โครงการประกวดการประดิษฐ์ด้านการเกษตร สำหรับนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ ปี 2554
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เรียกชื่อย่อว่า “สวก.” เปิดเวทีแข่งขัน ประกวดแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของคนในสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสหรือเวทีให้คนรุ่นใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดผลงานการประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และสามารถดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้ ตลอดจนมีโอกาสในการพัฒนาโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสานักงานฯ ด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อเปิดเวทีให้เยาวชนไทยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดค้น และพัฒนาการประดิษฐ์ด้านการเกษตร
- เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดผลงานการประดิษฐ์ทางการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง
- เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยแม่พิมพ์ ผู้สร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ทางด้านงานวิจัยการเกษตร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศด้านการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งเป็นเวทีให้เยาวชนไทยสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดค้น และพัฒนาการประดิษฐ์ด้านการเกษตร
- เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดผลงานการประดิษฐ์ทางการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง
- เป็นการเพิ่มเครือข่ายนักวิจัย/งานวิจัยการเกษตรของสานักงาน
- ได้เสริมสร้างและพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม (Term Work) ของเยาวชน
กลุ่มเป้าหมาย
สถาบันการศึกษาส่งผลงานการประดิษฐ์ด้านการเกษตรฯ ประเภทบุคคลหรือทีม ๆ ละไม่เกิน 3 คน โดยผู้ที่ส่งผลงานการประดิษฐ์ฯ เข้าประกวดจะต้องยังศึกษาอยู่ในหน่วยงาน/สถาบันนั้น ณ วันที่ปิดรับสมัคร แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- ระดับนักเรียนอาชีวศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ระดับ ปวช.
- ระดับนักเรียนอาชีวศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ระดับ ปวส.
- ระดับนิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักเกษตรพาณิชย์ สานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ขั้นตอนการดำเนินงาน (ระยะเวลาดำเนินการ)
- จัดทำโครงการประกวดการประดิษฐ์ด้านการเกษตรฯ กุมภาพันธ์ 2554
- แต่งตั้งคณะทำงานจัดการประกวดการประดิษฐ์ด้านการเกษตรฯ มีนาคม 2554
- ประชุมคณะทำงาน มีนาคม 2554
- ประกาศรับสมัคร 1 เม.ย. - 15 มิ.ย. 2554
- หมดเขตการรับสมัคร 15 มิถุนายน 2554
- ประกาศผลคัดเลือกโครงงาน เบื้องต้น 30 มิถุนายน 2554
- จัดแสดงและนำเสนอการประดิษฐ์ฯ ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน 8 กรกฎาคม 2554
- ประกาศผลและมอบรางวัล โล่ และเกียรติบัตรแก่ผู้ชนะการแข่งขัน 15 กรกฎาคม 2554
- จัดแสดงและนำเสนอผลงานการประดิษฐ์ฯ ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน กันยายน 2554
รอบสุดท้าย (รางวัลสุดยอดการประดิษฐ์)
รายละเอียดและกติกาการจัดการแข่งขัน
คุณสมบัติผู้แข่งขัน
- มีสัญชาติไทย
- กำลังศึกษาอยู่ในระดับนักเรียนอาชีวศึกษา (ระดับ ปวช.), ระดับนักเรียนอาชีวศึกษา (ระดับ ปวส. ) และระดับนิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) โดยนับถึงวันปิดรับสมัคร
- สามารถส่งผลงานการประดิษฐ์ฯ ได้ทั้งบุคคลหรือเป็นทีมๆ ละไม่เกิน 3 คน โดยผ่านการรับรองและให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนจะต้องกาลังศึกษาอยู่ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.) และนิสิตนักศึกษาต้องกำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย
ข้อกำหนด
1. เป็นผลงานการประดิษฐ์ของนักเรียน/นักศึกษา ที่เกิดจากจากการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงานนักศึกษา หรือประดิษฐ์ขึ้นเองหรือดัดแปลงต่อยอดจากผลงานเดิม หรือเป็นผลงานการประดิษฐ์ที่ผู้ส่งเข้าประกวดคิด ค้นโดยพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้หลักการทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา ซึ่งผลงานที่จะส่งเข้าประกวดจะต้องยังไม่เคยได้รับรางวัลมาก่อน หรือถ้าเคยได้รับรางวัลมาก่อน จะต้องมีการพัฒนาต่อยอดจากเดิมอย่างชัดเจน
2. ผลงานการประดิษฐ์ใน ข้อ 1 จะต้องเป็นผลงานการประดิษฐ์ด้านการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร สามารถแก้ปัญหาคอขวดในธุรกิจ หรือที่เกี่ยวกับการลดการใช้พลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
3. มีหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
4. ไม่จำกัดจำนวนในการส่งผลงานการประดิษฐ์ฯ ของแต่ละหน่วยงาน/สถาบัน
5. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
เกณฑ์การตัดสิน
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ และความแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
2. มีหลักการ/แนวคิดในการประยุกต์ใช้ฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปสู่การผลิตได้จริง ในระดับเชิงพาณิชย์และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร
4. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถแก้ปัญหาคอขวดในธุรกิจเกษตร หรือที่เกี่ยวกับการลดการใช้พลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในภาคการเกษตร
วิธีรับสมัคร
ผู้สนใจส่งผลงานการประดิษฐ์ด้านการเกษตรเข้าประกวด จะต้องส่งใบสมัครพร้อมไฟล์นาเสนอโครงงานในลักษณะสรุปสาระสาคัญ (Executive Summary) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก และ Email address
2. ชื่อสถาบัน ตำแหน่ง อายุ
3. ชื่อผลงาน
4. แนวความคิดที่แสดงถึงความใหม่หรือความแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
5. หลักการทำงาน
6. วิธีการประดิษฐ์
7. การใช้ประโยชน์
8. ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
9. แผ่น VCD ซึ่งแสดงภาพเคลื่อนไหวของการทางาน และมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการประดิษฐ์ด้านการเกษตรให้ชัดเจน
ความยาว หัวข้อที่ 1 – 8 ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4
ทั้งนี้ให้ส่งไปยัง E-mail : natkhamon@gmail.com หรือ
ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์พร้อมกรอกรายละเอียดใบสมัครให้ชัดเจนไปยัง
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 (วงเล็บมุมซองว่า ส่งเอกสารรายละเอียดการประกวดการประดิษฐ์ฯ) ทั้งนี้ คณะกรรมการจะถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสาคัญ
สามารถดูรายละเอียดและ download แบบฟอร์มใบสมัครได้ที่
http:// www.arda.or.th หรือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณณัฐกมล นพเก้า สานักเกษตรพาณิชย์
E-mail : natkhamon@gmail.com
โทรศัพท์ 0-2579-7435 ต่อ 3312
โทรสาร 0-2579-9803
สถานที่แข่งขัน
ณ สานักพิพิธภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะกรรมการตัดสิน
ที่ปรึกษา สวก. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวก. ผู้แทนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
ลักษณะของการประกวดการประดิษฐ์ด้านการเกษตรฯ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ส่งโครงงาน/โครงร่างการประดิษฐ์ด้านการเกษตรฯ เข้ามายังสานักงาน โดยกาหนดให้จัดส่งข้อเสนอโครงการ จานวน 1 ชุด หรือส่งไฟล์ข้อมูลในรูปแบบ PDF และแผ่น VCD เข้ามาให้คณะกรรมการพิจารณาก่อน (ระยะเวลา 6-7 สัปดาห์) เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงงาน/โครงร่างเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 2 ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในเบื้องต้น จัดทำและส่งผลงานการประดิษฐ์ด้านการเกษตรพร้อมกับนาเสนอผลงานการประดิษฐ์ด้านการเกษตร ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน (ระยะเวลา 1 สัปดาห์)
หมายเหตุ : แผ่น VCD ต้องมีรายละเอียดประกอบทั้ง 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีภาพเคลื่อนไหวของการทางานของผลงานการประดิษฐ์ฯ ให้ชัดเจน
2. ต้องมีรายละเอียดอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างการประดิษฐ์ฯ ให้ชัดเจน
รางวัลสาหรับผู้ชนะการประกวด
ผู้ที่ชนะการแข่งขันทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.) และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) แบ่งออกเป็น 9 รางวัล ดังนี้
1. ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.):
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 30,000.- บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
- รางวัลรองชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10,000.-. บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
- รางวัลชมเชย ได้รับโล่เกียรติยศ
2. ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.):
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 40,000.- บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
- รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 15,000.-. บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
- รางวัลชมเชย ได้รับโล่เกียรติยศ
3. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี):
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 50,000.- บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
- รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 20,000.-. บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
- รางวัลชมเชย ได้รับโล่เกียรติยศ
หมายเหตุ : ผู้ที่ส่งผลงานการประดิษฐ์ฯ เข้าประกวดจะได้รับเกียรติบัตรทุกราย
รางวัลสุดยอดการประดิษฐ์
รางวัลสุดยอดการประดิษฐ์ ได้รับเงินรางวัล 100,000.- บาท
ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศทั้ง 3 ระดับ มีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนจาก สวก. เพื่อพัฒนาต่อยอดผลงานการประดิษฐ์ฯ และเสนอ สวก. เพื่อชิงรางวัลสุดยอดการประดิษฐ์เป็นเงินสดมูลค่า 100,000.- บาท นอกจากนี้การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดนั้น สวก. จะมอบผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา / หน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้ ผลงานการประดิษฐ์ฯ ดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คลอบคลุมทั้ง 3 ด้านตามที่กาหนดไว้ ดังต่อไปนี้
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ และแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
- เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนาไปสู่การผลิตได้จริงในระดับเชิงพาณิชย์
- มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในการนาไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในภาคเกษตร
- สามารถดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
เงื่อนไขการรับทุนสนับสนุนจาก สวก.
- ผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวก. เพื่อพัฒนาต่อยอดผลงานการประดิษฐ์ฯ จะได้รับทุนสนับสนุนในวงเงินไม่เกินผลงานละ 30,000 บาท
- หากผลงานการประดิษฐ์ได้รับการจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฯ แล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภทถือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประดิษฐ์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
เผยแพร่ : http://contestwar.com
- Log in to post comments