ประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ประจำปี 2555 หัวข้อ มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญชวนเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปไม่จำกัดเพศและอายุ ประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ประจำปี 2555 ในหัวข้อ“มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 160,000 บาท
หลักการและเหตุผล
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีพันธกิจสาคัญประการหนึ่ง คือ สร้างเครือข่ายการร่วมมือทางดาราศาสตร์กับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและนานาชาติในการวิจัยการผลิตบัณฑิต การสร้างมาตรฐานทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ของประเทศ พร้อมด้านการบริการวิชาการด้านดาราศาสตร์แก่ชุมชน ทั้งนี้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และยังมีพันธะกิจที่สาคัญประการหนึ่ง คือ สร้างความตระหนักทางด้านดาราศาสตร์ให้แก่ประชาชนทั่วไป
และเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักทางด้านดาราศาสตร์และกระตุ้นให้เกิดความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ และกิจกรรมทางดาราศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการรวบรวมภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ของประเทศไทยตามสถานที่ต่างๆมาเพื่อนามาใช้ในการจัดทาปฏิทินของสถาบันฯประจำปี 2556 รวมทั้งนาภาพอื่นๆที่ส่งเข้าประกวดมาใช้ในการจัดทาสื่อการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ และสมุดภาพสาหรับใช้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ และเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ให้คนไทยได้เล็งเห็นความสาคัญของดาราศาสตร์
สถาบันฯ จึงได้จัดโครงการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ประจำปี 2555 ภายใต้หัวข้อในการประกวด “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” โดยแบ่งประเภทของภาพที่ส่งเข้าประกวด ดังนี้
- ภาพถ่ายประเภท Deep Sky Objects เช่น กาแล็กซี, เนบิวลา, กระจุกดาว
- ภาพถ่ายประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การบังกันของวัตถุในระบบสุริยะ การเกิดคอนจังชั่นของวัตถุในระบบสุริยะเป็นต้น แต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเกิดเฟสของดวงจันทร์ ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าผ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง
- ภาพถ่ายประเภทวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์
- ภาพถ่ายประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ เช่น ภาพถ่ายที่ประกอบด้วยวัตถุบนพื้นโลกกับวัตถุบนท้องฟ้าที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์
- ภาพถ่ายประเภทปรากฏการณ์ในบรรยากาศโลก เช่น ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ฟ้าผ่า เมฆ การเกิดรุ้งกินน้า ดวงจันทร์ทรงกลด หรือดวงอาทิตย์ทรงกลด
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเข้าใจหลักการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์
- เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการถ่ายภาพทางด้านดาราศาสตร์ในประเทศไทย
- เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักทางด้านดาราศาสตร์และกระตุ้นให้เกิดความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ และกิจกรรมทางดาราศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น
- เพื่อนาภาพถ่ายที่ชนะการประกวดมาจัดทำปฏิทินของสถาบันฯประจำปี 2555 และนำภาพอื่นๆที่ส่งเข้าประกวดมาใช้ในการจัดทำสื่อโฆษณาของสถาบันฯต่อไป
- เพื่อนำภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดมาจัดทำเป็นสมุดภาพสำหรับใช้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ และเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ให้คนไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของดาราศาสตร์
- เพื่อนำไปจัดแสดงนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ประจำปี 2555
เงื่อนไขในการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำปี 2555 ในหัวข้อ“มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
1. ผู้มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวด
เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปไม่จำกัดเพศและอายุ
2. เงื่อนไขประเภทภาพถ่าย
2.1 ประเภทภาพถ่าย Deep Sky Objects เช่น กาแล็กซี, เนบิวลา, กระจุกดาว
2.2 ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การบังกันของวัตถุในระบบสุริยะ การเกิดคอนจังชั่นของวัตถุในระบบสุริยะ แต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเกิดเฟสของดวงจันทร์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าฝ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง
2.3 ประเภทภาพถ่ายวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์
2.4 ประเภทภาพถ่ายวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ เช่น ภาพถ่ายที่ประกอบด้วยวัตถุบนพื้นโลกกับวัตถุบนท้องฟ้าที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ แต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าฝ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง
2.5 ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก เช่น ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ฟ้าผ่า การเกิดรุ้งกินน้ำ ดวงอาทิตย์ทรงกรด หรือดวงจันทร์ทรงกรด
3. กติกาการส่งภาพเข้าประกวด
3.1. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพถ่ายที่เกี่ยวกับทางด้านดาราศาสตร์
ประเภทภาพถ่าย Digital
- ถ่ายด้วยกล้อง Digital SLR (Single Lens Reflect) หรืออุปกรณ์ทางดาราศาสตร์อื่นๆ เช่น CCD
- ขนาดของภาพสามารถขยายเป็นภาพสีหรือขาวดำ โดยมีความกว้างด้านใดด้านหนึ่งไม่ต่ากว่า 6 นิ้ว และ ไม่เกิน18 นิ้ว และอัดภาพส่ง
- ภาพถ่ายทุกภาพต้องเขียนวิธีการ เทคนิคการถ่ายภาพ และเทคนิคที่ใช้ประมวลภาพถ่าย (Image processing) (ดูรายละเอียดตามเอกสารแนบ)
- ส่งมอบภาพสีหรือขาวดำ จานวน 2 ชุด พร้อม Digital File ที่มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปอัดขยายภาพ เพิ่มได้ ไม่จำกัด pixel โดยบันทึกลงบนแผ่น CD หรือ DVD
ประเภทภาพฟิล์ม
- ให้สแกนภาพจากฟิล์มให้เป็น Digital File ที่มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปอัดขนาดภาพได้ ไม่จำกัด pixel
- ขนาดของภาพสามารถขยายเป็นภาพสีหรือขาวดำ โดยมีความกว้างด้านใดด้านหนึ่งไม่ต่ากว่า 6 นิ้ว และ ไม่เกิน 18 นิ้ว และอัดภาพ
- ภาพถ่ายทุกภาพต้องเขียนวิธีการ เทคนิคการถ่ายภาพ และเทคนิคที่ใช้ประมวลภาพถ่าย (Image processing) (ดูรายละเอียดตามเอกสารแนบ)
- ส่งมอบภาพสีหรือขาวดำ จานวน 2 ชุด พร้อม Digital File ที่มีคุณสมบัติที่สามารถนาไปอัดขยายภาพ เพิ่มได้ ไม่จำกัด pixel โดยบันทึกลงบนแผ่น CD หรือ DVD
3.2 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดสามารถส่งภาพได้ทุกประเภทไม่จำกัดจานวน
3.3 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดมากกว่า 1 ภาพในประเภทเดียวกัน มีสิทธิ์ได้รับเฉพาะรางวัลสูงสุดเท่านั้น
3.4 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดสามารถส่งภาพถ่ายที่เก็บไว้ในอดีตเข้าประกวดได้
3.5 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดให้ส่งภาพพร้อมใบสมัครตามแนบที่สถาบันฯกำหนด ใบสมัคร 1 ฉบับต่อ 1 ภาพถ่าย
3.6 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดต้องเป็นผู้ถ่ายภาพด้วยตนเอง ห้ามมิให้นำผลงานของผู้อื่นส่งเข้าประกวด
4. รางวัลประกวดการถ่ายภาพรวมทั้งสิ้น 160,000 บาท ประกอบด้วย
4.1 ประเภทภาพถ่าย Deep Sky Objects
ลำดับที่ 1 รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลละ 15,000 บาท
ลำดับที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 10,000 บาท
ลำดับที่ 3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 5,000 บาท
ลำดับที่ 4 รางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 2,000 บาท
4.2 ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
ลำดับที่ 1 รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลละ 15,000 บาท
ลำดับที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 10,000 บาท
ลำดับที่ 3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 5,000 บาท
ลำดับที่ 4 รางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 2,000 บาท
4.3 ประเภทภาพถ่ายวัตถุในระบบสุริยะ
ลำดับที่ 1 รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลละ 15,000 บาท
ลำดับที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 10,000 บาท
ลำดับที่ 3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 5,000 บาท
ลำดับที่ 4 รางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 2,000 บาท
4.4 ประเภทภาพถ่ายวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
ลำดับที่ 1 รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลละ 15,000 บาท
ลำดับที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 10,000 บาท
ลำดับที่ 3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 5,000 บาท
ลำดับที่ 4 รางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 2,000 บาท
4.5 ประเภทปรากฏการณ์ในบรรยากาศโลก
ลำดับที่ 1 รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศจากฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลละ 15,000 บาท
ลำดับที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 10,000 บาท
ลำดับที่ 3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 5,000 บาท
ลำดับที่ 4 รางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตร รางวัลละ 2,000 บาท
5. วิธีการส่งภาพเข้าประกวด
5.1 ส่งด้วยตัวเองได้ที่
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้น 3 อาคารเชียงใหม่ศิริพานิช เลขที่ 191 ถ. ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ. เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
สามารถส่งภาพเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2555
หมายเลขโทรศัพท์ 0-5322-5569
หมายเลขโทรสาร 0-5322-5524
ติดต่อสอบถาม คุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
5.2 ส่งทางไปรษณีย์โดยวงเล็บมุมซองว่า โครงการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2555 “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” ตามที่อยู่ข้างต้น
5.3 สถาบันฯจะเปิดรับภาพถ่ายเข้าร่วมประกวด ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2555
ดาวน์โหลด : กติกา + ใบสมัคร
เผยแพร่ : ContestWar
- Log in to post comments