ประกวดตราสัญลักษณ์ "100 ปี การบินบุพการีทหารอากาศ" ชิงรางวัลเงินสดรวม 23,000 บาท พร้อมโล่ เกียรติยศ
ในโอกาส "ครบ 100 ปี การบินบุพการีกองทัพอากาศ ในเดือนกรกฎาคม 2555 กองทัพอากาศ จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเชิดชูกิจการด้านการบินที่เป็นของคนไทย ตลอดปี 2555 อาทิ การจัดนิทรรศการการบินและการแสดงการบิน การจัดทำ ของที่ระลึกต่าง ๆ โดยในโอกาสนี้ ขอเชิญข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมประกวดออกแบบ ตราสัญลักษณ์ "ครบ 100 ปี การบินบุพการีกองทัพอากาศ” ชิงเงินรางวัล และโล่เกียรติยศผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของการจัดงาน ตลอดจนใช้เป็นของที่ระลึกต่าง ๆ
หลักเกณฑ์การออกแบบ
- ต้องมีอักษรว่า "100 ปี” เป็นเลขไทย หรือเลขอารบิก มีสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงความสามารถของคนไทยที่ทำการบินในอากาศได้ ไม่จำกัดเทคนิคและองค์ประกอบในตราสัญลักษณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับแนวความคิดในการนำเสนอ ตราสัญลักษณ์ต้องมีความหมายและสามารถอธิบายได้ เช่น สี รูปภาพ และมีเอกสารประกอบคำอธิบายความหมายองค์ประกอบต่าง ๆ
- ส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ 3 ผลงาน
- ผลงานที่ส่งต้องไม่ลอกเลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และต้องไม่เคยได้รับรางวัลใดมาก่อน หากทราบภายหลังเจ้าของผลงานต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าว
- ส่งผลงานที่ออกแบบลงบนกระดาษขนาด A4 จำนวน 2 ชุด (ระบุชื่อ – สกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรืออีเมล์ ผู้ส่งผลงานที่ติดต่อกลับได้สะดวกด้านหลังผลงาน) พร้อม CD บรรจุไฟล์ผลงานการออกแบบ ในรูปแบบนามสกุล AI, JPG, CDR, PSD หรืออื่นๆ ที่สามารถเปิดได้บนระบบปฏิบัติการ WINDOWS
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด กรรมสิทธิ์ผลงานที่ได้รับรางวัลเป็นของกองทัพอากาศ ขอสงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ หรือการแก้ไขดัดแปลงปรับปรุงให้มีความเหมาะสม
- ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ – 21 มีนาคม 2554 ในวันและเวลาราชการ ได้ที่ แผนกนิทรรศการ กองประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
- ประกาศผลในวันที่ 31 มีนาคม 2554 ทาง http://www.rtaf.mi.th
*** เพิ่มเติมจากของเดิมนะครับ
รางวัลเงินสด พร้อมโล่ เกียรติยศ จำนวน 3 รางวัล ดังนี้
รางวัลที่ 1 เงินสด 10,000 บาท
รางวัลที่ 2 เงินสด 8,000 บาท
รางวัลที่ 3 เงินสด 5,000 บาท
กำหนดมอบรางวัลจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.rtaf.mi.th
โทร. 0 2534 1172, 0 2534 1604
เผยแพร่ : http://contestwar.com
- Log in to post comments
Comments
พอจะแจ้งรางวัลได้ไหมครับว่าได
พอจะแจ้งรางวัลได้ไหมครับว่าได้เงินรางวัลหรืออะไรยังไง
จะลองสอบถามทางกองประกวดให้อีกทีนะครับ
จะลองถามทางกองประกวดให้อีกทีนะครับ ^ ^
รางวัลประกวดตราสัญลักษณ์ 100 ปี การบินบุพการีทหารอากาศ
รางวัล ประกวดตราสัญลักษณ์ "100 ปี การบินบุพการีทหารอากาศ"
รางวัลเงินสด พร้อมโล่ เกียรติยศ จำนวน 3 รางวัล ดังนี้
รางวัลที่ 1 เงินสด 10,000 บาท
รางวัลที่ 2 เงินสด 8,000 บาท
รางวัลที่ 3 เงินสด 5,000 บาท
หากผู้เข้าแข่งขันมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ
เรืออากาศโทหญิง อมรา 02-534-1172 ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องการจัดการแข่งขันโดยตรงเลยนะครับ ^ ^
กิจการด้านการบินของไทย ซึ่งได้ถือกำเนิดเป็นกองทัพอากาศ
นับตั้งแต่เมื่อปี 2453 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กิจการด้านการบินของประเทศไทย กำเนิดขึ้นเมื่อ นายชาร์ล ฟัน เดล บอร์น (Charles van den born) ลูกครึ่งเบลเยี่ยม-ฝรั่งเศส ทำการแสดงการบินของเครื่องบินปีกสองชั้นแบบอังรี ฟาร์มัง 4 (Henri Farman IV) ชื่อ “แวนด้า (Wanda)” เป็นครั้งแรก ให้ชาวไทยได้รู้จักกับเครื่องบิน ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำนุบำรุงกิจการทหารในด้านการ ป้องกันประเทศอย่างจริงจังและกว้างขวางยิ่งขึ้น และภายหลังจากที่ พลเอก พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสด็จไปยุโรป ได้ทรงทราบข่าวว่าประเทศฝรั่งเศสกำลังปรับปรุงกิจการการทหารอย่างกว้าง ขวางกว่าประเทศอื่นๆ
เมื่อเสด็จกลับมาแล้วได้ทรงปรึกษากับ พลเอก สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ถึงความจำเป็นต้องมีเครื่องบินไว้ใช้ป้องกันประเทศเหมือนอารยะประเทศ กระทรวงกลาโหมจึงได้ดำริจะจัดตั้งกิจการบินขึ้นและได้ทำการคัดเลือกนายทหาร สามนาย ประกอบด้วย พันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป), ร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินสุข) และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ภายหลังทั้งสามท่านได้รับการเชิดชูเป็น “บุพการีกองทัพอากาศ”) ไปเข้าศึกษาวิชาการบินและการช่างอากาศ ณ ประเทศฝรั่งเศส
โดยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2455 พันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้เริ่มการศึกษาและฝึกการบินด้วยเครื่องบินเบร์เกต์ ชนิดปีก 2 ชั้น ที่สนามบินตำบลวิลลาคูเบลย์ นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้เริ่มทำการบิน และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กิจการด้านการบินของไทยจึงได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นกองทัพอากาศ และมีความเจริญก้าวหน้าตลอดมา