ประกวดพูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น หัวข้อ "เมืองไทยที่ฉันอยากเห็น คนไทยที่ฉันอยากเป็น"
Submitted by mod on Fri, 2024-01-05 17:30
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สมัครเข้าร่วมการประกวดพูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น หัวข้อ "เมืองไทยที่ฉันอยากเห็น คนไทยที่ฉันอยากเป็น" ชิงรางวัล "ราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญ" พร้อมทุนการศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวดและการสมัครเข้าประกวด
- ผู้เข้าประกวดต้องเป็นนักเรียนที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๑ ถึง ม. ๓) และไม่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดพูดเล่าเรื่องของสํานักงานราชบัณฑิตยสภา
- โรงเรียนที่ประสงค์จะส่งนักเรียนเข้าประกวด สามารถส่งนักเรียนได้เพียง ๑ (หนึ่ง) คน โดยส่งใบสมัครพร้อมไฟล์วีดิทัศน์ที่บันทึกการพูดเล่าเรื่อง ซึ่งมีทั้งภาพและเสียงของนักเรียนผู้เข้าประกวดพูดเล่าเรื่องหัวข้อ “เมืองไทยที่ฉันอยากเห็น คนไทยที่ฉันอยากเป็น” ที่แสดงความสามารถในการใช้ภาษา มีเนื้อหาที่ผู้ฟัง ประทับใจ และเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย บันทึกวีดิทัศน์ลงแผ่นดีวีดีหรือวัสดุวีดิทัศน์อื่นใดที่มีการ บันทึกภาพและเสียงได้โดยมีคุณภาพทัดเทียมกัน โดยถ่ายทําต่อเนื่อง ห้ามตัดต่อ ห้ามแทรกภาพหรือเสียง อื่นใดเพิ่มเติม การบันทึกต้องมีภาพและเสียงชัดเจน ไม่สั่นไหว มีความยาวประมาณ ๕ นาทีแต่ไม่เกิน ๗ นาที ด้วยไฟล์ที่สามารถเปิดได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (สมาร์ตโฟน) ทั่วไป เช่น AVI, MP4, VLC, WMV, 3GP, FLV (หมายเหตุ การบันทึกวีดิทัศน์ควรบันทึกในสถานที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน)
- ส่งใบสมัครพร้อมไฟล์วีดิทัศน์ได้ ๒ ช่องทางดังนี้
- ทางไปรษณีย์ ส่งใบสมัครพร้อมแผ่นดีวีดีหรือวัสดุวีดิทัศน์อื่นใดที่มีการบันทึกภาพและเสียงได้ โดยมีคุณภาพทัดเทียมกัน จํานวน ชุด ซึ่งเป็นไฟล์ที่สามารถเปิดได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (สมาร์ตโฟน) ทั่วไป เช่น AVI, MP4, VLC, WMV, 3GP, FLV ไปที่โครงการรู้ รัก ภาษาไทย สํานักงานราชบัณฑิตยสภา สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ ภายในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ (กําหนดวันที่ไปรษณีย์ต้นทางประทับตราลงรับเป็นสําคัญ)
- ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) อัปโหลดไฟล์วีดิทัศน์ในเว็บไซต์ยูทูบ (youtube.com) จากนั้นส่งลิงก์พร้อมไฟล์ใบสมัครไปที่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) orst2565@gmail.com ภายในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗
วิธีการคัดเลือก
- สํานักงานราชบัณฑิตยสภาจะจัดประกวดนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวม ๔ กลุ่ม (๖ ภาค*) ได้แก่
- กลุ่มที่ ๑ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก พูดเล่าเรื่องด้วย ภาษาไทยมาตรฐาน
- กลุ่มที่ ๒ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ พูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ
- กลุ่มที่ ๓ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน พูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน
- กลุ่มที่ ๔ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ พูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคใต้
- นักเรียนผู้เข้าประกวด โรงเรียนต้นสังกัด และครูผู้ฝึกสอนทุกโรงเรียน จะได้รับเกียรติบัตรในฐานะที่เข้าร่วมกิจกรรมการประกวด
หมายเหตุ*
- อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยของสํานักงานราชบัณฑิตยสภา แบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
- ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- ภาคตะวันออก ๗ จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคตะวันตก ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
- ภาคเหนือ ๙ จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์
- ภาคอีสาน ๒๐ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลําภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อํานาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคใต้ ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง ภูเก็ต สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
- ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง สํานักงานราชบัณฑิตยสภาจะถือตามหลักเกณฑ์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหลัก
รอบการประกวด
- รอบคัดเลือก
สํานักงานราชบัณฑิตยสภาจะพิจารณาคัดเลือกจากไฟล์วีดิทัศน์ที่โรงเรียนส่งเข้าประกวด โดยคัดเลือกนักเรียนเข้ารอบชิงชนะเลิศกลุ่มละ ๑๐ คน - รอบชิงชนะเลิศ
- นักเรียนผู้เข้าประกวดที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในแต่ละกลุ่มต้องพูดเล่าเรื่องเดิมในรอบแรก ใช้เวลาประมาณ ๕-๗ นาที ต่อหน้าคณะกรรมการคัดเลือกของสํานักงานราชบัณฑิตยสภา และจะกระจายเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุที่สามารถรับฟังได้พร้อมกันทั้ง ๔ ภูมิภาค ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สํานักงานราชบัณฑิตยสภากําหนด (ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗)
- นักเรียนผู้เข้าประกวดที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในแต่ละกลุ่มต้องมาลงทะเบียนภายในเวลาที่สํานักงานราชบัณฑิตยสภากําหนดและแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ โดยจะบันทึกวีดิทัศน์ผู้เข้าประกวดทุกรายไว้เป็นหลักฐาน
- เมื่อลงทะเบียนแล้วคณะกรรมการจะจัดให้มีการจับฉลากเพื่อเรียงลําดับนักเรียนผู้เข้าประกวด นักเรียนที่มาลงทะเบียนไม่ทัน คณะกรรมการอาจใช้ดุลพินิจจัดลําดับให้เข้าประกวดต่อจากผู้ที่จับฉลากได้ ตามที่เห็นสมควร
- นักเรียนผู้เข้าประกวดที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกที่ไม่มาประกวดในรอบสุดท้าย ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด หรือมาลงทะเบียนไม่ทันกําหนดเวลา ถือเป็นการสละสิทธิ์
หลักเกณฑ์การพิจารณาและตัดสินการประกวด
- นักเรียนที่เข้าประกวดต้องพูดเล่าเรื่องหัวข้อ “เมืองไทยที่ฉันอยากเห็น คนไทยที่ฉันอยากเป็น” ที่แสดงถึงความคิดความเห็นของเยาวชนที่แสดงถึงความคิดความเห็น ทัศนะ มุมมอง และ ความภาคภูมิใจที่มีต่อ ประเทศไทยและคนไทย ในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือหลายประเด็นที่ผู้เข้าประกวดสนใจ เช่น การมีรากเหง้า ทางประเพณี วัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ การมีจรรยามารยาท ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือค่านิยมอื่น ๆ ที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนาน และมีแนวทางที่จะสืบสานเรื่องดังกล่าวให้ดํารงคงไว้คู่ประเทศไทยได้อย่างไร ด้วย ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือภาคใต้ ในเวลาที่กําหนด
- คณะกรรมการจะพิจารณาจากความสามารถในการใช้ภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาไทยถิ่น มีเนื้อหาที่ ผู้ฟังประทับใจ และมีลีลาในการพูดเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัยเป็นหลัก การแต่งกายหรือการจัดฉาก หรืออุปกรณ์ประกอบ ไม่มีผลต่อการให้คะแนนของคณะกรรมการ โดยมีหลักเกณฑ์การให้คะแนนในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
- ความสามารถในการใช้ภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาไทยถิ่น (๔๐ คะแนน)
- มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ (๓๐ คะแนน)
- มีลีลาในการพูดเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย (๓๐ คะแนน)
รางวัลและการรับรางวัล
- นักเรียนผู้ชนะการประกวดในแต่ละกลุ่มจะได้รับรางวัลดังนี้
- รางวัลชนะเลิศ : รางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญ พร้อมทุนการศึกษา ๑๒,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ : รางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญ พร้อมทุนการศึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ : รางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญ พร้อมทุนการศึกษา ๘,๐๐๐ บาท
- รางวัลชมเชย ๗ รางวัล : ทุนการศึกษา ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ และรองชนะเลิศอันดับ ๒ ในแต่ละกลุ่มต้องมารับรางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญและทุนการศึกษา ณ สถานที่จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติของสํานักงานราชบัณฑิตยสภา ประจําพุทธศักราช ๒๕๖๗ นักเรียนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ไม่มารับรางวัลโดยไม่มีเหตุอันควร อาจถูกพิจารณาตัดสิทธิ์ในการรับทุนการศึกษา
ค่าเดินทางและค่าที่พัก
- นักเรียนผู้เข้าประกวดที่เข้ารอบสุดท้ายซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่จัดการประกวด และผู้ติดตามไม่เกิน ๒ คน เท่าที่จ่ายจริงแต่รวมทั้งสิ้นไม่เกินโรงเรียนละ ๒,๐๐๐ บาท
- นักเรียนผู้เข้าประกวดที่เข้ารอบสุดท้ายซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่นอกเขตจังหวัดที่จัดการประกวด และผู้ติดตามไม่เกิน ๒ คน เท่าที่จ่ายจริงแต่รวมทั้งสิ้นไม่เกินโรงเรียนละ ๔,๐๐๐ บาท
- นักเรียนผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ และรองชนะเลิศอันดับ ๒ ในแต่ละกลุ่ม และผู้ติดตามไม่เกิน ๒ คนที่เดินทางมารับรางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญจะได้รับค่าเดินทางตามที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกินโรงเรียนละ ๖,๐๐๐ บาท
- นักเรียนผู้เข้าประกวดและผู้ติดตามไม่เกิน ๒ คน ที่พักค้างคืนก่อนหรือหลังวันประกวด หรือวันรับรางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญ จะได้รับค่าที่พักตามที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกินโรงเรียนละ ๒,๐๐๐ บาท
ติดต่อสอบถาม
- หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๐๕ ๔๐๕๘
- OpenChat "ประกวดพูดเล่าเรื่อง ๒๕๖๗"
Contest Type:
Eligibility:
Contest's URL:
Downloads:
File attachments:
Deadline:
05 Jan 2024 08:30 to 29 Feb 2024 16:30
Published by: