แข่งขันการออกแบบแนวคิดด้านความยั่งยืน "โครงการ CHOICEISYOURS 2023"
BMW Group Thailand ร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนา, Microsoft Thailand, SCG, Central Group, Delta Electronics (Thailand) และ Noble Development ขอเชิญนิสิต นักศึกษา สมัครเข้าร่วมการแข่งขันการออกแบบแนวคิดด้านความยั่งยืน "โครงการ CHOICEISYOURS 2023" ชิงโอกาสฝึกงานกับ 6 องค์กรระดับโลก
หัวข้อในการแข่งขัน
"CIRCULARITY FOR COMMUNITY"
- โครงการ CHOICEISYOURS ในปี 2566 มุ่งส่งเสริมแนวคิดด้านความยั่งยืนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของสังคมหรือชุมชน* (*ชุมชน หมายถึงกลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์ อุดมคติ หรือความเชื่อร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีการติดต่อสื่อสารกัน หรือมีการรวมกลุ่มกัน โดยไม่จำกัดว่าเป็นการรวมกลุ่มในทางกายภาพเท่านั้น )โดยนักศึกษาจะต้องนำเสนอแนวคิดหรือโครงการที่มีการบูรณาการแนวคิดด้าน Circular Economy และสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในชุมชนนั้น ๆ ได้จริง รวมถึงสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมหรือชุมชนได้ในระยะยาว
- หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หมายถึง การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากร ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยที่สุด ซึ่งสำหรับโครงการ CHOICEISYOURS ผลงานที่ผู้สมัครนำเสนอเข้ามาจะต้องแสดงถึงการประยุกต์ใช้แนวคิด Circular Economy และสามารถสร้างประโยชน์ด้านความยั่งยืนต่อแนวคิด พฤติกรรม หรือกระบวนการ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมหรือการใช้ชีวิตของสมาชิกชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ โดยมีแนวคิดหลัก 4 หัวข้อ ได้แก่
- REduce
แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมุ่งเน้นแนวคิด "ลดเพื่อเพิ่ม" ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้วัสดุหรือทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง หรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะสามารถลดการสร้างขยะ มลพิษ และของเสียต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น เช่น แนวคิดการกำจัดขยะโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (zero-waste-to-landfill) และความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon-neutral) - REuse
การนำทรัพยากรที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด เพื่อรักษาทรัพยากรให้คงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เช่น การยืดอายุวงจรผลิตภัณฑ์ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ผ่านการ ใช้ซ้ำ หรือการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาออกแบบและใช้งานใหม่โดยที่ยังคงคุณค่าเดิมของทรัพยากรไว้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด - REthink
การนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน ปรับเปลี่ยน หรือสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ที่เสริมสร้างความยั่งยืน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าในระดับบุคคล องค์กร หรือสังคมในภาพรวม - REcycle
การนำทรัพยากรที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่ โดยหัวใจสำคัญของการ Recycle ที่แตกต่างจากการ Reuse คือ เป็นการจัดการของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ หรือปรับปรุงคุณภาพ ให้กลับมามีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม หรือให้ได้วัตถุดิบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่อาจเปลี่ยนจุดประสงค์ในการ ใช้งาน เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ทรัพยากร และสร้างการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างยั่งยืน
- REduce
คุณสมบัติของผู้สมัครและข้อกำหนดในการรับสมัคร
- เปิดรับสมัครทีมแข่งขันโดย 1 ทีมประกอบด้วยสมาชิก 2 คนโดยไม่จำเป็นต้องมาจากสถาบันการศึกษาเดียวกัน
- ผู้สมัครต้องมีสถานะเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ในประเทศไทยในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร โดยแนบสำเนาบัตรนักศึกษาที่ออกให้โดยสถาบันการศึกษาเป็นหลักฐานยืนยัน ซึ่งรวมถึงนักศึกษานานาชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน นักศึกษาฝึกงาน และมีเงื่อนไขว่าผู้สมัครต้องสามารถมาเข้าร่วมการแข่งขันด้วยตนเองในรอบสุดท้ายในวันที่กำหนดหลังจากผ่านการเข้ารอบสุดท้าย และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการเดินทางจนสิ้นสุดการแข่งขัน
- ไม่จำกัดสัญชาติ มีอายุระหว่าง 18 ถึง 26 ปีบริบูรณ์ในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องไม่มีสายสัมพันธ์ทางครอบครัว (พี่ น้อง บุตร) กับคณะกรรมการตัดสิน หรือคณะกรรมการจัดงานทุกฝ่าย
กำหนดการการแข่งขัน
- เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ - 9 กรกฎาคม 2566
- ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบ 24 กรกฎาคม 2566
- กิจกรรมปฐมนิเทศ 5 สิงหาคม 2566
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม / ทัศนศึกษา ณ สถานปฏิบัติงานของบริษัทที่คัดเลือก / ช่วงการทดลอง สิงหาคม – ตุลาคม 2566
- นำเสนอผลงานกับคณะกรรมการตัดสิน 3 พฤศจิกายน 2566
- งานประกาศรายชื่อทีมที่ได้คะแนนสูงสุด การเลือกองค์กรในการร่วมฝึกงาน และมอบรางวัล 7 พฤศจิกายน 2566
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
วิธีการสมัคร
- กรอกข้อมูลการสมัครในแบบฟอร์ม https://forms.office.com/r/MiWr1smFuJ
- นำเสนอแนวคิดโครงการตามหัวข้อที่เลือกสมัคร โดยจะต้องระบุรายละเอียดโครงการ จุดประสงค์ ปัญหาที่ต้องการแก้ไข แนวทางการแก้ปัญหา แผนการทดลอง และผลลัพธ์ที่คาดหวังโดยสังเขป ความยาวไม่เกิน 200 คำ
- วีดีโอแนะนำทีมและนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงการ พร้อมแผนการทดลองโดยสังเขป โดยผู้สมัครจะต้องอัปโหลดวีดีโอลง YouTube จากนั้นนำลิ้งค์มากรอกในแบบฟอร์มนี้ วีดีโอจะต้องมีความยาวไม่เกิน 2 นาที ในภาษาไทยหรืออังกฤษ
- คณะกรรมการสามารถเรียกดูสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือหลักฐานยืนยันจากสถาบันศึกษาต้นสังกัด จากผู้เข้าแข่งขันได้ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน
เกณฑ์การตัดสิน
การแข่งขันในรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ ในเวลาทีมละ 5 นาที และอีก 10 นาทีสำหรับช่วงถาม-ตอบกับคณะกรรมการตัดสิน ส่วนหลักเกณฑ์การให้คะแนนจะตัดสินภายใต้เกณฑ์หลัก 4 ข้อ (100 คะแนน) ดังนี้
- การประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ Circular Economy (40 คะแนน)
- การนำแนวคิดไปใช้ได้จริง (30 คะแนน)
- การทดลอง (15 คะแนน)
- แนวความคิดสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
- คะแนนพิเศษ (10 คะแนน)
รางวัลการแข่งขัน
- ทีมผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสูงสุด 6 ทีม จะได้รับโอกาสในการเลือกฝึกงานกับหนึ่งใน 6 องค์กรพาร์ทเนอร์ของโครงการ โดยให้สิทธิในการเลือกตามลำดับทีมที่ได้คะแนนสูงที่สุดไปจนถึงทีมที่ได้คะแนนลำดับที่ 6 โดยองค์กรที่ถูกเลือกไปแล้วจะไม่สามารถเลือกซ้ำได้อีก
- พาร์ทเนอร์ทั้ง 6 องค์กรที่เปิดโอกาสให้ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 6 อันดับเลือกฝึกงาน ได้แก่
- BMW Group Thailand
- Microsoft Thailand
- SCG
- Central Group
- มูลนิธิชัยพัฒนา
- Delta Electronics (Thailand)
- Noble Development
หมายเหตุ สำหรับทุกทีมผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบคัดเลือกและร่วมกิจกรรมการแข่งขันจนจบโครงการ จะได้รับใบประกาศรับรองการเข้าร่วมแข่งขันจากทั้ง 7 องค์กร
เงื่อนไข/ข้อตกลง
- ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ด้วยตนเอง โดยต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หรือไม่ส่งผลงานของผู้อื่นเพื่อใช้สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ หากมีการนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นมาใช้ประกอบ เช่น รูปภาพ เนื้อหา บทความ ผลงานวิจัย ขอให้ระบุการอ้างอิงที่ชัดเจนและถูกต้อง หากทีมผู้เข้าแข่งขันฝ่าฝืนไม่กระทำตามที่ระบุข้างต้น จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง อาทิ ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมและค่าทนายความ
- ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันในวัน เวลา ตามที่ผู้จัดกำหนด
- ผลงานของทีมที่เข้าแข่งขันยังคงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันยินยอมให้ผู้จัดงานใช้ลิขสิทธิ์ในผลงานต้นแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการแข่งขันในครั้งนี้ รวมถึงไฟล์ต้นฉบับทั้งหมด ตลอดจนสิทธิอื่นใดในผลงานดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในการแข่งขันในสื่อต่าง ๆ เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ หรือการใช้งานอื่น ๆ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิจัยพัฒนา และเผยแพร่ชื่อเสียง
- ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรือไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขข้างต้น ผู้จัดงานสามารถตัดสิทธิ์หรือเพิกถอนผลการตัดสิน และเรียกคืนรางวัล/ใบประกาศรับรองการแข่งขันทั้งหมดได้
- ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน ยอมรับว่าการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด และยินดียอมรับผลการตัดสิน รวมถึงกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการตัดสินทุกประการ
- ผลงานที่ร่วมกิจกรรมต้องเป็นผลงานที่ผู้เข้าแข่งขันสร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยไม่เคยชนะการประกวดในเวทีหรือรายการอื่นใดมาก่อน
ติดต่อสอบถาม
www.facebook.com/CHOICEISYOURS2023