^ Back to Top

ประกวดผลงานด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อลดของเสียหรือประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรม RACMP2014

ประกวดผลงานด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อลดของเสียหรือประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรม RACMP2014

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท หรือ เทียบเท่า ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผลงานด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อกระบวนการผลิต RACMP2014 ชิงเงินรางวัล เงินสนับสนุน พร้อมโล่เกียรติยศ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (แขนกล) ในอุตสาหกรรมรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ มากกว่า 4,000 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ การผลิตของผู้ประกอบการไทยไม่เพียงพอกับความต้องการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อแก้ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ความต้องการผลิตสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานเพื่อยกระดับความสามารถในการ แข่งขัน ระบบการผลิตอัตโนมัติมีความจำเป็นในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน ลดของเสีย ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ แก้ไขข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้น ลดความเสี่ยงในการส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์คืน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตด้วยกระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Automation Manufacturing) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้อง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้จัด “การประกวดผลงานด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อลดของเสียหรือประหยัด พลังงานในอุตสาหกรรม” โดยการสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อจัดแสดงในงานวันเทคโนโลยีและนวัตกรรมไทย ประจำปี 2555 และเพื่อพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดผลกระทบทางสังคม ในปี 2556 จึงได้ขยายขอบข่ายการประกวด โดยเพิ่มประเภทการประกวดหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับสังคมด้วย

หัวข้อการประกวด

  • หัวข้อที่ 1: การพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม
  • หัวข้อที่ 2: การพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อสังคม

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
ผู้เข้าร่วมประกวด จำเป็นต้องสมัครในนามคณะผู้แทนจากสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จำกัดเฉพาะในการศึกษาระดับปริญญาตรี โท หรือ เทียบเท่า ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าคณะผู้ประกวด จำเป็นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบแมคคาทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติ หรือสายวิชาด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์โดยตรง โดยการประกวดในนามสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงสุดในสถานศึกษา และทีมนิสิต นักศึกษาที่ร่วมในคณะผู้ร่วมประกวด จำเป็นต้องศึกษาภายในคณะที่อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้นำทีมสังกัดเท่านั้น ทั้งนี้ การเข้าร่วมประกวด ผู้สมัครจำเป็นต้องนำเสนอหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการยืนยันคุณสมบัติ โดย ศว. พว. จะพิจารณาและตอบรับการเข้าร่วมประกวดภายใน 1 สัปดาห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นิสิต นักศึกษาที่ศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง เฉพาะกลุ่มผู้ประกวดที่มีประสบการณ์เข้าร่วมการประกวดออกแบบหุ่นยนต์โดย ศว. พว. เช่น โครงการ Robot Design Contest; RDC จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

การสมัครและเงื่อนไขของการส่งผลงานเข้าประกวด

  • ผู้สมัครกรอกข้อมูลใน "แบบฟอร์มข้อเสนอผลงาน (Concept Paper)" โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มดังกล่าวเพื่อกรอกข้อมูลได้
  • ให้หัวหน้าทีมส่งแบบฟอร์ม พร้อมระบุประเภทที่สมัครให้ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ โดยสามารถเข้าสู่ระบบลงทะเบียนได้โดยคลิ๊กที่ช่อง  “ลงทะเบียน” ด้านล่างนี้ พร้อมทั้งกรอกข้อมูลของท่านในระบบจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วคลิ๊กปุ่ม e-paper ด้านขวาบน และคลิ๊กช่อง "New Concept Paper" เพื่อส่ง Concept Paper แล้วกรอกข้อมูลชื่อผลงาน เพิ่มชื่อสมาชิกในทีมและอาจารย์ที่ปรึกษาในระบบ พร้อมแนบไฟล์แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนในรูปของไฟล์ .pdf (Username ของหัวหน้าทีมจะสามารถล็อคอินเข้าใช้งานระบบได้คนเดียว)
  • จัดส่งข้อเสนอผลงานต่อทีมไม่จำกัดจำนวน
  • ใบสมัครและแบบฟอร์มข้อเสนอผลงาน (Concept Paper) 1 ชุด ต่อ 1 ผลงานเท่านั้น
  • 1 ผลงานจะได้รับเงินสนับสนุนการทำชิ้นงานสูงสุด 20,000 บาท โดยงวดแรกจะทยอยมอบให้แต่ละทีมภายหลัง"การประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอฯ" 5,000 บาท และงวดที่สองภายหลัง"ผู้เข้าประกวดส่งรายงานความก้าวหน้าฯ"อีกไม่เกิน 15,000 บาท  

หลักเกณฑ์การสมัคร

  • สมัครเป็นทีม แต่ละทีมประกอบด้วย นักศึกษา 2-4 ท่าน (แต่ละผลงานจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน) โดยสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของสมาชิกทีมแต่ละท่านที่จะส่งต้องมีการเรียนการสอนทางด้านระบบอัตโนมัติ และแมคคาทรอนิกส์ สอดคล้องตามคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากกิจกรรมการประกวดภายในประเทศที่มีมาก่อน

กำหนดการกิจกรรม

  • ประชาสัมพันธ์การประกวด 1 เม.ย.–30 มิ.ย. 57
  • รับสมัครข้อเสนอผลงาน (Concept Paper) 17 เม.ย.–30 มิ.ย. 57
  • ปฐมนิเทศผู้ส่งผลงาน 30 มิ.ย. 57
    • แนะนำกติกาการประกวด และคณะกรรมการแนะนำแนวทางพิชิตรางวัล
    • แต่ละทีมนำเสนอแนวคิดการสร้างชิ้นงาน (เดิม) และที่น่าจะปรับปรุงเพิ่มเติม
  • ประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอฯ 15-17 ก.ค. 57
  • อบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติ โดยสถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร [ไม่เสียค่าใช้จ่าย] ต้นเดือน ส.ค. 57
  • ผู้เข้าประกวดส่งรายงานความก้าวหน้า (อย่างคร่าวๆ) พร้อมภาพถ่ายชิ้นงาน(สภาพจริง ณ ตอนนั้น) 24 ก.ย. 57
  • ผู้เข้าประกวดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมชิ้นงาน 20 - 21 ต.ค. 57
  • ประกวดผลงานรอบชิงชนะเลิศ 30 ต.ค. 57
หัวข้อและรางวัลของการประกวด
  • หัวข้อที่ 1: การพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม
    • รางวัลชนะเลิศ: รางวัลละ 50,000 บาท และรางวัลพิเศษ รับสิทธิเข้าร่วมคณะศึกษาดูงานด้านระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีการผลิตที่รุดหน้าในต่างประเทศ*
    • รางวัลรองชนะเลิศ: รางวัลละ 30,000 บาท
    • รางวัลชมเชย: รางวัลๆ ละ 10,000 บาท
  • หัวข้อที่ 2: การพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อสังคม
    • รางวัลชนะเลิศ: รางวัลละ 50,000 บาท และรางวัลพิเศษ รับสิทธิเข้าร่วมคณะศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีชีวการแพทย์ในต่างประเทศ ดำเนินการจัดโดย TCELS
    • รางวัลรองชนะเลิศ: รางวัลละ 30,000 บาท
    • รางวัลชมเชย: รางวัลๆ ละ 10,000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

  • นายอัครพล สร้อยสังวาลย์
  • งานพัฒนากำลังคนด้านวัสดุศาสตร์
    ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
    114 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน
    ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
  • โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4679
  • E-mail: akrapols@mtec.or.th
  • Facebook: http://www.facebook.com/groups/RACMP/
Deadline: 
17 Apr 2014 10:00 to 30 Jun 2014 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.