แข่งขันวิชาการ "RSU Academic Competition" หัวข้อ "การออกแบบอนาคต"
Submitted by mod on Mon, 2023-06-26 19:30
มหาวิทยาลัยรังสิต ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สมัครเข้าร่วมการแข่งขันวิชาการ "RSU Academic Competition" หัวข้อ "การออกแบบอนาคต" นำเสนอในงาน รังสิตวิชาการ ’66 ชิงทุนการศึกษา พร้อมถ้วยรางวัล และใบประกาศนียบัตร
คุณสมบัติผู้สมัคร
การแข่งขันเป็นทีม รวมกลุ่มแบบ "สหวิทยาการ" ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 และคุณครู ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในทีม แต่ละโรงเรียนมีสิทธิ์ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันได้มากกว่า 1 กลุ่ม
รูปแบบการแข่งขัน
- "การออกแบบอนาคต" เป็นการเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมสี่เสาหลักของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (4 Pillars) ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ
- ผู้เข้าร่วมแข่งขัน 1 กลุ่ม เลือกทิศทางในการออกแบบอนาคตด้านใดด้านหนึ่งจากทั้ง 6 กลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางตั้งต้นสำหรับมองหาประเด็นสำคัญ (Pain Point) จากภาพใหญ่ นำมาใช้เป็นหัวข้อในการออกแบบ สำหรับการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ต้องสะท้อนแนวทางการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมภาพใหญ่ให้มากที่สุด
- เวทีการแข่งขัน "รังสิตวิชาการ" ได้กำหนดแนวทางการแข่งขันให้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษา โดยแบ่งทิศทางการแข่งขันออกเป็น 6 กลุ่ม (6 Cluster) หลักๆ ด้วยกันดังนี้
- อนาคตด้านสุขภาพ (Future of Wellness)
- อนาคตด้านธุรกิจ (Future of Business)
- อนาคตด้านสังคม (Future of Social)
- อนาคตด้านสิ่งสร้างสรรค์ (Future of Creative)
- อนาคตด้านเทคโนโลยี (Future of Technology)
- อนาคตด้านการสื่อสารทางภาษา (Future of Linguistic)
- ทำไมต้องออกแบบอนาคต? ….Why do we Design the Future?
- "อนาคต" เป็นสิ่งที่ออกแบบได้หากมนุษย์ใช้ปัญญาเพื่อหาแนวทางมุ่งสู่ "วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า"
- การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีประสิทธิภาพยั่งยืนและเป็นธรรม เป็นเรื่องที่พึงปรารถนาของประชาชนในประเทศ ภายใต้สภาพปัญหาและความท้าทายที่ซับซ้อน เป้าหมายของการออกแบบอนาคตจะต้องอยู่ที่ การพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
- ประเทศที่มี "วิสัยทัศน์" มีการกำหนดเป้าหมายอนาคตของชาติอย่างชัดเจน สะท้อน "ยุทธศาสตร์" สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาส่วนร่วมเช่นกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่มีผลลัพธ์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศ
- "นักออกแบบอนาคต" เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่าอนาคตเป็นกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเพื่อแสวงหาความจริงใหม่ที่มี "ผลลัพธ์ที่ดีกว่า" ครอบคลุมสี่เสาหลักด้านสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และการบริหารจัดการ โดยใช้หลักการว่าทุกคนมีอนาคตร่วมกัน มีความรับผิดชอบ และสิทธิประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน
- "การออกแบบอนาคต" ในที่นี้คือ
- การวางกรอบแนวคิด (Conceptual Framework)
- ทิศทาง (Vision) การวางค่าเป้าหมาย (Key Result)
- แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
- กระบวนการที่เป็นนวัตกรรม (Process Innovation)
- สามารถกำหนดทิศทางไปสู่แนวโน้มที่ดีขึ้น (Trendsetter)
ทั้งนี้ การออกแบบอนาคตเป็นไปได้หลายทางเลือก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การสร้างอนาคตที่ดีกว่า ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างองค์รวม ครอบคลุมในทุกมิติ
- "อนาคต" เป็นสิ่งที่ออกแบบได้หากมนุษย์ใช้ปัญญาเพื่อหาแนวทางมุ่งสู่ "วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า"
กำหนดระยะเวลา
- ส่งผลงานตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2566
- ประกาศผล 16 ตุลาคม 2566
- แข้งขันรอบชิงชนะเลิศ / รอบ Grang Champion 16 – 17 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
หลักเกณฑ์การตัดสิน
ตัดสินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบไปด้วย
- ศักยภาพ (Potential) ของ Model ที่นำเสนอ
- ความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคม
- หัวข้อโครงงานหรือประเด็นที่นำมาใช้ในการออกแบบอนาคต มีความน่าสนใจ
- หัวข้อโครงงานหรือประเด็นที่นำมาใช้ในการออกแบบอนาคต มีความชัดเจน
- โครงงานมีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ อย่างชัดเจน และสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
- อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโครงงาน ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
- มีความคิดสร้างสรรค์ ที่นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งใหม่ในอนาคต
- ผลลัพธ์โครงงานตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหรือการบริหารจัดการ
- โอกาส (Opportunity) ที่จะพัฒนาไปสู่ Impact ใหม่ในระดับชาติ
- โอกาส (Opportunity) ที่จะพัฒนาไปสู่ Impact ใหม่ในระดับชาติ
- สร้างความรับรู้ใหม่ให้กับสังคมได้ในวงกว้างและสามารถเป็นโมเดลต้นแบบเพื่อพัฒนาใช้ได้ในอนาคต
- คุณภาพของสื่อการนำเสนอ (Infographic) ความน่าสนใจ และความคิดสร้างสรรค์
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าการแสดงออกทางความคิดได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน
- Performance ของการนำเสนอ
- Performance ของการนำเสนอ Executive summary
- ความสามารถในการนำเสนอทางวาจา/สามารถรักษาเวลาในการนำเสนอได้ตามกำหนด
- คุณภาพของสื่อการนำเสนอ (Infographic)
- สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน
หมายเหตุ
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบมาจากที่ใด ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
- ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างเจ้าของผลงานและผู้จัดการแข่งขัน
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
ประเภทรางวัล
- Grand Champion จำนวน 1 รางวัล ถ้วยรางวัล / ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษา 30,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศ จำนวน 6 รางวัล ถ้วยรางวัล / ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 6 รางวัล ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 5,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 6 รางวัล ใบประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 3,000 บาท
- รางวัลชมเชย 6 รางวัล ประกาศนียบัตร / ทุนการศึกษารางวัลละ 1,500 บาท
ติดต่อสอบถาม
โทร. 02-997-2222 ต่อ 6623, 6626
Contest Type:
Eligibility:
Contest's URL:
Downloads:
File attachments:
Deadline:
25 Jun 2023 08:30 to 31 Aug 2023 16:30
Published by: