^ Back to Top

ประกวด "PIM AI Junior Challenge 2024" ตอน "AI for ALL แก้ปัญหาชีวิตประจำวันด้วย Computer vision"

ประกวด "PIM AI Junior Challenge 2024" ตอน "AI for ALL แก้ปัญหาชีวิตประจำวันด้วย Computer vision"

PIM Career Academy by PIM ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า สมัครเข้าร่วมการประกวด "PIM AI Junior Challenge 2024" ตอน "AI for ALL แก้ปัญหาชีวิตประจำวันด้วย Computer vision" ชิงเงินรางวัลและทุนการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มูลค่ารวมกว่า 5,000,000 บาท

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

  • กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
  • มีสมาชิกในทีม 2-4 คน / ทีม
  • สมาชิกในทีมต้องศึกษาอยู่สถานศึกษาเดียวกัน สามารถคละระดับชั้นได้
  • แต่ละทีมต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน

หมายเหตุ ไม่สามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกในทีมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาระหว่างการประกวดได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ และผู้สมัคร 1 คน สามารถสมัครได้ 1 ทีมเท่านั้น

รายละเอียดการส่งผลงาน

  • ทีมผู้สมัครจัดทำคลิปวีดีโอน าเสนอความยาวไม่เกิน 5 นาที จากนั้นอัพโหลดลง Google Drive (ของตนเอง) พร้อมเปิดสาธารณะ แล้วคัดลอก Link เพื่อแนบในแบบฟอร์มสมัครทาง Google Form หรือส่งมายัง E-Mail : awasayapor@pim.ac.th เพื่อให้คณะกรรมการรับชมและพิจารณาคัดเลือกต่อไป
  • ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาต้องเป็นผลงานที่ต่อยอดหรือสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ลอกเลียนแบบแนวความคิดมาจากบุคคลหรือคณะบุคคลใดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • ชิ้นงานต้องอยู่ในขั้นทำแบบจำลอง แต่มีความเป็นไปได้ในทางการสร้างชิ้นงานที่สามารถทำงานได้จริง
  • ซอฟแวร์ที่คาดว่าจะใช้ (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาต้องชี้แจงโดยละเอียดเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ผลงานจะสำเร็จ และเพื่อให้กรรมการสามารถให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลงานต่อไป

กำหนดการรับสมัครและการแข่งขัน

  • วันนี้ - วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567
    เปิดรับสมัครและเสนอโครงการ (รอบเสนอโครงการโดยอัดคลิปวีดีโอนำเสนอไอเดียสิ่งประดิษฐ์ ความยาวไม่เกิน 5 นาที)
  • วันจันทร์ที่16 กันยายน 2567
    ประกาศผลทีมที่ผ่านการพิจารณาเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (20 ทีม) ติดตามประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบได้ที่ Facebook Page : PIM Career Academy
  • วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567
    Training (ออนไลน์) สำหรับผู้ที่ผ่านการเข้ารอบชิงชนะเลิศ (20 ทีม)
  • วันเสาร์ที่ 21 กันยายน - วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
    ระยะเวลาพัฒนาซอฟแวร์
  • วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567
    การประกวดรอบชิงชนะเลิศ ณ Convention Hall 1-6 ชั้น 3 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถ.แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี

เงื่อนไขในการส่งผลงาน (รอบคัดเลือก)
คณะกรรมการจะทำการพิจารณาคัดเลือกผลงานผ่านคลิปวีดีโอน าเสนอแนวคิดสิ่งประดิษฐ์ความยาวไม่เกิน 5 นาที โดยก าหนดประเด็นพิจารณาไว้ 4 ด้าน เพื่อเป็นแนวทางส าหรับพิจารณา โดยการพิจารณาจากหลักเกณฑ์ด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านการนำเสนอโครงงาน ชื่อผลงาน, อธิบายแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์, อธิบายประโยชน์และคุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย(ผู้ใช้), แก้ปัญหาด้านใดหรือช่วยอ านวยความสะดวกอย่างไร
  • ด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ แปลกใหม่ ยังไม่มีผู้พัฒนาหรือคิดค้นมาก่อนหรือมีผู้พัฒนาแล้ว แต่นำมาเสนอหรือพัฒนาในแนวทางที่แตกต่างออกไป
  • ความยากง่ายในการพัฒนา ซอฟแวร์ที่คาดว่าจะใช้(เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา อาทิ Computer Graphic แบบวงจรไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ Source Code โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทคนิคที่ใช้มีความซับซ้อน หรือเทคโนโลยีใหม่ หรือใช้เทคนิคที่ไม่ซับซ้อน แต่ถ่ายทอดได้น่าสนใจ
  • ความเป็นไปได้และประโยชน์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง สามารถพัฒนาต่อยอดได้

วิธีการสมัคร

  • ผู้สมัครทำการแสกน QR Code เพื่อดูรายละเอียด กติกา และกรอกข้อมูลการสมัคร
  • ทีมผู้สมัครจัดท าคลิปวีดีโอนำเสนอความยาวไม่เกิน 5 นาที จากนั้นอัพโหลดลง Google Drive (ของตนเอง) โดยบันทึกชื่อ ชื่อทีม_ชื่อโรงเรียน ตัวอย่าง ทีมพีไอเอ็ม_สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมเปิดสาธารณะ แล้วคัดลอก Link เพื่อแนบในแบบฟอร์มสมัครทาง Google Form หรือส่งมายัง E-Mail : awasayapor@pim.ac.th เพื่อให้คณะกรรมการรับชมและพิจารณาคัดเลือกต่อไป (สามารถส่งไฟล์การสมัครได้ถึงวันที่ 8 กันยายน 2567 ก่อนเวลา 17.00 น. เท่านั้น)
  • โทรแจ้งผู้ประสานงานโครงการฯ เพื่อยืนยันการสมัคร ได้ที่ : คุณอวัศยา (พี่น้ำฝน) โทรศัพท์ 02 855 1475, 062 553 5619

หลักเกณฑ์การพิจารณา รวมทั้งสิ้น 100

  • ด้านความคิดสร้างสรรค์ 30 คะแนน
  • ความเป็นไปได้และประโยชน์ในการใช้งาน 25 คะแนน
  • ความยากง่ายในการพัฒนา 25 คะแนน
  • ด้านการน าเสนอโครงงาน 20 คะแนน

หมายเหตุ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกร้องไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

รางวัลรอบชิงชนะเลิศ

  • ชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท และทุนการศึกษา
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(สาขาใดก็ได้)
    • ประเภททุนพีไอเอ็ม 50% มูลค่า 251,250 บาท และเกียรติบัตร
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท และทุนการศึกษา
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(สาขาใดก็ได้)
    • ประเภททุนพีไอเอ็ม 50% มูลค่า 251,250 บาท และเกียรติบัตร
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท และทุนการศึกษา
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(สาขาใดก็ได้)
    • ประเภททุนพีไอเอ็ม 40% มูลค่า 201,000 บาท และเกียรติบัตร
  • ชมเชย เงินรางวัล 5,000 บาท และทุนการศึกษา
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(สาขาใดก็ได้)
    • ประเภททุนพีไอเอ็ม 40% มูลค่า 201,000 บาท และเกียรติบัตร

**คณะวิศกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 5 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์, วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, วิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ, วิศวกรรมการผลิตยานยนต์
หมายเหตุ

  • ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ที่มีเงินได้จากการประกวดไม่ว่ากิจใดๆ จะต้องชำระภาษี หักณ ที่จ่ายในอัตรา 5% ของเงินรางวัลที่ได้รับ
  • ทุนการศึกษาที่ได้รับ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงิน/ทรัพย์สิน หรือบริการใดๆ และไม่สามารถมอบหรือโอนให้ผู้อื่นไม่ว่ากรณีใดๆ
  • ผู้เข้าประกวดและอาจารย์ที่ปรึกษาทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จะได้รับใบเกียรติบัตรจากสถาบันฯ ทุกท่าน

ติดต่อสอบถาม

  • คุณอวัศยา (พี่น้ำฝน) โทร: 062-553-5619
  • Line ID: yingfon2018

ข่าวประชาสัมพันธ์ : คุณอวัศยา พรเจริญ / สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)

File attachments: 
Deadline: 
11 Aug 2024 08:30 to 08 Sep 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.