^ Back to Top

แข่งขันวิชาการ "RSU Academic Competition" หัวข้อ "การออกแบบอนาคต"

แข่งขันวิชาการ "RSU Academic Competition" หัวข้อ "การออกแบบอนาคต"

มหาวิทยาลัยรังสิต ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สมัครเข้าร่วมการแข่งขันวิชาการ "RSU Academic Competition" หัวข้อ "การออกแบบอนาคต" นำเสนอในงาน รังสิตวิชาการ ’66 ชิงทุนการศึกษา พร้อมถ้วยรางวัล และใบประกาศนียบัตร

คุณสมบัติผู้สมัคร
การแข่งขันเป็นทีม รวมกลุ่มแบบ "สหวิทยาการ" ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 และคุณครู ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในทีม แต่ละโรงเรียนมีสิทธิ์ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันได้มากกว่า 1 กลุ่ม

รูปแบบการแข่งขัน

  • "การออกแบบอนาคต" เป็นการเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมสี่เสาหลักของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (4 Pillars) ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ
    • ผู้เข้าร่วมแข่งขัน 1 กลุ่ม เลือกทิศทางในการออกแบบอนาคตด้านใดด้านหนึ่งจากทั้ง 6 กลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางตั้งต้นสำหรับมองหาประเด็นสำคัญ (Pain Point) จากภาพใหญ่ นำมาใช้เป็นหัวข้อในการออกแบบ สำหรับการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ต้องสะท้อนแนวทางการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมภาพใหญ่ให้มากที่สุด
    • เวทีการแข่งขัน "รังสิตวิชาการ" ได้กำหนดแนวทางการแข่งขันให้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษา โดยแบ่งทิศทางการแข่งขันออกเป็น 6 กลุ่ม (6 Cluster) หลักๆ ด้วยกันดังนี้
      • อนาคตด้านสุขภาพ (Future of Wellness)
      • อนาคตด้านธุรกิจ (Future of Business)
      • อนาคตด้านสังคม (Future of Social)
      • อนาคตด้านสิ่งสร้างสรรค์ (Future of Creative)
      • อนาคตด้านเทคโนโลยี (Future of Technology)
      • อนาคตด้านการสื่อสารทางภาษา (Future of Linguistic)
  • ทำไมต้องออกแบบอนาคต? ….Why do we Design the Future?
    • "อนาคต" เป็นสิ่งที่ออกแบบได้หากมนุษย์ใช้ปัญญาเพื่อหาแนวทางมุ่งสู่ "วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า"
      • การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีประสิทธิภาพยั่งยืนและเป็นธรรม เป็นเรื่องที่พึงปรารถนาของประชาชนในประเทศ ภายใต้สภาพปัญหาและความท้าทายที่ซับซ้อน เป้าหมายของการออกแบบอนาคตจะต้องอยู่ที่ การพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
      • ประเทศที่มี "วิสัยทัศน์" มีการกำหนดเป้าหมายอนาคตของชาติอย่างชัดเจน สะท้อน "ยุทธศาสตร์" สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาส่วนร่วมเช่นกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่มีผลลัพธ์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศ
    • "นักออกแบบอนาคต" เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่าอนาคตเป็นกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเพื่อแสวงหาความจริงใหม่ที่มี "ผลลัพธ์ที่ดีกว่า" ครอบคลุมสี่เสาหลักด้านสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และการบริหารจัดการ โดยใช้หลักการว่าทุกคนมีอนาคตร่วมกัน มีความรับผิดชอบ และสิทธิประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน
    • "การออกแบบอนาคต" ในที่นี้คือ
      • การวางกรอบแนวคิด (Conceptual Framework)
      • ทิศทาง (Vision) การวางค่าเป้าหมาย (Key Result)
      • แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
      • กระบวนการที่เป็นนวัตกรรม (Process Innovation)
      • สามารถกำหนดทิศทางไปสู่แนวโน้มที่ดีขึ้น (Trendsetter)
        ทั้งนี้ การออกแบบอนาคตเป็นไปได้หลายทางเลือก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การสร้างอนาคตที่ดีกว่า ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างองค์รวม ครอบคลุมในทุกมิติ

กำหนดระยะเวลา

  • ส่งผลงานตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2566
  • ประกาศผล 16 ตุลาคม 2566
  • แข้งขันรอบชิงชนะเลิศ / รอบ Grang Champion 16 – 17 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักเกณฑ์การตัดสิน
ตัดสินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบไปด้วย

  • ศักยภาพ (Potential) ของ Model ที่นำเสนอ
    • ความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคม
    • หัวข้อโครงงานหรือประเด็นที่นำมาใช้ในการออกแบบอนาคต มีความน่าสนใจ
    • หัวข้อโครงงานหรือประเด็นที่นำมาใช้ในการออกแบบอนาคต มีความชัดเจน
    • โครงงานมีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ อย่างชัดเจน และสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
    • อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโครงงาน ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
    • มีความคิดสร้างสรรค์ ที่นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งใหม่ในอนาคต
    • ผลลัพธ์โครงงานตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหรือการบริหารจัดการ
  • โอกาส (Opportunity) ที่จะพัฒนาไปสู่ Impact ใหม่ในระดับชาติ
    • โอกาส (Opportunity) ที่จะพัฒนาไปสู่ Impact ใหม่ในระดับชาติ
    • สร้างความรับรู้ใหม่ให้กับสังคมได้ในวงกว้างและสามารถเป็นโมเดลต้นแบบเพื่อพัฒนาใช้ได้ในอนาคต
    • คุณภาพของสื่อการนำเสนอ (Infographic) ความน่าสนใจ และความคิดสร้างสรรค์
    • มีความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าการแสดงออกทางความคิดได้อย่างสร้างสรรค์
    • สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน
  • Performance ของการนำเสนอ
    • Performance ของการนำเสนอ Executive summary
    • ความสามารถในการนำเสนอทางวาจา/สามารถรักษาเวลาในการนำเสนอได้ตามกำหนด
    • คุณภาพของสื่อการนำเสนอ (Infographic)
    • สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน

หมายเหตุ

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบมาจากที่ใด ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
  • ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างเจ้าของผลงานและผู้จัดการแข่งขัน
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด

ประเภทรางวัล

  • Grand Champion จำนวน 1 รางวัล ถ้วยรางวัล / ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษา 30,000 บาท
  • รางวัลชนะเลิศ จำนวน 6 รางวัล ถ้วยรางวัล / ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 6 รางวัล ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 5,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 6 รางวัล ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 3,000 บาท
  • รางวัลชมเชย 6 รางวัล ประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 1,500 บาท

ติดต่อสอบถาม
โทร. 02-997-2222 ต่อ 6623, 6626

File attachments: 
หมดเขต: 
25 มิ.ย. 2023 08:30 to 31 ส.ค. 2023 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.