^ Back to Top

ประกวดผลงานวิจัย "รางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา" ประจำปี 2567

ประกวดผลงานวิจัย "รางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา" ประจำปี 2567

คุรุสภา ขอเชิญนิสิต นักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัย "รางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา" ประจำปี 2567 ชิงรางวัล "ผลงานวิจัยของคุรุสภา"

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ใช้กระบวนการวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและเป้าหมายการพัฒนา
  • เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการสําหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้าง การใช้ และการเผยแพร่ผลงานวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มีคุณค่าทางวิชาการและมีคุณภาพสําหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการศึกษา และการพัฒนาวิชาชีพ ที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืน
  • เพื่อยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยอย่างมีคุณภาพและคุณค่าทางวิชาการเป็นแบบอย่างของการประยุกต์หรือต่อยอดเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

ผู้มีสิทธิ์ส่ง "ผลงานวิจัยของคุรุสภา"

  • ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือเอกสารอื่นที่คุรุสภาออกให้ และต้องปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่จัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและต่ํากว่าระดับปริญญาตรี ทั้งของรัฐ และเอกชน หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ หรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานทางการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด และศึกษาธิการภาค ตามใบอนุญาตที่ได้รับ
  • นิสิต นักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี ทั้งของรัฐและเอกชน หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้

ลักษณะของผลงานวิจัยที่ส่งเข้ารับการคัดสรร

  • เป็นผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และสามารถนําไปแก้ปัญหาการปฏิบัติงานหรือสร้างสรรค์วิชาชีพทางการศึกษา
  • เป็นผลงานวิจัยที่ทําแล้วเสร็จในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๗
  • ไม่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือรายงานใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการขอรับปริญญาหรือการผ่านหลักสูตรการอบรมใด ๆ
  • ไม่เป็นผลงานวิจัยที่เคยได้รับรางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภามาก่อน เว้นแต่เป็นผลงานวิจัยที่ทําขึ้นใหม่โดยได้มีการต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้จากผลงานวิจัยเดิม
  • ไม่เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนจากคุรุสภา หรือหน่วยงานอื่น
  • ไม่เป็นผลงานวิจัยที่คัดลอกมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่นหรือตนเอง หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ของผู้อื่นที่ปราศจากการอ้างอิง ทั้งนี้ ผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการคัดสรรจะถูกนําไปตรวจสอบการคัดลอกด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยกําหนดเกณฑ์สัดส่วนการคัดลอกในบทที่ ๑ - ๕ ไม่เกินร้อยละ ๒๐ หากมีการร้องเรียน และสํานักงานเลขาธิการคุรุสภาตรวจสอบพบว่าเป็นผลงานวิจัยที่คัดลอกมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาจะตัดสิทธิ์การส่งผลงานเข้ารับการคัดสรร และการรับรางวัลใด ๆ หรือเรียกคืนรางวัลในกรณีที่ได้รับรางวัลไปแล้ว
  • กรณีผลงานวิจัยที่ทําเป็นคณะหรือมีผู้ร่วมวิจัย ผู้ส่งผลงานวิจัยต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามด้านบน และต้องเป็นผู้วิจัยหลักและมีสัดส่วนการทําวิจัยไม่น้อยกว่า ๕๐% โดยต้องระบุสัดส่วนร้อยละและหัวข้อหรือหน้าที่ของการทําวิจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณสัดส่วนการทําวิจัยของผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัยทุกคนอย่างชัดเจน (รวมกันไม่เกิน ๑๐๐%) พร้อมทั้งมีการลงนามรับรองสัดส่วนร้อยละ จากผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัยทุกคน ตามแบบที่กําหนด กรณีมีผู้ร่วมวิจัยรายใดไม่สามารถลงนามในแบบดังกล่าวได้ด้วยเหตุสุดวิสัย เช่น เสียชีวิตไปแล้ว หรือไม่สามารถติดต่อได้ หรือเหตุสุดวิสัยอื่น ต้องให้ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสถานศึกษาหรือหัวหน้าหน่วยงาน ของบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ลงนามแทน

กำหนดระยะเวลา

  • ส่งผลงานวิจัยได้ระหว่างวันที่ 4 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์ 2567
  • ตรวจสอบรายชื่อผลงานที่ส่งเข้าร่วมคัดสรรได้ภายในวันที่ 28 มีนาคม 2567
  • ประกาศผลการคัดสรรผลงานวิจัย "ระดับภูมิภาค" ภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2567
  • ประกาศผลการคัดสรรผลงานวิจัย "ระดับประเทศ" ภายในวันที่ 27 กันยายน 2567 ผ่านทางเว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th

ประเภทรางวัล "ผลงานวิจัยของคุรุสภา"

  • รางวัลผลงานวิจัยระดับภูมิภาค
    • รางวัลผลงานวิจัยระดับภูมิภาค มี ๓ ระดับ ได้แก่
      • ระดับดีเด่น หมายถึง ผลงานวิจัยที่มีคะแนนรวมระหว่าง ๔๒.๕๐ - ๕๐.๐๐ คะแนน
      • ระดับดี หมายถึง ผลงานวิจัยที่มีคะแนนรวมระหว่าง ๔๐.๐๐ - ๔๒.๔๙ คะแนน
      • ระดับชมเชย หมายถึง ผลงานวิจัยที่มีคะแนนรวมระหว่าง ๓๗.๕๐ - ๓๙.๙๙ คะแนน
    • ผลงานวิจัยระดับดีเด่นและระดับดี จะต้องนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) (ผ่านระบบ Teleconference Applications) เพื่อรับการพิจารณาคัดสรรจากคณะกรรมการคัดสรรผลงานวิจัย ของคุรุสภาให้เป็น "ผลงานวิจัยระดับประเทศ" ต่อไป
    • การตัดสินของคณะกรรมการไม่จํากัดจํานวนผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพผลงานวิจัยระดับภูมิภาคที่คุรุสภากําหนด
  • รางวัลผลงานวิจัยระดับประเทศ
    • รางวัลผลงานวิจัยระดับประเทศ มี ๓ ระดับ ได้แก่
      • ระดับดีเด่น หมายถึง ผลงานวิจัยที่มีคะแนนรวมระหว่าง ๙๐.๐๐ - ๑๐๐.๐๐ คะแนน
      • ระดับดี หมายถึง ผลงานวิจัยที่มีคะแนนรวมระหว่าง ๘๔.๕๐ - ๘๙.๙๙ คะแนน
      • ระดับชมเชย หมายถึง ผลงานวิจัยที่มีคะแนนรวมระหว่าง ๘๐.๐๐ - ๘๔.๔๙ คะแนน
    • การตัดสินของคณะกรรมการไม่จํากัดจํานวนผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตาม เกณฑ์คุณภาพผลงานวิจัยระดับประเทศที่คุรุสภากําหนด

ติดต่อสอบถาม

  • โทรศัพท์ 0 2280 6366
  • ไลน์แอดที่ @828rufyq
File attachments: 
Deadline: 
04 Jan 2024 08:30 to 08 Feb 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.