^ Back to Top

ประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59

ประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59

มหาวิทยาลัยศิลปากร จะจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๙ ประจำปี ๒๕๕๖ จึงขอเชิญชวนท่านที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยความคิดของตนเอง ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโดยมีระเบียบการดังต่อไปนี้
๑. ประเภทศิลปกรรม มี ๔ ประเภท คือ
๑.๑ ประเภทจิตรกรรม (Painting) ได้แก่ ภาพเขียนสีน้า สีฝุ่น สีน้ามัน ฯลฯ
๑.๒ ประเภทประติมากรรม (Sculpture) ได้แก่ รูปปั้น สลัก ฯลฯ
๑.๓ ประเภทภาพพิมพ์ (Print making) ได้แก่ ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์หิน แม่พิมพ์โลหะ ผลงานศิลปะประเภท Monoprint ภาพพิมพ์จากกระบวนการพิมพ์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
๑.๔ ประเภทสื่อประสม (Mixed Media) ได้แก่ ผลงานศิลปกรรมที่ใช้กรรมวิธีทางวัสดุ ต่างๆ สื่อทางเทคโนโลยี และงานประเภทจัดวาง ฯลฯ

๒. ขนาดของผลงานศิลปกรรม
ผลงานศิลปกรรมทุกประเภทต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน ๒.๘๐ เมตร รวมกรอบและฐาน

๓. ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด
ศิลปินสัญชาติไทย ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยความคิดของตนเอง และผลงานที่ส่งเข้าประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติต้องไม่เคยประกวดและไม่เคยแสดงในการประกวดใดๆมาก่อน ศิลปิน ๑ ท่าน มีสิทธิ์ส่งผลงานได้ ประเภทละไม่เกิน ๓ ชิ้น โดยคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะเป็นผู้พิจารณาผลงานเข้าแสดงและพิจารณาให้รางวัลแก่ผลงานที่มีคุณค่าเหมาะสมตามแต่ละประเภทศิลปกรรมที่กาหนดไว้ในข้อ ๑

๔. การส่งผลงาน
ศิลปินจะต้องส่งผลงานด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนามาส่งต่อเจ้าหน้าที่ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ตามกาหนดเวลาในข้อ ๑๑ และต้อง กรอกรายละเอียดในแบบพิมพ์ ตามข้อกาหนดของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานประเภทที่มีการติดตั้ง ศิลปินต้องดาเนินการติดตั้งผลงานเองตามเวลาที่ประกาศ มหาวิทยาลัยศิลปากรจะรับผิดชอบและระวังรักษาผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากอุปัทวเหตุ หรือ เหตุอันสุดวิสัย

๕. คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน
มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอานวยการ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๙ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะจากสาขาต่าง ๆ มาเป็นคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ดังนี้
๑. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ กรรมการ
๒. อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี กรรมการ
๓. ศาสตร์เมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน กรรมการ
๔. ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน กรรมการ
๕. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก กรรมการ
๖. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง กรรมการ
๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร รอดบุญ กรรมการ
๘. รองศาสตราจารย์เข็มรัตน์ กองสุข กรรมการ
๙. รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม กรรมการ
๑๐. ผู้อานวยการหอศิลป์ เลขานุการ

๖. การตัดสิน
การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินถือว่าเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้

๗. รางวัล
คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสินจะตัดสินให้รางวัลแต่ละประเภท โดยกำหนดรางวัลดังนี้
๗.๑ กลุ่มที่ ๑ : รางวัลของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น ๓ ประเภทรางวัล
ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง เงินรางวัล ๑๕๐,๐๐๐.- บาท ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ ๒ เหรียญเงิน เงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐.-บาท
ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ ๓ เหรียญทองแดง เงินรางวัล ๘๐,๐๐๐.- บาท
คณะกรรมการอาจตัดสินให้รางวัลในแต่ละประเภท ให้ได้อันดับหนึ่ง อันดับสอง อันดับสามเกินกว่าหนึ่งรางวัล หรืองดรางวัลใดก็ได้ หากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีผลงานใดสมควรที่จะได้รับรางวัล นอกจากนี้คณะกรรมการฯ จะคัดเลือกผลงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าแต่ไม่ได้รับรางวัลเข้าแสดงอีกจานวนหนึ่งได้
๗.๒ กลุ่มที่ ๒ : รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย ( เงินรางวัล ๑,๐๐๐,๐๐๐.- บาท )
แบ่งเป็น ๒ ประเภทรางวัล
- รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย
รางวัลที่ ๑ รางวัลละ ๑๒๐,๐๐๐.- บาท พร้อมโล่รางวัล
- รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย
รางวัลที่ ๒ รางวัลละ ๘๐,๐๐๐.- บาท พร้อมโล่รางวัล
คณะกรรมการอาจตัดสินให้รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย ให้ได้อันดับหนึ่ง อันดับสอง เกินกว่าหนึ่งรางวัลก็ได้ หรือจะงดรางวัลใดก็ได้หากพิจารณาเห็นว่าไม่มีผลงานใดสมควรที่จะได้รับรางวัล

๘. กรรมสิทธิ์
๘.๑ งานศิลปกรรมที่ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
๘.๒ งานศิลปกรรมรางวัลสนับสนุน จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และ ไม่อยู่ในเงื่อนไข ในข้อ ๘.๑
๘.๓ ผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าร่วมแสดงในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้สนับสนุนรางวัล มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสูจิบัตร และเอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศสมัยใหม่ทุกประเภท

๙. ศิลปินชั้นเยี่ยม
เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาชนให้เกิดความสนใจในงานศิลปกรรมร่วมสมัย และกระตุ้นให้ศิลปินไทยมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานศิลปะอันมีคุณค่าและให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงกาหนดคุณสมบัติของศิลปินผู้ที่สมควรจะได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ดังนี้
๙.๑ ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทองครบ ๓ ครั้ง ในประเภทเดียวกัน
๙.๒ ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม เหรียญทอง ๒ ครั้ง กับเหรียญเงิน ๒ ครั้ง ในประเภทเดียวกัน

๑๐. ศิลปินรับเชิญ
มหาวิทยาลัยศิลปากร จะเชิญศิลปินส่งผลงานเข้าแสดงร่วมกับผลงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๕๘ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการประจาหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้คัดสรรและพิจารณา ศิลปิน ซึ่งศิลปินผู้ที่จะถูกรับเชิญจะต้องมีคุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๑๐.๑ เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม
๑๐.๒ เป็นคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ
๑๐.๓ เป็นศิลปินผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง ไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง หรือได้รับเหรียญเงินไม่น้อยกว่า
๒ ครั้ง และทางานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
๑๐.๔ ศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงในประเทศ หรือต่างประเทศ และทางานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

๑๑. กำหนดเวลา
๑๑.๑ การส่งงานทุกประเภท
วันจันทร์ที่ ๑๐ ถึง วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
จังหวัดนครปฐม
๑๑.๒ การคัดเลือกและตัดสินผลงาน วันเสาร์ที่ ๒๒ ถึง วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ คัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรมทุกประเภท ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
๑๑.๓ ประกาศผลการตัดสิน : วันอังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
๑๑.๔ การแสดงนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร
- ระหว่างวันพุธที่ ๔ กันยายน ถึงวันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ
- ระหว่างวันพุธที่ ๔ กันยายน ถึงวันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
ณ ชั้น ๙ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
๑๑.๕ การแสดงนิทรรศการในส่วนภูมิภาค
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
- ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ณ สานักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- ณ หอศิลปจาปาศรี สานักวิทยบริการอาคาร B มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
ภาคใต้และภาคตะวันออก
- ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี - ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี
- ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
๑๑.๖ การรับงานคืน
- ผลงานที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง
รับคืนได้ในระหว่างวันจันทร์ที่ ๔ ถึง วันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง เวลา ๑๖.๐๐ น. เว้นวันหยุดราชการ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
- ผลงานที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดงในส่วนภูมิภาค
รับคืนได้ในระหว่างวันจันทร์ที่ ๗ ถึง วันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๐๐ น.ในวันและเวลาราชการ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
- ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดงในส่วนภูมิภาค
รับคืนได้หลังจากสิ้นสุดการแสดงในส่วนภูมิภาคแล้ว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๐ ถึง วันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
การส่งและการรับคืนผลงาน ให้ดาเนินการในวันและเวลาที่กาหนดในข้อ ๑๑.๖ หากผลงานศิลปกรรมชิ้นใดศิลปินผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่มารับคืนภายในวัน และเวลาที่กาหนดไว้ในข้อ ๑๑.๖ มหาวิทยาลัยฯ จะเก็บค่ารักษาผลงานใน อัตราค่าเก็บรักษาผลงาน เป็นเงิน ๑๐๐.- บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน) ต่อวันโดยให้ถือการคิดค่ารักษาผลงานนับตั้งแต่วันครบกาหนดรับคืนผลงาน ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑.๖ (วิธีนับวันให้นับตั้งแต่วันที่ครบกาหนดในข้อ ๑๑.๖ เป็นระยะเวลา สูงสุดไม่เกิน ๙๐ วัน)
ทั้งนี้หากเกินระยะเวลา ๙๐ วัน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ให้ถือว่าศิลปินเจ้าของผลงานชิ้นนั้นยินยอมให้มหาวิทยาลัยศิลปากรมีกรรมสิทธิ์ในผลงานดังกล่าวโดยปริยาย โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรมีสิทธิ์ดาเนินการตามที่เห็นสมควร อาทิเช่น อาจนาผลงานศิลปกรรมทั้งหมด หรือบางส่วน ไปประมูลเพื่อนาเงินมาใช้ในราชการ หรืออาจมอบผลงานให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์กรสาธารณกุศล หรืออื่นๆ เป็นต้น

เผยแพร่ : http://contestwar.com

Contest Type: 
File attachments: 
หมดเขต: 
10 มิ.ย. 2013 09:00 to 16 มิ.ย. 2013 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.