^ Back to Top

ประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม "2024 Bangkok International Intellectual Property, Invention and Technology Exposition"

ประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม "2024 Bangkok  International Intellectual Property, Invention and Technology Exposition" (IPITEx 2024)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอเชิญบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมถึงสถาบันการอาชีวศึกษา และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม "2024 Bangkok  International Intellectual Property, Invention and Technology Exposition" (IPITEx 2024) ชิงเหรียญรางวัล พร้อมเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยได้มีโอกาสในการแสดงศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้น และเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการประดิษฐ์คิดค้นกับนักประดิษฐ์นานาชาติ

คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวด

  • เป็นผลงานของนักประดิษฐ์จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน โดยผลงานฯ จะต้องผ่านการรับรองโดยหน่วยงานต้นสังกัด
  • เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจะนําไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายในการนําไปใช้ จริง (หากผลงานประดิษฐ์คิดค้นมีผู้ใช้ประโยชน์ หรือผู้ใช้บริการที่ชัดเจน สามารถแนบหลักฐาน เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ) และหากเคยได้รับรางวัลจากการประกวดจาก วช. หรือ จากหน่วยงานอื่น ๆ มาก่อนแล้ว จะต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยระบุให้เห็นข้อแตกต่างที่ชัดเจน (การได้รับรางวัลหนึ่ง รางวัลใดมาก่อนจะไม่มีผลต่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ ซึ่งคณะกรรมการฯ จะพิจารณาจากการพัฒนาต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ดีขึ้นเป็นสําคัญ)
  • เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ หรือการปรับปรุง มีความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน ใช้วัสดุในการประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับผลงาน มีการนําองค์ความรู้จากการวิจัย หรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้หรือสนับสนุนการประดิษฐ์ ค้นคว้า
  • ต้องไม่เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้อื่น ทั้งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เสนอ ผลงานที่เข้าร่วมประกวด

กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มผลงาน ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1
    การแพทย์และสาธารณสุข/ เทคโนโสยีการแพทย์/ เภสัชศาสตร์/ สุขอนามัย
    (Medicine and Public Health/ Medical Technolagy/ Pharmacy/ Hygiene)
  • กลุ่มที่ 2
    ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหาร/ เครื่องดื่ม เวซสำอาง ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว การเกษตรสมัยใหม่/พืชสวน/ การป่าไม้และการทำสวน
    (Health products/ Foodstuffs/ Drinks/ Cosmetics/ Personal care/ Modern Agriculture/Horticulture/ Forestry and Gardening)
  • กลุ่มที่ 3
    การอนุรักษ์ทรัพยากรรรรมชาติและสิ่งแวตล้อม/ น้ำ พลังานและไฟฟ้า/ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
    (Protection of the Environment/ Water/ Power and Electricity/ Green Technology)
  • กลุ่มที่ 4
    อาคาร/ การก่อสร้าง วิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรม กลมาสตร์/ เครื่องยนส์/ เครื่องจักร/ กระบวนการผลิต
    (Building/Construction/ Tvil Engineering/ Architecture/ Mechanics/ Engines/ Machinery!Manufacturing processes)
  • กลุ่มที่ 5
    หุ่นยนต์/ อิเล็กทรอนิกส์/ เครื่องจักรอัตโนมัติ/ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและแอหพลิเคชั่น/เทคโนโลยีสารสนเทศ
    (Robotics/ Electronics/ Automation/ lot ' and Application/ information,Communication and Technology (ICT)
  • กลุ่มที่ 6
    เครื่องมือ/ วัสดุอุปกรณ์สำหรับการศึกษา/ สำนักงาน/ ครัวเรือน
    (Educational/ Office/ Household items and tools)

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

  • เปิดรับสมัครเสนอผสงาน กายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566
  • การพิจารณารอบตัดสิน ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2567 ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2567 ซึ่งจะต้องนำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรสการในงาน "วันนักประศิษฐ์" ประจำปี 2567 เพื่อนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการฯ โดยใช้ภาษาอังกฤษนำการนำเสนอฯ ทั้งนี้ ผลงานใดที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมด้จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมประกวด
  • การประกาสผลและมอบรางวัล ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2567​

หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล

  • คุณลักษณะผลงาน (Characteristics of Invention)
    • แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใหม่ (Creativity/Innovation Breakthrough)
    • ความเป็นมาของแนวคิดการประดิษฐ์ (Introduction and Background)
  • การนําไปใช้ประโยชน์ (Utilization)
    • สามารถนําไปใช้งานได้จริง (Practicability)
    • สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงชุมชนสังคม (Commercial or Social Utilization)
    • ผ่านการทดสอบ หรือ การรับรองและได้รับมาตรฐาน (Accredited)
  • การนําเสนอ (Presentation)
    • การนําเสนอเกี่ยวกับผลงานมีความสมบูรณ์ชัดเจน (Completely and Clearly Presentation)
  • การออกแบบผลงาน (Design)
    • มีรูปลักษณ์ที่สวยงามดึงดูดความสนใจ (Aesthetic and attractive product)
    • ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมมีความปลอดภัยและง่ายต่อการใช้งาน (Safety and User-Friendly)
  • การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)
    • อยู่ระหว่างการยื่นขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (in the process of registering Intellectual Property)
    • มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว (Having Intellectual Property)

หมายเหตุ ผลการตัดสินของ วช. ให้เป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้ และหากพบหลักฐานในภายหลังว่าผลงาน ที่ได้รับรางวัลขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วช. อาจพิจารณาเพิกถอนผลการตัดสินและเรียกคืนรางวัลที่รับไปแล้วทั้งหมด

รางวัลการประกวด

  • รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) พร้อมเกียรติบัตร

ติดต่อสอบถาม

  • สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม กลุ่มงานรางวัลและกิจกรรมยกย่องเชิดชู
  • โทรศัพท์ 0 2579 1370 - 9 ต่อ 532 (ในวันและเวลาราชการ)
Eligibility: 
File attachments: 
หมดเขต: 
22 พ.ย. 2023 08:30 to 08 ธ.ค. 2023 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.