ประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๗ : Sport Science Innovation Contest 2024
กรมพลศึกษา ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๗ : Sport Science Innovation Contest 2024 ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม ๙๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสแสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ทางการกีฬา รวมไปถึงเป็นการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คํานิยาม
"นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา" หมายถึง ผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น อุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกําลังกาย หรือการพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย หรือการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
"คณะกรรมการตัดสิน" หมายถึง คณะกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๗
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- มีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปี ขึ้นไป (เกิดก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑)
- ไม่จํากัดเพศ
คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องสร้างสรรค์ขึ้นจากแนวคิดของผู้สมัครเองเท่านั้น
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องมีความแปลกใหม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการคิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือ พัฒนาระบบการทํางานจากผลงานสิ่งประดิษฐ์เดิม โดยที่ผู้เป็นเจ้าของผลงานจะต้องสามารถนําเสนอแนวคิดที่ส่งผลให้เกิดความแปลกใหม่นั้นขึ้นมาได้
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ผลิตขึ้นต้องใช้งานได้จริง และสามารถแสดงวิธีการใช้งานได้จริง ตามวัตถุประสงค์ของการผลิต
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สินของผู้ใด
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ลอกเลียนแบบสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร หรือผลงานสิ่งประดิษฐ์ของผู้ใด
- มีสัญชาติไทย
- ผู้สมัครสามารถส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวดได้ทั้งในนามบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล สถาบันการศึกษา หรือองค์กร
- ผู้สมัครสามารถสมัครในรูปแบบเดี่ยวหรือทีมก็ได้ หากสมัครในรูปแบบทีมต้องมีสมาชิกจํานวนไม่เกิน ๘ คน
- หากผู้สมัครสมัครเข้าร่วมการประกวดเป็นประเภททีมมีสิทธิเข้าร่วมการประกวดได้ ๑ คน ต่อ ๑ ทีม เท่านั้น
เอกสารหลักฐานการสมัคร
- ในการสมัครเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้ผู้สมัครยื่นเอกสารหลักฐานการสมัครดังต่อไปนี้
- ใบสมัครตามที่กําหนดไว้
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย เลขบัตรประจําตัวประชาชน และปี พ.ศ. เกิดของผู้สมัคร หรือ
- สําเนาบัตรนักเรียน นักศึกษา ที่ยังไม่หมดอายุ อย่างน้อย ๒ เดือน นับจาก วันสิ้นสุดการสมัคร และผู้ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา กรุณาระบุ พ.ศ. เกิดของผู้สมัคร
- คลิปวิดีโอผลงานสิ่งประดิษฐ์ โดยผู้สมัครต้องอธิบายถึงผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่ส่งเข้าประกวด มีความยาว ๕ - ๑๐ นาที และคลิปวิดีโอผลงานสิ่งประดิษฐ์ต้องมีเนื้อหาตรงกันกับที่กําหนดไว้ในใบสมัคร
จํานวนผู้สมัคร
- ประเภทเดี่ยว
- ให้ถือว่าผู้สมัครเป็นผู้ประสานงาน โดยให้ระบุรายละเอียดในชื่อผู้ประสานงานด้วย
- ประเภททีม
- ประกอบด้วย ผู้สมัคร ผู้ประสานงานของทีม จํานวน ๑ คน รวมทั้งหมดต้องไม่เกิน ๘ คน
- ให้กําหนดรายชื่อผู้ประสานงานของทีม จํานวน ๑ คน อาจเป็นผู้สมัครคนใด คนหนึ่งก็ได้โดยให้แจ้งชื่อของผู้ประสานงาน พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ และอีเมลของผู้นั้น
การรับสมัครเข้าประกวด
- ยื่นใบสมัครและเอกสารหลักฐานการสมัครที่อีเมล saraban@dpe.go.th พร้อมลิงค์คลิปวิดีโอผลงานสิ่งประดิษฐ์ โดยให้ผู้สมัครทําการอัพโหลดลงใน เว็บไซต์ www.youtube.com ของผู้สมัครเอง ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗
- ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครและเอกสารหลักฐานการสมัคร พร้อมเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ โดยผู้สมัครต้องทําการกรอกข้อมูลลงในใบสมัครให้ครบถ้วนทั้งส่วนที่ ๑ ส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓ ทั้งนี้ ให้ยื่นใบสมัครและเอกสารหลักฐานการสมัคร ในการเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๑ ฉบับต่อ ๑ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เท่านั้น
- เมื่อพ้นกําหนดเวลารับสมัคร หากเอกสารหลักฐานการสมัครของผู้ใดไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือว่าสละสิทธิ์การเข้าร่วมการประกวด หากปรากฏว่าเอกสารหลักฐานการสมัครใดเป็นเท็จ ถือว่าการสมัครครั้งนั้นเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรก
กติกาการประกวด
- รอบคัดเลือก
- คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากรายละเอียดการนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์จากใบสมัคร และเอกสารหลักฐานการสมัคร
- รอบชิงชนะเลิศ
- คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจากคุณภาพของรูปแบบในการทํางานจริงที่นํามาจัดแสดงในวันประกวดรอบชิงชนะเลิศ ตามที่ผู้สมัครได้นําเสนอไว้ในเอกสารหลักฐานการสมัครเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และได้ทําการปรับปรุงผลงานสิ่งประดิษฐ์ ตามคําแนะนําของคณะกรรมการตัดสิน
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมการประกวดต้องยินยอมให้กรมพลศึกษาเปิดเผย และเผยแพร่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และยินยอมให้นําผลงานสิ่งประดิษฐ์จัดแสดงในงานประกาศผลและมอบรางวัล ๗.๔ ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมพลศึกษากําหนด หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกตัดสิทธิ์ในการประกวด
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้สมัครส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ อาจเคยหรือไม่เคยส่งเข้าร่วม การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของกรมพลศึกษามาก่อนก็ได้ โดยผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่เคยส่งเข้าร่วมการประกวดแล้ว จะต้องมีการพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมจากผลงานสิ่งประดิษฐ์เดิม
- กรมพลศึกษามีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงกติกาการประกวดได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม
- กรมพลศึกษา ขอสงวนสิทธิ์ในการกําหนดและปรับยอดเงินรางวัล ตามความเหมาะสมของคุณภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์
การจัดการประกวด แบ่งเป็น ๒ รอบ ดังนี้
- รอบคัดเลือก
- กรมพลศึกษาจะทําการคัดเลือกในวันที่ ๖ ถึงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อคัดเลือกทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จํานวน ๑๐ ทีม
- กรมพลศึกษาจะประกาศทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ภายในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ผ่านเว็บไซต์ดังนี้
- www.dpe.go.th เมนู ข่าวองค์กร > ข่าวสารองค์กร > ข่าวด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
- www.sportscience.dpe.go.th
- www.facebook.com/สํานักวิทยาศาสตร์การกีฬากรมพลศึกษา
- รอบชิงชนะเลิศ
- กรมพลศึกษากําหนดจัดการประกวดรอบชิงชนะเลิศในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยกําหนดจัดการประกวด ณ อาคารกีฬานิมิบุตร ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
- ในวันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศทีมที่ผ่านรอบคัดเลือกทุกทีม จะต้องมาจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ การกีฬา ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. และผู้สมัครต้องอยู่ ณ บูทที่จัดแสดงตลอดเวลาตั้งแต่ รายงานตัวจนจบการประกวดฯ
- ผู้สมัครแต่ละคนหรือแต่ละทีมต้องใช้เวลาในการประกวด โดยแบ่งเวลาออกเป็น ๒ ช่วง ดังนี้
- ช่วงเวลาในการนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ไม่เกิน ๑๐ นาที หากผู้ใดหรือทีมใดใช้เวลามากกว่าที่กําหนดจะทําการหักคะแนน นาทีละ ๑ คะแนน ทั้งนี้ เศษของวินาทีให้คิดเป็น ๑ นาที
- ช่วงเวลาในการตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการตัดสิน ๑๐ นาที
- เริ่มจับเวลาและให้คะแนนเมื่อเริ่มนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์
- ผู้ที่สนใจสามารถรับชมผ่าน Facebook Fanpage "สํานักวิทยาศาสตร์ การกีฬา กรมพลศึกษา" หรือที่เว็บไซต์ www.facebook.com/สํานักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา
เกณฑ์การให้คะแนน
- เกณฑ์การให้คะแนนรอบคัดเลือก
- คุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๔๐ คะแนน
- สามารถนําไปใช้งานได้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ ของการประดิษฐ์ (Feasibility)
- เกิดประโยชน์ตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์สามารถแสดงการทํางานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวคิดของเจ้าของผลงานเอง (Creativity)
- มีความแปลกใหม่ในด้าน Physical หรือ Functional โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานสามารถอธิบายถึงความแปลกใหม่นั้นได้
- ความเหมาะสมด้านการออกแบบผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- รูปแบบของผลงานสิ่งประดิษฐ์กับการนําไปใช้งานมีความเหมาะสม
- การออกแบบ เทคนิค และระบบการทํางานมีความเหมาะสม
- อาศัยองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการประดิษฐ์
- การใช้วัสดุในการผลิตผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- วัสดุที่นํามาใช้สอดคล้องกับรูปแบบการทํางาน
- ใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศ และมีราคาไม่สูงจนเกินความสามารถในการทํางาน
- ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบกับสิ่งแวดล้อม
- คุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๔๐ คะแนน
- เกณฑ์การให้คะแนนรอบชิงชนะเลิศ
- คุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- สามารถนําไปใช้งานได้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ ของการประดิษฐ์ (Feasibility)
- เกิดประโยชน์ตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา
- ผลงานสิ่งประดิษฐ์สามารถแสดงการทํางานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวคิดของเจ้าของผลงานเอง (Creativity)
- มีความแปลกใหม่ในด้าน Physical หรือ Functional โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานสามารถอธิบายถึงความแปลกใหม่นั้นได้
- ความเหมาะสมด้านการออกแบบผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- รูปแบบของผลงานสิ่งประดิษฐ์กับการนําไปใช้งานมีความเหมาะสม
- การออกแบบ เทคนิค และระบบการทํางานมีความเหมาะสม
- อาศัยองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการประดิษฐ์
- การใช้วัสดุในการผลิตผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- วัสดุที่นํามาใช้สอดคล้องกับรูปแบบการทํางาน
- ใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศ และมีราคาไม่สูงจนเกิน ความสามารถในการทํางาน
- ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบกับสิ่งแวดล้อม
- ความสมบูรณ์ของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
- คุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ๒๐ คะแนน
การตัดสิน
กรมพลศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๗ จํานวนหนึ่งคณะ โดยมีหน้าที่ตัดสินคัดเลือกทีมในรอบคัดเลือก และรอบ ชิงชนะเลิศ และให้อยู่ในตําแหน่งจนกว่าการดําเนินการเกี่ยวกับการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ การกีฬา ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๗ (Sport Science Innovation Contest 2024) จะแล้วเสร็จ
หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการตัดสิน ให้ถือเป็นที่สุด
รางวัลสําหรับการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ จํานวน ๑ รางวัล จะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล จํานวน ๓๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อับดับ ๑ จํานวน ๑ รางวัล จะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล จํานวน ๒๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อับดับ ๒ จํานวน ๑ รางวัล จะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล จํานวน ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย จํานวน ๗ รางวัล จะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล จํานวน ๕,๐๐๐ บาท
ติดต่อสอบถาม
- กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีทางการกีฬา สํานักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา
- หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๙ ๒๖๗๑ ในวันเวลาราชการ