ประกวด"เนื้อเรื่องด้านพลังงานสำหรับผลิตสื่อมัลติมีเดีย”
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญครู และบุคลากรทางการศึกษา ส่งผลงานเข้าประกวดสื่อการสอนด้านพลังงาน"เนื้อเรื่องด้านพลังงานสำหรับผลิตสื่อมัลติมีเดีย”
คำแนะนำประกอบการเขียนบทเพื่อผลิตแอนิเมชัน
การเขียนบท เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการผลิตสื่อและแอนิเมชัน โดยมีเนื้อหาที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อถึงผู้ชม โดยผู้เขียนบทที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาหรือรายวิชำ ย่อมสามารถออกแบบเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่จะต้องมีวิธีสื่อสารให้ผู้สร้างสื่อ ที่มีความเชี่ยวชาญทางเทคนิคการผลิต ให้มีความเข้าใจตรงกับเจ้าของเนื้อหา เพื่อให้ได้มาซึ่งสื่อที่มีคุณภาพ ทั้งยังจะต้องมีวิธีนำเสนอเนื้อหาเหล่านั้นให้ผู้ใช้สื่อรู้สึกสนใจ สนุกไปกับการเรียนรู้ด้วย
โดยประเด็นที่จะต้องทำความเข้าใจกันระหว่างผู้ออกแบบเนื้อหาและผู้ผลิตสื่อมีดังนี้
1. การกำหนดใจความสำคัญของเนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักของเรื่อง ควรเป็นประโยคสั้นๆ 1 ประโยค ที่ครอบคลุมเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ เช่น ไฟฟ้ามาจากไหน 10 วิธีประหยัดพลังงานในครัวเรือน วิธีผลิตไบโอแก๊สใช้เองในบ้าน
2. ตั้งชื่อเรื่องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา เช่น ใบปอจอมประหยัดพลังงาน ไบโอแก๊สในบ้านใบปอ
3. อธิยถึงรายละเอียดของเนื้อหา และกำหนดขอบเขตของเนื้อหาให้กระชับ เหมาะสม โดยอาจเริ่มจากกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของเรื่อง เช่น เริ่มต้นเรื่องด้วยการตั้งปัญหา : มีเด็กนักเรียนสงสัยว่าไฟฟ้าในบ้านมาจากไหน > ถามจากคุณครู > คุณครูอธิบายให้ฟัง > มีภาพประกอบเป็นเขื่อนและกังหันลม > มีเสาไฟฟ้าและสำยไฟส่งกระแสไฟฟ้ามาที่บ้าน > เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า > เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงาน > เด็กคนนั้นจึงเข้าใจ > จบ โดยอาจวาดเป็นแผนผังแสดงการลำดับเหตุการณ์ในเรื่องจากขั้นตอนขั้นต้น ผู้ออกแบบเนื้อหาจะสำมารถเห็นภาพ และกำหนดทิศทำงของเรื่องที่จะนำมาเขียนบทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. เขียนโครงเรื่องจากแผนผังข้างต้น อาจใช้ศิลปะเล่าเรื่องด้วยภาษาพูดเช่นเดียวกับการเล่านิทาน ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นประกอบด้วย ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอคือ ตัวละคร สถำนที่ และเวลา ซึ่งความยากง่ายจะขึ้นอยู่กับขอบเขตเรื่อง พยายามมองหาแรงบันดาลใจในการสร้างเรื่องให้ใกล้ตัว จะช่วยให้เขียนบทได้ง่าย โดยมีคำแนะนำดังนี้
- เล่าเรื่องอย่างกระชับ มีบทสนทนำไม่มาก ใช้คำไม่ฟุ่มเฟือย
- มีตัวละครหลักในการดำเนินเรื่อง และมีตัวละครประกอบไม่เกิน 5 ตัวละคร
- มีจุดเด่น หรือไคลแม็กซ์ ให้ผู้ชมรู้สึกร่วม เช่น การผูกปมปัญหาไว้ตอนต้นเรื่องแล้วคลายปมได้ในตอนจบ เช่น ไฟดับ > เกิดความเดือนร้อน > หาแหล่งพลังงาน > ไฟติด
- บรรยายสภาพบรรยากาศ โดยอาจพรรณนาภาพให้สามารถจินตนาการฉากตามได้ เช่น ในทุ่งนาเวลาพลบค่ำ
- บทสนทนาใช้ภาษาพูดปกติ โดยอาจอ้างอิงจากบุคลิกของตัวละคร มีการอธิบายท่าทางประกอบ เช่น ใบปอกระโดดด้วยความดีใจ(ใบหน้ายิ้มกว้ำง) แล้วตะโกนออกมาว่า “เย้! คุณพ่อกลับมาแล้ว” ใบปอยืนงอตัวแล้วเอามือทั้งสองข้างกุมท้อง “หิวจังเลยค่ะ”
- ในกรณีที่มีเสียงดังขึ้นในฉาก ให้ระบุด้วย เช่น กริ๊งงงงง เสียงออดพักเที่ยงดังขึ้น
- ติ๊งหน่อง ติ๊งหน่อง เสียงกริ่งประตูดังขึ้น 2 ครั้ง
- กำหนดเหตุการณ์ในเรื่องโดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นฉากๆ เช่น
- ฉากที่1 ใบปอปั่นจักรยานไปโรงเรียน
- สถานที่และบรรยากาศ : ระหว่างทางปั่นจักรยานไปโรงเรียน เป็นถนนเล็กๆมีต้นไม้และดอกไม้ทั้งสองข้างทาง อากาศสดใสแดดอ่อนๆยามเช้ำ
- ตัวละครที่ปรากฏ : ใบปอ เพื่อนร่วมทาง 1 เพื่อนร่วมทาง 2
- ความยาวของเนื้อหาแต่ละกไม่จำเป็นจะต้องเท่ำกัน งกอาจมีเพียงภาพแสดงบรรยากาศ เช่น หน้าบ้านของใบปอ มีสวนดอกไม้และกล่องจดหมาย
5. บทจะต้องมีความยาวพอที่จะครอบคลุมวัตถุประสงค์และแสดงใจความสำคัญได้อย่างชัดเจน โดยไม่ยาวเกินระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดไว้ คือ 3-5 นาที
6. เมื่อได้โครงเรื่องทั้งหมดแล้ว นำมาเขียนตามแบบฟอร์มที่คณะกรรมการกำหนด
7. อาจวาดภาพประกอบง่ายๆเพื่ออธิบายเรื่องราวหรือบรรยากาศในแต่ละฉากได้ง่ายขึ้น (ไม่มีผลต่อการตัดสินรางวัล)
การรับสมัคร
ส่งผลงานได้แตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 21 เมษายน 2557
ประกาศผลวันที่ 30 เมษายน 2557
หมายเหตุ:
1. ใบสมัครสามารถถ่ายเอกสารได้
2. การจัดส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวด
- โครงการจัดทาสื่อมัลติมีเดียด้านพลังงานแบบมีส่วนร่วม ตู้ ปณ.250 ปณฝ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202
- ทาง e-mail : eedp.001@gmail.com
- ทางโทรสาร 053 - 944146 ต่อ 431
3. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์: 084-2237876, 081-1318998
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น