^ Back to Top

แข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นต้นแบบเพื่อศตวรรษที่ 21 ด้วยของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ "2024 Innovative Science Toys Competition : Paper Science Toys"

แข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นต้นแบบเพื่อศตวรรษที่ 21 ด้วยของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ "2024 Innovative Science Toys Competition : Paper Science Toys"

กองวิจัยและบริการวิชาการ (วบ.) ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ศพช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และประชาชนทั่วไป สมัครเข้าร่วมการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมของเล่นต้นแบบเพื่อศตวรรษที่ 21 ด้วยของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ "2024 Innovative Science Toys Competition : Paper Science Toys" ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่ และเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21
  • เพื่อเสริมสร้างอาชีพด้านการผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์

ประเภทการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามกลุ่มเป้าหมาย

  • ระดับเยาวชน ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • ระดับบุคคลทั่วไป ได้แก่ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบและผลิตของเล่น ประชาชนทั่วไปที่สนใจในการผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

  • ระดับเยาวชน ได้แก่ นักเรียน ที่กําลังศึกษาอยู่ระดับระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และที่สนใจในการผลิตของเล่น
  • ระดับบุคคลทั่วไป ได้แก่ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบและผลิตของเล่น ประชาชนทั่วไปที่สนใจในการผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์

เงื่อนไขการเข้าร่วมการแข่งขัน

  • ระดับเยาวชน
    • ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันแบบเดี่ยวหรือแบบทีม โดยมีสมาชิกในทีมไม่เกิน 3 คน
    • ผู้สมัครต้องกําลังศึกษาอยู่ระดับระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
    • ผู้สมัครแต่ละทีมสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้มากกว่า 1 ผลงาน แต่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกเพียง 1 ผลงานที่มีคะแนนรวมสูงสุดเท่านั้น
  • ระดับบุคคลทั่วไป
    • ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันแบบเดี่ยวหรือแบบทีม โดยมีสมาชิกในทีมไม่เกิน 3 คน
    • ผู้สมัครแต่ละทีมสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้มากกว่า 1 ผลงาน แต่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกเพียง 1 ผลงานที่มีคะแนนรวมสูงสุดเท่านั้น

หมายเหตุ ผู้สมัครทั้ง 2 ประเภท สามารถเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนานักออกแบบและผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ (Paper Science Toys) วันที่ 24 กุมภาพันธ์2567 ดําเนินการโดย อพวช. (รับจํานวนจํากัด 100 คน)

รายละเอียดการแข่งขันการพัฒนาของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ (Paper Science Toys)
หัวข้อการแข่งขัน: แรงและการเคลื่อนที่ (Force and Motion)

  • แรงและการเคลื่อนที่ (Force and Motion) เป็นวิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัวของเราทุกคน สามารถพบเจอได้ตลอดเวลา การเข้าใจแรงและการเคลื่อนที่ช่วยให้เราเข้าใจโลกรอบตัวเราและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์ในชีวิตประจําวัน เช่น การขับรถ, การขนของ และการเล่นกีฬา
  • ดังนั้น กิจกรรมการแข่งขันในปีนี้ จึงได้กําหนดโจทย์ท้าทายนักออกแบบและผลิตของเล่นทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ รวมถึงผู้ที่สนใจ โดยออกแบบและพัฒนาของเล่นวิทยาศาสตร์ต้นแบบเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กและเยาวชนด้วยของเล่นเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ (Force and Motion)

กลุ่มเป้าหมายในการออกแบบของเล่น
การออกแบบของเล่นนี้จะต้องเหมาะสมกับเด็กช่วงวัย 8-12 ปี

ข้อกําหนดในการออกแบบและพัฒนาของเล่นต้นแบบ

  • การถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ (Force and Motion) ให้ออกมาอย่างสนุกสนานและน่าสนใจ
  • การพัฒนาทักษะกระบวนการค้นหาคําตอบ โดยผู้เล่นได้ทดลองและเกิดการกระตุ้นให้เกิดการตั้งคําถามระหว่างการเล่นของเล่น
  • การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยผู้เล่นสามารถเรียนรู้ความผิดพลาดจากการเล่นและนําไปสู่การแก้ปัญหาระหว่างการเล่น
  • การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้เล่นเกิดแรงบันดาลใจในการเล่นและนําไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้รับ

เงื่อนไขการออกแบบ

  • ใช้หลักการกลไกอย่างง่ายและไม่ซับซ้อนในการออกแบบของเล่น เพื่อกระตุ้นให้ผู้เล่นได้ลงมือเล่นทดลอง สัมผัสของเล่นเพื่อเกิดการเรียนรู้
  • ของเล่นต้นแบบต้องมีขนาดการออกแบบไม่เกินกระดาษขนาด A4 และ สามารถบรรจุอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์ ขนาดไม่เกิน 20 cm. * 20 cm. * 20 cm.
  • วัสดุที่ใช้ในการผลิตหลักเป็นกระดาษที่มีความหนา 180 แกรมขึ้นไป โดยคํานึงถึงโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG model) มีความคิดสร้างสรรค์และความสวยงาม
    หมายเหตุ โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG model) ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่
    • B ย่อมาจาก Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า
    • C ย่อมาจาก Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คํานึงถึงการนําวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
    • G ย่อมาจาก Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการเข้าร่วมการแข่งขัน

  • ผู้สมัครส่งข้อเสนอการออกแบบของเล่นและร่างแบบของเล่นมาพร้อมกับการลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567
    รายละเอียดการจัดทําข้อเสนอการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์
    • เนื้อหาข้อเสนอการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
      • ที่มาของการออกแบบ
      • วัตถุประสงค์ในการออกแบบ
      • รูปแบบและวิธีการเล่น
      • ต้นทุนในการผลิตของเล่น
      • องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
      • ผลลัพธ์ในการเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากการเล่นของเล่นชิ้นนี้
      • ร่างแบบของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ ขนาด A4
      • VDO แนะนําการเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์จากกระดาษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที
    • เนื้อหามีความยาวไม่เกิน 3 หน้า A4 โดยหน้าที่ 3 จะต้องนําเสนอร่างแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยสามารถใช้หรือไม่ใช้โปรแกรมการออกแบบตามความเหมาะสม
  • คณะกรรมการทําการคัดเลือกผลงานข้อเสนอการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ ประเภทละ 15 ผลงาน รวมเป็น 30 ผลงานเพื่อเข้าสู่รอบคัดเลือก และประกาศผลการคัดเลือกในวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ผ่านเว็บไซต์ www.nsm.or.th
  • ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 2 ประเภท รวม 30 ผลงานจะต้องพัฒนาของเล่นต้นแบบ (Prototype) ที่สามารถเล่นได้จริงจํานวน 1 ชุด เพื่อใช้สําหรับการนําเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อทําการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ ณ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี ในวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 และทุกผลงานจะได้นํามาจัดแสดง ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจําปี 2567

หมายเหตุ ผลงานที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 30 ผลงานนี้ จะได้รับเงินสนับสนุนในการพัฒนาของเล่นต้นแบบผลงานละ 1,000 บาท โดยสามารถรับเงินสนับสนุนการพัฒนาของเล่นต้นแบบนี้ได้ในวันที่ส่งผลงานในวันวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 ณ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก 10 ผลงาน เพื่อผลิตและนําไปมอบให้โรงเรียนต่าง ๆ 50 โรงเรียนเพื่อทดลองเล่นและประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การพิจารณา

  • ส่งเสริมให้ผู้เล่นมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ – 20 คะแนน
  • ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการเล่นของเล่น – 20 คะแนน
  • มีความปลอดภัยและไม่ได้รับอันตรายต่อผู้เล่น – 20 คะแนน
  • กระตุ้นให้ผู้เล่นเกิดกระบวนการคิดค้นหาคําตอบ และความคิดสร้างสรรค์ – 20 คะแนน
  • ส่งเสริมการพัฒนาทักษะประดิษฐ์ของผู้เล่น – 10 คะแนน
  • วัสดุที่ใช้ในการผลิตเป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม – 10 คะแนน

รางวัลการแข่งขัน

  • ระดับเยาวชน
    • ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
    • รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 7,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
    • รองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
  • ระดับบุคคลทั่วไป
    • ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
    • รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 7,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
    • รองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร

ติดต่อสอบถาม

  • คุณบุรวัชร์ นาคสู่สุข
    • โทร 0 2577 9999 ต่อ 1496
    • อีเมล burawat@nsm.or.th
  • คุณชนกนันท์ ก้องสมุทร
    • โทร 0 2577 9999 ต่อ 1493
    • อีเมล chanoknan.k@nsm.or.th
File attachments: 
Deadline: 
16 Feb 2024 08:30 to 30 Apr 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.