^ Back to Top

แข่งขัน "Battle Robot 2567"

แข่งขัน "Battle Robot 2567"

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน "Battle Robot 2567" ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 70,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

จุดประสงค์

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านความคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ แก่ผู้เข้าแข่งขัน
  • เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประดิษฐ์และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้แก่ผู้เข้าแข่งขัน
  • เพื่อความสมัครสมานสามัคคีของผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึงความมีน้ำใจนักกีฬา

คุณสมบัติหุ่นยนต์

  • หุ่นยนต์ต้องมีขนาดตัวไม่เกิน 350x350x350 มิลลิเมตรและสามารถยืดกลไกเพื่อการต่อสู้โดยการเปลี่ยนแปลงขนาดสามารถทำได้ไม่เกิน 500x500x500 มิลลิเมตร
  • หุ่นยนต์ต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 10 กิโลกรัม (ไม่รวมรีโมทคอนโทรล)
  • แหล่งจ่ายไฟฟ้า ไม่เกิน 36 โวลต์
  • แหล่งจ่ายลม ไม่เกิน 6 บาร์ (ถ้ามี)
  • บังคับหุ่นยนต์แบบไร้สาย
  • ไม่จำกัดวัสดุในการสร้างหุ่นยนต์และจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นอาวุธในการต่อสู้ที่สามารถควบคุมด้วยรีโมทคอลโทรลอย่างน้อย 1 อย่าง (ไม่จำกัดจานวนอาวุธ)
  • การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์สามารถทาได้ทุกรูปแบบ

ข้อจำกัดของอาวุธในการต่อสู้ของหุ่นยนต์

  • สามารถติดตั้งอุปกรณ์ทำลายคู่ต่อสู้ได้ แต่ห้ามใช้อาวุธประเภทยิงกระสุนหรือยิงชิ้นส่วนใดๆ ออกจากตัวหุ่น (อาวุธที่ใช้ห้ามแยกออกจากตัวหุ่นยนต์อย่างสิ้นเชิง) รวมไปถึงห้ามใช้น้ำ ไฟ ก๊าซ หรือของเหลวทุกชนิดพ่นใส่คู่ต่อสู้ อาวุธต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ควบคุม ผู้เข้าชม หรือคณะกรรมการผู้ตัดสิน หากคณะกรรมการเห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอาวุธนั้นอาจก่อให้เกิด อันตรายได้จะไม่อนุญาตให้เข้าร่วมแข่งขันจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
  • หุ่นยนต์ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอาวุธ โดยอาวุธที่ติดตั้งนั้นต้องสามารถขยับได้ด้วยการควบคุมโดยรีโมทคอลโทรลอย่างน้อย 1 อุปกรณ์ ไม่จำกัดอุปกรณ์
  • ต้องไม่มีการตัดสัญญาณในการบังคับหรือการควบคุมหุ่นยนต์ของคู่ต่อสู้ หรือการกระทำใดๆ ที่เป็นการรบกวนสัญญาณของคู่ต่อสู้ หากกรรมการตรวจพบว่ามีอุปกรณ์ดังกล่าว จะถูกห้ามแข่งในรายการนี้ตลอดการแข่งขัน

สนามแข่ง

  • ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4,800x4,800 มิลลิเมตร ความสูงจากพื้น 100 มิลลิเมตร และมีขอบสนามสูง 300 มิลลิเมตร จัดอยู่ในพื้นที่เขตปลอดภัย
  • พื้นที่สนามแบ่งเป็น 2 ฝั่ง มีจุดปล่อยหุ่นแต่ละฝั่งผู้เล่นขนาด กว้างxยาว เป็น 400x400 มิลลิเมตร
  • สนามแข่งขันจะมีอาวุธสนามเป็นค้อนหนัก 2.5 กิโลกรัม 2 ฝั่งตรงข้ามกับจุดปล่อยหุ่นยนต์ ค้อนเป็นแบบกดเพื่อทุบไม่สามารถกดค้างได้ (ผู้เข้าแข่งขันสามารถบังคับเองได้)

กติกาในทีมผู้เข้าแข่งขัน

  • รายชื่อในทีมต้องมีจำนวนไม่เกิน 5 คน
  • ผู้เข้าแข่งขันและสมาชิกในทีมต้องมีน้ำใจนักกีฬา หากกรรมการเห็นว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะถูกตักเตือน 1 ครั้ง และหากทาอีกจะถูกพิจารณาปรับแพ้ทันที (อยู่ที่ดุลยพินิจของกรรมการ)
  • ผู้เข้าแข่งขันไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ไม่จำกัดเพศและไม่จำกัดอายุของผู้เข้าร่วมแข่งขัน

กติกาในการแข่งขัน

  • เมื่อเรียกผู้แข่งขันเพื่อทำการแข่งขัน หุ่นยนต์และผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องถึงจุดที่กาหนดภายใน 2 นาที
  • การแข่งขันจะเป็นการแข่งขันในรูปแบบ Double Elimination
  • ก่อนเริ่มแข่งขันจะมีเวลาให้สำหรับเตรียมหุ่นยนต์ 1 นาที
  • เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน หากหุ่นยนต์ไม่ขยับตัวหรือ ไม่สามารถขยับตัวออกจากพื้นที่สตาร์ทได้ภายในเวลา 10 วินาที จะถูกปรับแพ้ทันที
  • ในระหว่างแข่งการแข่งขันไม่อนุญาต ให้เปลี่ยนหุ่นยนต์โดยเด็ดขาด
  • การแข่งขันในแต่ละรอบจะใช้เวลา 3 นาที รายละเอียดการแข่งขันเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
    • ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีมทำการต่อสู้ได้ทุกรูปแบบ หากผู้เข้าแข่งขันสามารถทาลายคู่ต่อสู้เป็นเหตุ ทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถขยับหรือไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ภายใน 10 วินาที ทีมที่ไม่สามารถขยับได้จะถูกตัดสินให้แพ้ น็อคเอาท์ทันที (การตัดสินให้เกิดการน็อคเอาท์ นั้นหุ่นยนต์ทั้ง 2 ฝ่ายต้องไม่สัมผัสกัน)
    • ระหว่างการแข่งขันนั้น ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถขอยุติการแข่งขันได้ตลอด โดยการขอยอมแพ้ และเมื่อฝ่ายใด ขอยอมแพ้แล้วห้ามหุ่นยนต์อีกฝ่ายทำลายทีมผู้ต่อสู้เด็ดขาด
    • ภายในเวลา 3 นาที ไม่มีการน็อคเอาท์เกิดขึ้น ผลผู้แพ้ชนะจะถูกตัดสินโดยคณะกรรมการ เป็นผู้ตัดสินการให้คะแนน
  • การตัดสินผู้ชนะจะพิจารณาจากคณะกรรมการทั้ง 3 ท่านตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
    • คะแนนความเสียหาย (5 คะแนน)
      หุ่นยนต์ที่เสียหายน้อยกว่าจะได้รับคะแนน 5 คะแนน หุ่นยนต์ที่เสียหายมากว่าจะได้รับคะแนน 0 คะแนน เกณฑ์การพิจารณาคะแนนความเสียหายนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาความเสียหายของหุ่นยนต์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยจะพิจารณาความเสียหายของหุ่นยนต์ที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้รวมไปถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทาของหุ่นยนต์ฝ่ายตัวเองด้วย
    • การโจมตีหรือการเข้าทำ (3 คะแนน)
      หุ่นยนต์ที่พยายามเข้าทำการโจมตีตลอดโดยทีไม่หนีหรือรอการเข้าทำของอีกฝ่ายจะได้รับ คะแนน 3 คะแนน ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายสามารถได้รับคะแนนเท่ากันได้
    • การบังคับหุ่นยนต์ (3 คะแนน)
      การให้คะแนนจะพิจารณาจากการบังคับหุ่นยนต์ของผู้เข้าแข่งขันที่สามารถบังคับหุ่นยนต์อย่างคล่องตัวและพยายามหาจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ รวมไปถึงการหลบหลีกอาวุธของคู่ต่อสู้ด้วย ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายสามารถได้รับคะแนนเท่ากันได้
  • หากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของหุ่นยนต์ทั้ง 2 ฝ่ายหลุดแต่ยังสามารถต่อสู้ได้จะถือว่าสามารถแข่งขันต่อได้ ส่วนอุปกรณ์ที่หลุดนั้นจะถือว่าเป็นอุปสรรคในการแข่งขันรอบนั้น

กำหนดการ

  • ประกาศรับสมัครการแข่งขัน “Battle Robot 2567” ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 30 มิถุนายน 2567
  • จัดการแข่งขัน “Battle Robot” วันที่ 25 - 26 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ ลานแข่งขันหน้าห้องบอลรูม ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ติดต่อสอบถาม
อาจารย์ณัฐพล ปัญญาหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 085-280-3847

มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
70,000 Baht
File attachments: 
หมดเขต: 
11 พ.ค. 2024 08:30 to 30 มิ.ย. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.