ประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม "TSU Inventor Award 2023"
มหาวิทยาลัยทักษิณ ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษา และนักศึกษาปริญญาตรี-ปริญญาโท ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม "TSU Inventor Award 2023" ชิงเงินรางวัล
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านการวิจัยและนวัตกรรมได้ใช้ศักยภาพในการสร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ
- เพื่อพัฒนากลไกการเชื่อมโยงเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นให้เข้าสู่เส้นทางอาชีพด้านการวิจัยและนวัตกรรมในภาคการผลิต บริการสังคม และชุมชน
- เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีเวทีนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อนําไปสู่การแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ
ระดับการประกวด
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย
- ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย)
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)
กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือการ ออกแบบพัฒนาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในด้านทรัพยากรพืช ทรัพยากรสัตว์ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ําเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ระบบเกษตร ทรัพยากรดิน ธุรกิจการเกษตร วิศวกรรมและ เครื่องจักรกลการเกษตร สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีการเกษตร (Agri tech) เป็นต้น
- ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบ พัฒนาและสร้างเพื่อส่งเสริมและมุ่งหมายในการป้องกันการเกิดโรค ดูแลรักษา และบําบัดโรค การตรวจสอบ และวินิจฉัยโรคการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและประชากร เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Products) สมุนไพร เทคโนโลยี สุขภาพ (Health tech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Medi tech) และสปา เป็นต้น และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็น ผลิตภัณฑ์หรือการออกแบบพัฒนาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในด้านการแปรรูป กระบวนการผลิตอาหาร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตหรือใช้เพื่อสุขอนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีอาหาร (Food tech)เครื่องสําอาง อาหารสําเร็จรูป เครื่องปรุงรสอาหาร อาหารเสริม เป็นต้น
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ เป็นการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ทั้งเชิง Software และ Hardware ที่นํามาใช้ประโยชน์ในงานด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี อุตสาหกรรมทุกประเภท ทั้งที่ใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบันและอนาคต การปรับปรุงกระบวนการผลิต สภาวะแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robo tech) เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์ โดยไม่ต้องใช้คน (IOT) และเทคโนโลยีการศึกษา (Ed tech) เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบ พัฒนาและสร้างเพื่อการแก้ไขและฟื้นฟู บํารุงรักษา ปรับปรุงคุณภาพและตรวจวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก การตรวจวัด การอนุรักษ์พลังงาน และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น การกําจัดขยะ มลพิษทางอากาศ น้ําเน่าเสีย เซ็นเซอร์ทางสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การผลิตพลังงาน จากธรรมชาติโซล่าเซลล์ พลังงานจากขยะ นวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงาน และพลังงานรูปแบบใหม่ เป็นต้น
- ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความคิดสร้างสรรค์ มาออกแบบพัฒนาและสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อการดํารงชีวิตประจําวัน เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ การออกแบบเครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องประดับ สื่อมัลติมีเดีย สื่อการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ สําหรับทุกระดับการศึกษาและชุมชน การออกแบบศิลปะและงานประยุกต์ศิลป์อื่นๆ เทคโนโลยีการออกแบบ (Design tech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Travel tech) รูปแบบ การท่องเที่ยว และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) เป็นต้น
คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวด
- เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นิสิต/นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
- เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจะนําไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายในการนําไปใช้ จริง (หากผลงานประดิษฐ์คิดค้นมีผู้ใช้ประโยชน์ หรือผู้ใช้บริการที่ชัดเจน สามารถแนบหลักฐาน เพื่อประโยชน์ ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ)
- เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ หรือการปรับปรุง มีความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน ใช้วัสดุในการประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับผลงานมีการนําองค์ความรู้จากการวิจัย หรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้หรือสนับสนุนการประดิษฐ์ ค้นคว้า
- ต้องไม่เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้อื่น ทั้งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เสนอ ผลงานที่เข้าร่วมประกวด
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์หากเคยได้รับรางวัลจากการประกวดจาก วช. หรือ จากหน่วยงานอื่น ๆ มาก่อนแล้วจะต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยระบุให้เห็นข้อแตกต่างที่ชัดเจน (การได้รับรางวัลหนึ่งรางวัลใดมาก่อน จะไม่มีผลต่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ ซึ่งคณะกรรมการฯ จะพิจารณาจากการพัฒนาต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ดีขึ้นเป็นสําคัญ)
ระยะเวลาในการดําเนินงาน
- เปิดรับสมัครเสนอผลงานตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 15 กรกฏาคม 2566
- ประกาศผลการพิจารณารอบคัดเลือกวันที่ 20 กรกฏาคม 2566
- การพิจารณารอบตัดสิน ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 ในงาน TSU Innovation Fair 2023 นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคม โดยผลงานที่ผ่านเกณฑ์ในรอบคัดเลือกจะต้องนําผลงานเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน "TSU Innovation Fair 2023" เพื่อนําเสนอผลงานต่อคณะกรรมการฯ ทั้งนี้ ผลงานใดที่ไม่สามารถเข้าร่วม กิจกรรมได้จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมประกวด
เอกสารประกอบการเสนอผลงานเข้าร่วมประกวดฯ
- แบบเสนอผลงานฯ ให้จัดพิมพ์รายละเอียดของผลงานให้เรียบร้อยตามความเหมาะสม ตามหัวข้อ ในแบบเสนอผลงานฯ ที่กําหนด และตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผลงาน Save เป็นไฟล์ Word และ PDF
- Infographic สรุปผลงานประดิษฐ์ จํานวน 1 หน้า ขนาด A4 โดยสรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง ข้อมูลผลงานให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีความน่าสนใจ ออกแบบได้ตามความสวยงามและความเหมาะสม ประกอบด้วย
- โลโก้หน่วยงาน
- ชื่อผลงานที่ตรงตามแบบเสนอ
- รูปภาพผลงานภาพสีที่ชัดเจน
- เทคโนโลยีของผลงานที่ได้พัฒนาขึ้น
- ประโยชน์ของผลงานประดิษฐ์
- ชื่อหน่วยงาน + เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ + อีเมลที่ติดต่อได้ และ ตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผลงาน Save เป็นไฟล์ JPG หรือ PNG
การพิจารณาตัดสินให้รางวัล
- รอบคัดเลือก
สถาบันวิจัยและพัฒนาโดยคณะกรรมการด้านวิชาการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกจากเอกสารที่เสนอผลงานเข้าร่วมประกวด infographic - รอบตัดสิน
สถาบันวิจัยและพัฒนาโดยคณะกรรมการประเมินผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม "TSU Inventor Award 2023" พิจารณาผลงานที่ผ่านเกณฑ์ในรอบคัดเลือกโดยการพิจารณาผลงานจากชิ้นงานจริงตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กําหนด
หมายเหตุ ผลการตัดสินของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้เป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้ และหากพบหลักฐานในภายหลังว่าผลงานที่ได้รับรางวัลขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ อาจพิจารณาเพิกถอนผลการตัดสินและเรียกคืนรางวัล ที่รับไปแล้วทั้งหมด
หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล
- ความเป็นที่ต้องการ : เป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาสําคัญหรือเป็นผลงาน ที่สอดคล้องกับความจําเป็นหรือความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่น หรือสาธารณะ
- ความแปลกใหม่ : เป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการ ทํางานใหม่ให้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ผลงานมีความโดดเด่นน่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจาก สิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน
- ความยากง่าย : โดยวัดจากระดับของการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานประดิษฐ์คิดค้น อย่างเดียวกัน หรือ ในวิทยาการเดียวกัน และพื้นความรู้ความสามารถของผู้ประดิษฐ์ในระดับเดียวกัน
- ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ : วัสดุที่ใช้เหมาะสม ประหยัด มีความคงทนแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- การใช้ประโยชน์: เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต อุตสาหกรรม หรือพาณิชย์ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามที่กําหนดไว้ใน คุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์นั้น มีระบบการทํางาน ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง หรือสามารถ นําไปพัฒนาต่อเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ได้ด้วย และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะมีประโยชน์มากในอนาคต
รางวัลการประกวด
แบ่งการให้รางวัลออกเป็นแต่ละระดับและแต่ละกลุ่มเรื่อง ตามเกณฑ์คะแนน ของคณะกรรมการฯ ในแต่ละระดับและแต่ละกลุ่มเรื่อง โดยจะได้รับ ถ้วยรางวัลพร้อม เกียรติบัตร และเงินรางวัล
- ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย)
- รางวัลชนะเลิศ 5,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 4,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 3,000 บาท
- ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)
- รางวัลชนะเลิศ 7,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 6,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 5,000 บาท
ติดต่อสอบถาม
- กลุ่มภารกิจบริหารผลผลิต ทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดนวัตกรรม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ
- คุณพิมพ์ณดา มณีวงค์ และคุณสิทธิกร แซ่หล่อ โทร 0 7460 9600 ต่อ 7253,7247 (ในวันและเวลาราชการ)
- E-mail : tlo.researchtsu@gmail.com