^ Back to Top

แข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee "2nd Kibo Robot Programming Challenge"

แข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee "2nd Kibo Robot Programming Challenge"

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (สทอศ.) ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา หรือเทียบเท่า สมัครเข้าร่วมการแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee "2nd Kibo Robot Programming Challenge" ชิงแชมป์เอเชีย ชิงเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตร และโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทยไแข่งขันในระดับสากล

วัตุประสงค์

  1. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ผ่านองค์ความรู้ที่ทันสมัย ได้ฝึกฝนทักษะการเขียนโปรแกรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์
  2. เยาวชนได้รับการเสริมสร้างให้มีวินัยในการทำงาน รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแบ่งหน้าที่และทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เยาวชนผู้ชนะเลิศการแข่งขันในระดับประเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชียร่วมกับเยาวชนต่างประเทศ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ และได้รับประสบการณ์จากการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ
  4. สร้างโอกาสในการพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรมืออาชีพ สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาการศึกษา และวิชาชีพของตนเอง ผ่านโครงการแข่งขันครั้งนี้

รายละเอียดการแข่งขัน

  1. นักเรียนทุกระดับชั้นจนถึงระดับปริญญาตรี สมัครเข้าร่วมการแข่งขันประเภททีม สมาชิกทีมละ 3 คน (หัวหน้าทีม 1 คน และสมาชิก 2 คน) สมาชิกภายในทีมสามารถเรียนอยู่ต่างสถาบันการศึกษากันได้
  2. กรอกใบสมัครให้สมบูรณ์ และส่งไฟล์ใบสมัครมาที่อีเมล spaceeducation@nstda.or.th (หมดเขตส่งใบสมัคร 16 พ.ค. 64) เมื่อทางโครงการฯ ได้รับใบสมัครแล้ว จะจัดส่ง Acount ID ให้กับหัวหน้าทีมทางอีเมล เพื่อใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมในระบบ Simulation และใช้เป็น Acount ID สำหรับการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย
  3. ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษา JAVA) ปฏิบัติภารกิจตามที่กำหนด เพื่อบังคับหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ  Astrobee ของ NASA ในระบบ Simulation บน Server ของ JAXA ประเทศญี่ปุ่น ที่ลิงก์ https://jaxa.krpc.jp/ (ระบบจะเปิดให้ใช้งานภายในเดือนเมษายน 2564) โดยสามารถศึกษาได้จากคู่มือประกอบการแข่งขัน
  4. การแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ใช้ระบบ Simulation ของ JAXA ประเทศญี่ปุ่น
  5. การแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชีย ในช่วงเดือนกันยายน 2564 จะเป็นการ Run Code บนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee จริง ถ่ายทอดสดจาก Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น โดยสื่อสารแบบ Real-time กับสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งมีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการแข่งขัน

หมายเหตุ ผลตัดสินการแข่งขันของผู้จัดงานถือเป็นที่สิ้นสุด และรางวัลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

กำหนดการ

  • เปิดรับใบสมัคร ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.00 น.
  • แถลงข่าวเปิดตัวโครงการภายในเดือนเมษายน 2564
  • เยาวชนผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้รับ Account ID สำหรับเข้าสู่ระบบภายในเดือนเมษายน 2564
  • การแข่งขันรอบคัดเลือกและรอบชิงแชมป์ประเทศไทยภายในเดือนมิถุนายน 2564
  • การแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชียภายในเดือนกันยายน 2564

เงินรางวัล

  • รางวัลทีมชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 9,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมนำเสนอยอดเยี่ยม เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมดีเด่นระดับประถมศึกษา เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมดีเด่นระดับมัธยมศึกษา เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

ติดต่อสอบถาม

  • E-Mail: spaceeducation@nstda.or.th
  • www.facebook.com/NSTDASpaceEducation

ข่าวประชาสัมพันธ์ : NSTDA SPACE Education

File attachments: 
หมดเขต: 
22 มี.ค. 2021 09:00 to 16 พ.ค. 2021 17:00

Members Online

There are currently 0 users online.