้ยังสนใจศิลปะ คติชน ทฤษฎีและวิธีวิทยาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาปัจจุบัน ผศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร เป็นรองคณบดีบัณฑิตศึกษา วิจัย และการบริการวิชาการคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กฤติยา กาวีวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งโปรเจ็ค 304 องค์กรศิลปะไม่แสวงหาผลกำไร เมื่อปี พ.ศ. 2539 กฤติยาจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการบริหารจัดการศิลปะและนโยบายสาขาทัศนศิลป์ จากสถาบันศิลปะชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกาเธอทำงานกับศิลปินระดับประเทศ และนานาชาติ ผลงานนิทรรศการที่เคยจัดแสดง อาทิเช่น Under Construction ณ Tokyo Opera City Gallery and Japan Foundation, Forum โตเกียว, ญี่ปุ่น (ปี พ.ศ. 2546 ) Politics of Fun, HKW, เบอร์ลิน (2548) เธอร่วมทำงานคัดสรรและจัดนิทรรศการระดับนานาชาติกับ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ชื่อ โครงการ Saigon Open City ณ เมืองโฮจิมินห์ และล่าสุดจัดนิทรรศการ คนกินแสง เสนอผลงานวิดีโอและงานจัดวาง โดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ (2559) ปัจจุบันกฤติยาอาศัยและทำงานอยู่ที่กรุงเทพ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะ และ ภัณฑารักษ์ ประจำหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน
ข่าวประชาสัมพันธ์ : หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House