ประกวดหนังสั้นความยุติธรรม หัวข้อ 108 เรื่องราวความยุติธรรม ชิงเงินรางวัลรวม 120,000 บาท
สำนักงานกิจการยุติธรรม เชิญชวน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป (ต้องเข้า Workshop ถึงมีสิทธิ์ส่งโครงเรื่องขยาย) ประกวดหนังสั้นความยุติธรรม หัวข้อ 108 เรื่องราวความยุติธรรม เพื่อต้องการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมได้ตระหนักและมองเห็นบทบาท หน้าที่ ความสำคัญของกระบวนการยุติธรรมต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับสังคม ชิงเงินรางวัลรวม 120,000 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร
• นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ไม่จำกัดคณะและวิชา
• ประชาชน บุคคลทั่วไป
• ทีมงานไม่เกิน 5 คน (ไม่รวมนักแสดง)
ขั้นตอนการรับสมัคร
1. สมัครเข้าร่วมโครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม
2. ลงทะเบียนสมัครเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม หัวข้อ “108 เรื่องราวความยุติธรรม”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- ทางอีเมล์ / E-mail njs_oja@hotmail.com
- www.facebook.com/justiceshortfilm
- โทรศัพท์ 02 141 3754, 02 141 3664
3. ประกาศรายชื่อทีมที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
ขั้นตอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
4. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการประกวดหนังสั้นความยุติธรรม หัวข้อ “108 เรื่องราวความยุติธรรม”
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม
- การถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ...สู่งานภาพยนตร์
- การค้นหาแรงบันดาลใจ การค้นหาไอเดีย
- การสร้างสรรค์หนังสั้น
- ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น
5. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กำหนด 2 วัน ณ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ
ขั้นตอนการส่งผลงาน
6. ทีมที่มีสิทธิ์ส่งโครงเรื่องขยาย (treatment) สมาชิกในทีมทั้งหมดจะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ทั้งทีมจะต้องส่งสมาชิกในทีมเข้าร่วม
7. การส่งโครงเรื่องขยาย (treatment) ความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4
8. กำหนดให้ 1 ทีมมีสิทธิ์ส่งโครงเรื่องขยาย (treatment) ได้ทีมละ 1 เรื่องเท่านั้น
9. ทีมงานต้องมีไม่เกิน 5 คน (ไม่รวมนักแสดง)
หมายเหตุ โครงเรื่องขยาย (treatment) คือการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่องย่อ (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์และการ
เขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
การตัดสินรอบแรก
10. กรรมการตัดสินโครงเรื่องขยาย (treatment) จะคัดเลือกผลงานให้เหลือ 10 ทีมสุดท้ายที่มีสิทธิ์รับทุนผลิตหนังสั้น จากสำนักงานกิจการยุติธรรม
11. ประกาศรายชื่อ 10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกเพื่อรับทุนสนับสนุนการผลิตหนังสั้น
การตัดสินรางวัลชนะเลิศ
12. การตัดสินรางวัลชนะเลิศ (โดยคณะกรรมการตัดสินรางวัลหนังสั้น ความยุติธรรม จำนวน 5 ท่าน
ประกอบด้วย อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ สื่อมวลชน ผู้กำกับหนังสั้น นักวิจารณ์)
13. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการประกาศผลรางวัลและมอบรางวัล
14. ประกาศผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศทาง
www.oja.go.th
www.facebook.com/justiceshortfilm
สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
15. มอบรางวัลผู้ชนะเลิศการประกวดหนังสั้นในงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 10 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพค เมืองทองธานี
16. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
เกณฑ์การตัดสินรางวัลและประเภทของรางวัล
เกณฑ์การตัดสินแบ่งเป็นสัดส่วนของแนวคิดหรือ Concept ในการนำเสนอ 50% ซึ่ง Concept หรือ เนื้อหาที่ใช้ในการนำเสนอนั้นต้องสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นสื่อหรือการรณรงค์ด้วยสื่ออื่นๆ ได้อีก โดยจะพิจารณาจาก Concept และ Main idea เป็นหลัก อีก 50% เป็นคะแนนของการนำเสนอผ่านหนังสั้น
- รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 50,000 บาท
- รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รองอันดับ 1 จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 30,000 บาท
- รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รองอันดับ 2 จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 20,000 บาท
- รางวัลความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอยอดเยี่ยม จะได้รับประกาศนียบัตร โล่เกียรติยศและเงินรางวัล 20,000 บาท
ทุนสนับสนุน
ทุนการศึกษาสนับสนุนการทำหนังสั้น จำนวน 10 ทุน ทุนละ 10,000 บาท
หมายเหตุ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
กติกาการส่งผลงาน
- เนื้อหาหนังสั้น ความยุติธรรม ภายใต้หัวข้อ “108 เรื่องราวความยุติธรรม”
- ผู้เข้าประกวดสามารถตั้งชื่อเรื่องตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับหัวข้อ (Theme) และเนื้อหา
- โครงเรื่องหนังสั้นที่นำเสนอต้องเป็นโครงเรื่องใหม่ ไม่เคยเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลใดมาก่อน และเป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดการอำนวยความยุติธรรมในสังคม
- การส่งเข้าประกวดแต่ละทีมมีสิทธิ์ได้รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียว
- ไม่จำกัดเทคนิคการถ่ายทำและรูปแบบวิธีการนำเสนอ
- จำกัดความยาวของภาพยนตร์ไม่เกิน 10 นาที
- ทีมงานต้องมีไม่เกิน 5 คน (ไม่รวมนักแสดง)
- การส่งผลงานให้จัดส่งในรูปแบบ DVD มาตรฐานที่สามารถเปิดรับชมจากเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้ จำนวน 2 แผ่น
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดในระดับใดมาก่อน
- ผลงานที่ได้รับรางวัลทุกเรื่อง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานกิจการยุติธรรม
- ผลงานหนังสั้นจะต้องใส่ LOGO ของสำนักงานกิจการยุติธรรม ในตอนท้ายเรื่อง (ห้ามใช้ภาพ อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือเพลงที่มีลิขสิทธิ์)
- ต้องให้ความเคารพต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่พาดพิง อันเป็นการจาบจ้วงล่วงละเมิดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจน บุคลากร สมาคม หรือองค์กรใดๆอันจะทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือขององค์กรใดๆ ตลอดจนไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรมจริยธรรมหรือหลักศาสนาใดๆ
- ไม่ใช้ถ้อยคำหรือการแสดงออกที่สื่อในทางหยาบคาย ดูหมิ่น เสียดสี นินทาว่าร้าย ยั่วยุสร้างความแตกแยกอย่างเด็ดขาด
- ไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
- ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิ์ผู้เข้าร่วมการประกวดได้ทันที โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ หากตรวจสอบพบว่าผู้เข้าร่วมประกวดไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกา หรือให้ข้อมูลใดอันเป็นเท็จ
- ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด และเงื่อนไขต่างๆ ของการประกวดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
โครงการประกวดหนังสั้นยุติธรรม หัวข้อ 108 เรื่องราวความยุติธรรม ปี 2
- ประกาศรับสมัครและลงเบียน Workshop (1-21 มิถุนายน 2555)
- Workshop (23-24 มิถุนายน 2555)
- ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านรอบแรก (15 กรกฎาคม 2555)
- รับทุนสนับสนุนและการถ่ายทำผลิตหนังสั้น (16-31 กรกฏาคม 2555)
- ประกาศผลรางวัล และพิธีมอบรางวัล (8 สิงหาคม 2554)
- กำหนดส่งผลงานรอบสอง (31 กรกฏาคม 2555)
- กรรมการคัดเลือกรอบแรก (5-14 กรกฎาคม 2555)
- กรรมการตัดสินรอบสอง (1 สิงหาคม 2555)
- ประกาศรายชื่อผู้ที่เข้าร่วม Workshop (22 มิถุนายน 2555)
- กำหนดส่งเค้าโครงเรื่องขยายหนังสั้น (4 กรกฎาคม 2555)
เผยแพร่ : http://contestwar.com
ดาวน์โหลด : กติกา ประกวดหนังสั้นความยุติธรรม
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น