ประกวดสื่อภูมิสารสนเทศ ครั้งที่ 5 : Geo-infomatics Media Contest 2016
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสื่อภูมิสารสนเทศ ครั้งที่ 5 : Geo-infomatics Media Contest 2016 ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวม 150,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศ จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเข้าร่วมการฝึกอบรมเทคนิคการสร้างสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ และ Space Inspirium อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
กำหนดระยะเวลา
รอบคัดเลือกเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 มิถุนายน 2559
รูปแบบของสื่อภูมิสารสนเทศ
- รอบที่ 1 : เปิดโอกาสให้แต่ละทีมที่สนใจเข้าร่วมการประกวดสร้างสื่อการเรียนการสอนที่ไม่จำกัดสาขาวิชา ในรูปแบบคลิปวีดีโอความยาวประมาณ 5-10 นาที เพื่อส่งเข้าร่วมคัดเลือกเป็นตัวแทนของภูมิภาค
- รอบที่ 2 : เป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ KML ที่เล่นบนโปรแกรม Google Earth เน้นการนำเสนอเรื่องราวและองค์ความรู้ด้วยแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียม เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เยาวชนมองปัญหาต่างๆในเชิงพื้นที่
- รอบที่ 3 (รอบชิงชนะเลิศ) : เป็นสื่อการเรียนการสอนไม่จำกัดสาขาวิชาในรูปแบบคลิปวิดีโอ ที่สามารถสอดแทรกด้วยภาพเคลื่อนไหวจากการถ่ายทำในภาคสนาม นำเสนอด้วยเทคนิคการตัดต่อ เพิ่มเอฟเฟคเสียงและอื่นๆ เพื่อทำให้ผลมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่ต้องมีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนที่และใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อหน้าคณะกรรมการ
กติกาการส่งสื่อเข้าประกวด
- ทีมที่เข้าประกวดต้องประกอบด้วย นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวนไม่เกิน 5 คน พร้อมอาจารย์ที่ปรึกษา จำวนทีมละ 1 คน โดยที่ 1 โรงเรียนสามารถส่งได้มากกว่า 1 ทีม
- ทีมที่เข้าประกวดต้องส่งคลิปวีดีโอสื่อการเรียนการสอนไม่จำกัดสาขาวิชา ความยาวประมาณ 5-10 นาที พร้อมรายละเอียดดังนี้
- ชื่อ ผลงาน / โรงเรียน / จังหวัด / อาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมเบอร์โทรศัพท์และ E-mail
- ชื่อสมาชิกทีมทุกคน / หน้าที่ /ชั้นปีการศึกษา /เบอร์โทรศัพท์
- หลักการและเหตุผลที่เลือกทำเนื้อหาดังกล่าว
ระดับการระกวด
- ระดับภูมิภาค (รอบที่ 1)
- การแข่งขันในระดับภูมิภาคนี้เปิดโอกาสให้แต่ละทีมที่สนใจเข้าร่วมการประกวดสร้างสื่อการเรียนการสอนที่ไม่จำกัดสาขาวิชา ในรูปแบบคลิปวีดีโอความยาวประมาณ 5-10 นาที และส่งไปยัง สทอภ. และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั่วประเทศ
ตรวจสอบรายละเอียดศูนย์ภูมิภาค - การคัดเลือกรอบแรก คณะกรรมการแต่ละศูนย์ภูมิภาคจะทำการคัดเลือก 3 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละศูนย์ฯ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมการสร้างสื่อภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ จ.ชลบุรี เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจะไม่เสียค่าใช้จ่ายและได้รับเงินสนับสนุนการสร้างสื่อทีมละ 3,000 บาท (ค่าใช้จ่ายการเดินทางมายังกทม. ค่าอาหารและค่าที่พัก สทอภ. เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด โดยวิทยากรการฝึกอบรมมาจาก สทอภ. และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ)
- การแข่งขันในระดับภูมิภาคนี้เปิดโอกาสให้แต่ละทีมที่สนใจเข้าร่วมการประกวดสร้างสื่อการเรียนการสอนที่ไม่จำกัดสาขาวิชา ในรูปแบบคลิปวีดีโอความยาวประมาณ 5-10 นาที และส่งไปยัง สทอภ. และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั่วประเทศ
- ระดับประเทศ
- การคัดเลือกรอบที่ 2 หลังจากฝึกอบรมการพัฒนาสื่อฯแล้ว แต่ละทีมต้องกลับไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนโปรแกรม Google Earth อาศัยเทคนิคการนำเสนอต่างๆ เพื่อให้สื่อมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และต้องส่งกลับมาที่ สทอภ. เท่านั้น เพื่อให้คณะกรรมการได้คัดเลือก โดยจะตัดสินเลือกเพียง 10 ทีม เข้าสู่รอบการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
- การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ผ่านเข้ารอบจำนวน 10 ทีม ต้องส่งตัวแทนจำนวนไม่เกิน 3 คน ทำการนำเสนอคลิปวิดีโอสื่อการเรียนการสอนบนเวทีความยาวประมาณ 7-10 นาที ต่อหน้ากรรมการจาก สทอภ.และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ พร้อมทั้งตอบคำถามจากคณะกรรมการ
การติดต่อและส่งผลงานไปยัง สทอภ. และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ทั่วประเทศ
- โรงเรียนในเขตภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ส่งที่
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ที่อยู่ : สำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน)
(บางเขน) 196 ถนน พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 0-2561-4504-5 ต่อ 431 โทรสาร : 0-2561-4503 - โรงเรียนในเขตภาคเหนือตอนบน ส่งที่
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่อยู่ : ศูนย์ภูมิภาคฯ ภาคเหนือ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202
โทรศัพท์ : 053 943 580 โทรสาร : 053 943 580 - โรงเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง ส่งที่
สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่อยู่ : สถานภูมิภาคฯ ภาคเหนือตอนล่าง คณะเกษตร ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาคารมหาธรรมราชา โซน A
ห้อง TA 407.3 มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 055 968 707 โทรสาร : 055 968 807 - โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งที่
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่อยู่ : ศูนย์ภูมิภาคฯภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาคารศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์ : 043 202 742 โทรสาร : 043 202 743 - โรงเรียนในเขตภาคใต้ ส่งที่
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่อยู่ : ศูนย์ภูมิภาคฯ ภาคใต้ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
โทรศัพท์ : 074 286 873 โทรสาร : 074 429 955
ติดต่อสอบถาม
www.facebook.com/GMC.GISTDA
- Log in to post comments