การประกวดแข่งขันโครงการทางวิทยาศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ระดับมัธยมศึกษา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เชิญชวนนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา และต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี เข้าร่วม ประกวดแข่งขันโครงการทางวิทยาศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ระดับมัธยมศึกษา
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาได้นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานและสร้างโครงงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ
๒. เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านกิจการอวกาศ และเทคโนโลยีอวกาศแก่ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไป ผ่านทางผลงานที่เข้าร่วมประกวดการแข่งขัน
๓. เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ www.space.mict.go.th
เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การประกวดแข่งขัน
๑. คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน
๑.๑ ผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา และต้องมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี บริบรูณ์ในวันที่ส่งใบสมัคร (ถือวันเดือนปีที่ประทับตราโดยไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ)
๑.๒ การส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขันสามารถส่งผลงานเป็นทีมได้ โดยแต่ละทีมประกอบด้วยนักเรียนตามข้อ ๑.๑ ได้ทีมละไม่เกิน ๓ คน
๑.๓ การสมัครส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขันจะต้องส่งในนามของโรงเรียนหรือสถานศึกษา และต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาในสังกัดของโรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าว ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงงานและลงนามรับทราบเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การประกวดแข่งขัน
๒. คุณสมบัติและคุณลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน
๒.๑ ผลงานที่เป็นสื่อแอนิเมชั่น หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ผลงานเป็นสื่อแอนิเมชั่นหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่ไม่จำกัดเทคนิคหรือวิธีการ โดยผู้สมัครสามารถตั้งชื่อผลงานได้ตามความเหมาะสม โดยจะต้องประกอบไปด้วยภาพ พร้อมเสียงบรรยาย ภายใต้กรอบของเนื้อหาที่สนับสนุนส่งเสริมความรู้ด้านกิจการอวกาศ อาทิ แอปพลิเคชันพร้อมสาธิตการใช้งาน สื่อภาพยนตร์ สื่อคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เป็นต้น ทั้งนี้เนื้อหาต้องไม่พาดพิงปัญหาการเมืองในประเทศและศาสนา โดยมีความยาวไม่เกิน ๑๕ นาที และเป็นไฟล์ที่สนับสนุนการอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ ที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่าระดับวีจีเอ (VGA : 640 x 480) ทั้งนี้คุณภาพของไฟล์เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณา
๒.๒ ผลงานที่เป็นชิ้นงานสำหรับจัดแสดง ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ชิ้นงานเป็นผลงานที่เป็นวัตถุมั่นคงแข็งแรง(พร้อมฐานวางชิ้นงานสำหรับการจัดแสดง) ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ โดยสามารถเคลื่อนย้ายเพื่อนำมาเสนอต่อคณะกรรมการในการประกวดแข่งขันรอบสุดท้ายได้
๓. การส่งผลงานและจำนวนผลงาน
๓.๑ บุคคลหรือทีมผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการแข่งขัน จะต้องเป็นเจ้าของผลงานที่แท้จริง โดยไม่คัดลอกและละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น และไม่เคยได้รับรางวัลในสามลำดับแรกจากการประกวดแข่งขัน ณ ที่ใดมาก่อน
๓.๒ นักเรียนแต่ละคนมีชื่อร่วมในผลงานได้เพียง ๑ ผลงานเท่านั้น
๓.๓ สถานศึกษาหรือโรงเรียนแต่ละแห่ง สามารถส่งผลงานได้โดยไม่จำกัดจำนวนผลงาน
๔. คณะกรรมการดำเนินการประกวดแข่งขันโครงการทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ แต่งตั้งโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบท่าน และหนึ่งท่านทำหน้าที่ประธาน
๕. เกณฑ์การตัดสินผลงาน ทั้งในรอบคัดเลือก และการประกวดแข่งขันรอบสุดท้าย
๕.๑ คะแนนโดยรวมร้อยละ ๑๐๐ ประกอบด้วย
๕.๑.๑ ด้านเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ร้อยละ ๓๐
๕.๑.๒ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ ๒๐
๕.๑.๓ ด้านเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการสร้างผลงาน ร้อยละ ๒๐
๕.๑.๔ ด้านประโยชน์ของการนำไปใช้งานหรือนำไปต่อยอดความรู้ ร้อยละ ๑๕
๕.๑.๕ ด้านการนำเสนอผลงาน ร้อยละ ๑๕
๕.๒ คะแนนแต่ละด้านตามข้อ ๕.๑ เป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งหมดในแต่ละด้านที่ให้โดยคณะกรรมการดำเนินการประกวดแข่งขัน
๖. ผลการตัดสินของคณะกรรมการดำเนินการประกวดแข่งขัน ถือเป็นการสิ้นสุด
๗. สำนักงานกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเป็นผู้มอบทุนการศึกษา และ ใบประกาศเกียรติบัตร แก่ผู้ชนะการแข่งขัน
ทุนการศึกษาและค่าสนับสนุนการเข้าร่วมการแข่งขัน
๑. ทีมชนะเลิศ จำนวน ๑ รางวัล โดยประกอบด้วย
ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน ๒๐,๐๐๐ บาท
ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท
รวม ๓๐,๐๐๐ บาท
๒. ทีมรองชนะเลิศ ลำดับที่ ๑ จำนวน ๑ รางวัล โดยประกอบด้วย
ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน ๑๕,๐๐๐ บาท
ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ๗,๕๐๐ บาท
รวม ๒๒,๕๐๐ บาท
๓. ทีมรองชนะเลิศ ลำดับที่ ๒ จำนวน ๑ รางวัล โดยประกอบด้วย
ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน ๑๐,๐๐๐ บาท
ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ๕,๐๐๐ บาท
รวม ๑๕,๐๐๐ บาท
๔. ทีมรางวัลชมเชย จำนวน ๕ รางวัล โดยแต่ละรางวัลประกอบด้วย
ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน ๕,๐๐๐ บาท
ทุนการศึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ๒,๕๐๐ บาท
รวม ๗,๕๐๐ บาท
๕. ค่าสนับสนุนการเดินทางสำหรับการประกวดแข่งขันรอบสุดท้าย
๕.๑ จากกรุงเทพและปริมณฑล ทีมละ ๑,๐๐๐ บาท
๕.๒ จากภูมิภาค ทีมละ ๓,๐๐๐ บาท
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันรอบสุดท้ายจะได้รับทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติบัตรจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และจะได้รับเชิญเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ และวิทยากร ในนามสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม รวมทั้งทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวในวาระอื่นๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ
วิธีการส่งใบสมัครและผลงาน (รอบคัดเลือก)
๑. ส่งใบสมัคร ภายในวันและเวลาที่กำหนด
๒. ผลงานที่เป็นสื่อแอนิเมชั่น หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ให้ถ่ายทำเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแสดงการทำงานของผลงาน โดยจัดส่งในรูปแบบดีวีดี ภายในวันและเวลาที่กำหนดไว้
๓. ผลงานที่เป็นชิ้นงานสำหรับจัดแสดง ให้ถ่ายทำเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
๔. จัดส่งใบสมัครและผลงานได้ที่
โครงการทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
๑๔๐ ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย
เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๓๐
เผยแพร่ : http://www.contestwar.com