^ Back to Top

แข่งขันสร้างแอปพลิเคชัน "Chula Smart Campus Future Energy IoT APP Contest"

แข่งขันสร้างแอปพลิเคชัน "Chula Smart Campus Future Energy IoT APP Contest"

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมปลาย และนิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันสร้างแอปพลิเคชัน "Chula Smart Campus Future Energy IoT APP Contest" ชิงเงินรางวัลรวม 100,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในการนำข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและข้อมูลคุณภาพอากาศที่มาจากอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ ภายในเมืองหรือชุมชน มาพัฒนาสร้างเป็นโปรแกรมประยุกต์หรือแอพพลิเคชัน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน รวมถึงเพื่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบสนองนโยบายเมืองอัจฉริยะได้ในอนาคต

ผู้เข้าร่วมโครงการและคุณสมบัติ          
นักเรียนระดับมัธยมปลาย หรือ นิสิต นักศึกษา ทุกสาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา กำลังศึกษาอยู่ไม่เกินระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวนไม่เกิน 20 ทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 60 คน

ลักษณะกิจกรรมและเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน

  • ผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน ส่งใบสมัครแบบทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน  พร้อมเอกสารแสดงแนวคิดการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชันที่น่าสนใจ สำหรับโครงการ Chula Smart Campus เช่น  Data analytics, Data visualization, Chatbot และ อื่น ๆ นำเสนอด้วยวิดีโอความยาวไม่เกิน 3 นาที ประกอบด้วย หัวข้อ
    • ที่มาและความสำคัญของปัญหา (pain point)
    • แนวทางการพัฒนาคำตอบ (conceptual solution)
    • ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล หรือการออกแบบหน้าจอแสดงผล หรือส่วนต่อประสาน (User Interface) /ส่วนที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (User Interaction)
    • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (expected benefit)
  • คณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่ผ่านการพิจารณา จำนวน 20 ทีม จากคุณสมบัติของทีมผู้สมัครและจากวิดีโอนำเสนอในข้อ 1) เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบแรก
  • ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ทีม จะได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ตรวจวัด การจัดเก็บ และการแสดงผลในโครงการ Chula Smart Campus
  • ทีมผู้เข้าแข่งขัน จะมีเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ในการออกแบบและนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาแอพพลิเคชัน ต่อยอดจากที่โครงการแสดงไว้ โดยใช้ข้อมูลที่ตรวจวัด นำเสนอผ่านสื่อคลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 7 นาที ส่งคลิปวิดีโอดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
  • คณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่ผ่านการพิจารณาจำนวน 10 ทีม เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบสุดท้าย
  • ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีม ในรอบสุดท้าย จะได้เข้ารับการอบรมรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลที่ทางผู้จัดงานจัดเตรียมไว้ให้แล้ว โดยเป็นข้อมูลจาก IoT Devices ที่ติดตั้งในโครงการ Chula Smart Campus ที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 3)
  • ผู้จัดงานเปิดให้ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีม สุดท้าย เข้าถึงข้อมูลและเริ่มดำเนินการพัฒนาแอพพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ โดยมีระยะเวลาประมาณ 10 วัน จากนั้น แต่ละทีมส่งผลงานขั้นต่ำในรูปแบบ Rapid Prototype ของแอพพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น โดยส่งผลเป็น Github link
  • ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอผลงาน/สาธิตการทำงานของซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน ในการนำเสนอครั้งสุดท้าย โดยมีเวลาในการนำเสนอ/สาธิต รวมไม่เกิน 7 นาที และเวลาในการตอบคำถามคณะกรรมการอีกไม่เกิน 13 นาที สถานที่ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รายละเอียดห้องและอาคารจะแจ้งยืนยันให้ทราบภายหลัง) ในวันและเวลาที่กำหนด
  • คณะกรรมการประกาศผลการตัดสินรางวัลลำดับที่ 1 - 3 โดยคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

กำหนดระยะเวลา
เปิดรับสมัครและส่งผลงานถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2566

รางวัลการแข่งขัน (รวมเงินรางวัลทั้งสิ้นจำนวน 100,000 บาท)

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
  • ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จะได้รับประกาศนียบัตรจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

หมายเหตุ ผลงานที่ได้รับรางวัล และอาจรวมถึงผลงานอื่น ๆ จากทีมผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จะนำไปจัดแสดงไว้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions บนพื้นที่ Gewertz Square ต่อไปด้วย

ติดต่อสอบถาม

  • ธุรการภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 02-218-6490
  • Email: eeinfo@chula.ac.th

Total Prize Money: 
100,000 Baht
File attachments: 
Deadline: 
03 Jun 2023 08:30 to 24 Jun 2023 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.