^ Back to Top

บรรยาย หัวข้อ "การเดินทางของจิตรกรรมสมัยใหม่: กรณีศึกษาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของกัมพูชา"

บรรยาย หัวข้อ "การเดินทางของจิตรกรรมสมัยใหม่: กรณีศึกษาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของกัมพูชา"

บรรยาย หัวข้อ "การเดินทางของจิตรกรรมสมัยใหม่: กรณีศึกษาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของกัมพูชา" วิทยากรโดย โรเจอร์ เนลสัน จัดขึ้นในวันที่ 5 เมษายน 2560 เวลา 18.00-19.30 น. ณ ณ ห้องไอยรา หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญฟังการบรรยายในหัวข้อ:
การเดินทางของจิตรกรรมสมัยใหม่: กรณีศึกษาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของกัมพูชา

โดย โรเจอร์ เนลสัน (ภัณฑารักษ์อิสระ จากพนมเปญ)
วันที่ 5 เมษายน 2560 เวลา 18.00-19.30 น.
ณ ห้องไอยรา (บริเวณตรงข้ามหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)

(การบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมแปลภาษาไทย โดย ชานน แพร่พิพัฒน์มงคล)

การบรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงการปรากฏขึ้นของจิตรกรรมสมัยใหม่ในกัมพูชา บันทึกก่อนหน้าจำนวนมากยืนยันว่าจิตรกรรมสมัยใหม่ ‘ลงหลักปักฐาน’ ที่นี่ด้วยจุดปะทุเดียว ในช่วงเวลาเดียวกับที่ศิลปินชาวญี่ปุ่นชื่อ ซูซูกิ เริ่มเผยแพร่วิชาในพนมเปญเมื่อปี 1945 – ผู้บรรยายต้องการชี้ให้เห็นต้นเค้าอีกหลายสาขาที่ขัดแย้งกับเรื่องเล่าดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ – การวิจัยผ่านเอกสารประวัติศาสตร์เปิดเผยว่าจิตรกรชาวฮานอย โต หงัก หวั่น (TôNgọcVân) สอนวิชาในพนมเปญก่อนซูซูกิถึงหนึ่งทศวรรษ และมีชาวลาวจำนวนหนึ่งเข้ามาเรียนศิลปะที่นี่ในช่วงทศวรรษ 1930 พร้อมผู้ดำเนินการชาวเวียดนาม นอกจากการค้นพบทางเอกสารดังกล่าว การวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมรามายณะเขมรที่สร้างขึ้นตั้งแต่ทศวรรษแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 อย่างละเอียด ได้เสนอให้เห็นความตระหนักรู้เรื่องการวางองค์ประกอบภาพแบบยุโรป ซึ่งเป็นไปได้ว่าสืบทอดมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดแบบไทย

เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของสายสัมพันธ์ข้ามพรมแดนนี้ ผู้บรรยายตั้งประเด็นถกเถียงว่าการปรากฏขึ้นของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ในศิลปะ ควรได้รับความเข้าใจว่าเป็นไปอย่างช้าๆ เพิ่มพูนทีละเล็กละน้อย และเป็นรูปเป็นร่างผ่านทั้งการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและภายในท้องถิ่นเอง มุมมองนี้เห็นแย้งกับประวัติศาสตร์ศิลปะกัมพูชาสมัยใหม่ชุดก่อนที่เน้นย้ำจุดปะทุกำเนิด ความแตกต่างทางภูมิประวัติศาสตร์ (historiography) ถูกหยิบยกมากล่าวถึงผ่านการเปรียบเทียบกรณีของกัมพูชา กับบันทึกภาษาอังกฤษเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่จากแห่งอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคณะผู้เขียนอื่นๆ ซึ่งรวมถึงบทความของดร.อภินันท์ โปษยานนท์ และ แคลร์ โฮลต์ (Claire Holt)

กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) ประกอบไปด้วยศิลปิน ไขว สัมนาง, เอมี เลียน & เอ็นโซ คามาโช และ เหงียน ธี ธันห์ ไม และคัดสรรผลงานโดยภัณฑารักษ์ชาวออสเตรเลีย อาศัยอยู่พนมเปญ โรเจอร์ เนลสัน เริ่มจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ถึงวันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นนิทรรศการกลุ่มซึ่งประกอบด้วยงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ไม่เคยจัดแสดงในประเทศไทยมาก่อนของกลุ่มศิลปินที่สร้างงานเกี่ยวพันกับความคิด และกระบวนการของการเดินทางกับการอพยพที่ได้รับเสียงชื่นชมในระดับนานาชาติ 

People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) เป็นนิทรรศการที่ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ ในการจินตนาการถึงและหาเหตุผลให้กับโลกที่เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ประหนึ่งกลุ่มดาวของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวปรับสร้างรูปแบบใหม่ไม่รู้จบ และกลุ่มพลังกับรูปแบบอันยุ่งเหยิงสับสนที่ลุกลามขยายตัวเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำความเข้าใจได้หมดจดจากเพียงมุมมองเดียว

การเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างแต่ละสถานที่และการเคลื่อนไหวผ่านพื้นที่กลายเป็นใจความสำคัญในการสร้างงานศิลปะของศิลปินกลุ่มนี้ การย้ายที่อยู่เป็นกิจวัตรกลายเป็นสภาวะแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับพวกเขา ศิลปินทั้งหมดได้เสนอให้มองภูมิภาคนี้ในฐานะเครือข่ายความสัมพันธ์อันเปี่ยมพลวัตที่การกำหนดค่าหรือรูปแบบนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และกระหายอย่างยิ่งที่จะโดดข้ามพรมแดนของรัฐชาติภายใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงพรมแดนในจินตกรรมของตัวภูมิภาคเองอีกต่อหนึ่ง

เกี่ยวกับผู้บรรยาย

โรเจอร์ เนลสัน (Roger Nelson) ทำงานในฐานะนักประวัติศาสตร์ศิลป์และภัณฑารักษ์อิสระผู้พำนักในกรุงพนมเปญ สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกที่ University of Melbourne ปี 2560 ผลงานวิจัยของเขาศึกษาคำถามที่มีต่อความเป็นสมัยใหม่และสภาวะร่วมสมัยในงานศิลปะ โดยใช้ประเทศกัมพูชาและภูมิภาคโดยรอบเป็นกรณีศึกษา โรเจอร์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการร่วมของวารสารวิชาการเล่มใหม่ Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia ซึ่งตีพิมพ์โดย NUS Press ของ National University of Singapore เขาเขียนบทความวิชาการให้วารสารหลายเล่ม เช่น Stedelijk Studies นิตยสารศิลปะเนื้อหาเข้มข้น เช่น  Art AsiaPacific รวมถึงหนังสือและสูจิบัตินิทรรศการศิลปะจำนวนมาก โรเจอร์ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์นิทรรศการและโปรเจ็คต์อื่นๆ ทั้งในออสเตรเลีย กัมพูชา สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม หนึ่งในผลงานของเขาคือ Rates of Exchange, Un-Compared ซึ่งมีระยะเวลาร่วมเก้าเดือน โดยรวมทั้งนิทรรศการ โครงการพำนักศิลปิน การประชุมวิชาการ (symposium) การแสดงเพอร์ฟอร์มานซ์ และการพบปะสังสรรค์ในหลายสถานที่ทั้งกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พนมเปญ และสิงคโปร์ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บรรยายระดับนานาชาติเช่นที่ Museum of Modern Art ในนิวยอร์ก ในปี 2558-2559 เป็นนักวิชาการผู้สังเกตการณ์ใน Ambitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art ซึ่งเป็นโปรแกรมวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนผ่านโครงงาน Connecting Art Histories ของ Getty Foundation นิทรรศการนี้เป็นครั้งแรกที่โรเจอร์ได้ร่วมงานกับหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน

สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขโทรศัพท์: 02-612-6741
อีเมล์: artcenter@jimthompsonhouse.com
เฟซบุค: The Jim Thompson Art Center
เว็บไซต์: www.jimthompsonartcenter.org

.................................

The Jim Thompson Art Center proudly to present public lecture:
Migratory Modern Painting: The Case of Cambodia in the Early 20th Century

By Roger Nelson (Independent curator from Phnom Penh)
5 April 2017 at 6.00 - 7.30 pm.
At Ayara Hall (Opposite the Jim Thompson Art Center)

(The lecture will be held in English with Thai translation by Chanon Praepipatmongkol)

This lecture is about the emergence of modern painting in Cambodia. Previous accounts have insisted that modern painting ‘arrived’ in a singular moment of rupture with a Japanese artist named Suzuki, who began teaching in Phnom Penh in 1945. I point to several precursors that significantly complicate this narrative. Archival research reveals that Hanoian painter To Ngoc Van  taught in Phnom Penh a decade before Suzuki, and that several Laotians studied art there during the 1930s, alongside Vietnamese arts administrators. Complementing these archival findings, speculative visual analysis of Khmer Ramayana paintings made in the first decades of the 20thcenturysuggests an awareness of European compositional perspective, possibly received through exposure to Thai temple paintings.

In stressing the significance of cross-border interactions, I am arguing that the emergence of the ‘modern’ in art should be understood as gradual and cumulative, and as shaped by cross-cultural and trans-local contact. This view is at odds with previous histories of modern Cambodian art, which have instead emphasized rupture. Historiographical differences are drawn out through comparison of the Cambodian case with early Anglophone accounts of modern art from elsewhere in Southeast Asia, by authors including Apinan Poshyananda (Thailand) and Claire Holt.

The public program is the part of the exhibition “People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor).” This exhibition features artists Khvay Samnang, Amy Lien & Enzo Camacho, and Nguyen Thi Thanh Mai, and is curated by Roger Nelson. It runs from 7 March to 18 June 2017.This is a group exhibition featuring major works never before shown in Thailand, by internationally acclaimed artists whose work engages with ideas and processes of travel and migration.

People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) it is an exhibition which asks if we can imagine and make sense of a world in perpetual flux, an endlessly reconfiguring constellation of moving parts, a conflagration of swirling forces and forms than cannot be apprehended from any single viewpoint.

Shifts between locations and movements through space become central motifs in the practices of these artists for whom regular relocation has become a necessary circumstance. These artists offer a way of seeing this region as a dynamic network of inter-relationships that are constantly being reconfigured, and that hungrily hop across national borders within Southeast Asia, and across the imaginary boundaries of the region itself.

About the speaker:
Roger Nelson is an art historian and independent curator based in Phnom Penh, and is currently completing his PhD candidature at the University of Melbourne. His research centres on questions of modernity and contemporaneity in art, taking Cambodia and the broader region as case studies. Roger is a co-founding co-editor of the new scholarly journal, Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia, published by NUS Press at the National University of Singapore. He has contributed essays to scholarly journals including Stedelijk Studies, specialist art magazines including ArtAsiaPacific, as well as books and numerous exhibition catalogues. Roger has curated exhibitions and other projects in Australia, Cambodia, Singapore, Thailand and Vietnam, including Rates of Exchange, Un-Compared, a nine-month series of exhibitions, residencies, symposia, performances and gatherings at numerous locations in Bangkok, Chiang Mai, Phnom Penh and Singapore. He has also delivered lectures internationally, including at New York’s Museum of Modern Art. In 2015-16, he was a participating scholar in Ambitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art, a research program funded through the Getty Foundation’s Connecting Art Histories initiative. This is Roger’s first exhibition at Jim Thompson Art Center.

For further information please contact the Jim Thompson Art Center:
Phone: 02-612-6741
Email: artcenter@jimthompsonhouse.com
Facebook: The Jim Thompson Art Center
Website: www.jimthompsonartcenter.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ : หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

บรรยาย หัวข้อ "การเดินทางของจิตรกรรมสมัยใหม่: กรณีศึกษาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของกัมพูชา"

Seminar date: 
05 Apr 2017 18:00 to 19:30
File attachments: 

Members Online

There are currently 0 users online.