^ Back to Top

การบรรยาย หัวข้อ “‘Coomaraswamyนี่คือใคร?’:ปณิธานชีวิตของ Durai Raja Singamและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพลัดถิ่น”

การบรรยาย หัวข้อ “‘Coomaraswamyนี่คือใคร?’:ปณิธานชีวิตของ Durai Raja Singamและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพลัดถิ่น”

การบรรยาย หัวข้อ “‘Coomaraswamyนี่คือใคร?’:ปณิธานชีวิตของ Durai Raja Singamและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพลัดถิ่น” โดย ไซม่อน ซูน จัดในวันที่  17 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 - 16.00 น. ณ ห้องไอยรา หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญฟังการบรรยายในหัวข้อ:
“‘Coomaraswamyนี่คือใคร?’:ปณิธานชีวิตของ Durai Raja Singamและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพลัดถิ่น”
โดย ไซม่อน ซูน
วันที่ 17 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 - 16.00 น.
ณ ห้องไอยรา (บริเวณตรงข้ามหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)
(การบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมแปลภาษาไทย โดย ชานน แพร่พิพัฒน์มงคล)

เส้นขอบฟ้าทางวิชาการของผู้พลัดถิ่นเชื่อมมุมสร้างสามเหลี่ยมขึ้นได้ด้วยวิธีการใดบ้าง? พวกเขาพิสูจน์ความเชื่อมโยงระดับโลกที่ไม่ได้ก่อรูปขึ้นเฉพาะความเคลื่อนไหวจากตะวันออกสู่ตะวันตกได้อย่างไร? เรื่องเล่าพหุศูนย์กลางนี้จะสร้างความสับสนต่อพื้นที่ความเข้าใจร่วมของเราที่มีต่อศิลปะและวัฒนธรรมพลัดถิ่นได้หรือไม่?

การบรรยายนี้ให้ความสำคัญกับผลงานตลอดชีวิตของชายเชื้อสายซีลอน-มาเลเซีย ดุรัย ราชา สิงกัม (Durai Raja Singam) ผู้พัฒนาสายสัมพันธ์ฉันมิตรกับ อนันดา เค คูมรัสวามี (Ananda K. Coomaraswamy) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและภัณฑารักษ์แห่ง Boston Museum of Fine Art ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1940 – ต่อมา ดุรัย ราชา สิงกัม ได้กลายผู้รวบรวมเรียบเรียงทั้งชีวประวัติและผลงานของคูมรัสวามีอย่างลุ่มหลงที่สุดคนหนึ่ง ในเส้นทางดังกล่าว เขาได้ลงทุนจัดพิมพ์หนังสือประหลาดพิสดารทว่าทรงคุณค่าหลายเล่ม ซึ่งเต็มไปด้วยของที่ระลึก ภาพถ่าย บทคัดย่อ ข่าวตัดจากหนังสือพิมพ์ กราฟ และแผนภูมิ ที่ล้วนมีเป้าหมายเพื่อการเก็บรักษาประวัติของคูมรัสวามีสู่ชนรุ่นหลัง ทั้งในฐานะหนึ่งในผู้มีผลงานวิชาการด้านศิลปะอินเดียมากที่สุด รวมถึงจิตวิญญาณและความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะชาวศรีลังกาพลัดถิ่น

การบรรยายนี้ ไซม่อน ซูน พิจารณาความลุ่มหลงของ ดุรัย ราชา สิงกัม เชื่อมโยงกับความรู้สึกที่ผลิตสร้างขึ้นผ่านภราดรภาพจินตกรรมของผู้พลัดถิ่น ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็ได้บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างพื้นที่เก็บรักษาซึ่งเกิดจากความทุ่มเท และการก่อสร้างความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ขยายอาณาเขตไปทั่วโลก

กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) ประกอบไปด้วยศิลปิน ไขว สัมนาง, เอมี เลียน &เอ็นโซ คามาโช และ เหงียน ธี ธันห์ ไม และคัดสรรผลงานโดยภัณฑารักษ์ชาวออสเตรเลีย อาศัยอยู่พนมเปญ โรเจอร์ เนลสัน เริ่มจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน ซึ่งเป็นนิทรรศการกลุ่มซึ่งประกอบด้วยงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ไม่เคยจัดแสดงในประเทศไทยมาก่อนของกลุ่มศิลปินที่สร้างงานเกี่ยวพันกับความคิด และกระบวนการของการเดินทางกับการอพยพที่ได้รับเสียงชื่นชมในระดับนานาชาติ

People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) เป็นนิทรรศการที่ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ ในการจินตนาการถึงและหาเหตุผลให้กับโลกที่เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ประหนึ่งกลุ่มดาวของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวปรับสร้างรูปแบบใหม่ไม่รู้จบ และกลุ่มพลังกับรูปแบบอันยุ่งเหยิงสับสนที่ลุกลามขยายตัวเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำความเข้าใจได้หมดจดจากเพียงมุมมองเดียว 

การเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างแต่ละสถานที่และการเคลื่อนไหวผ่านพื้นที่กลายเป็นใจความสำคัญในการสร้างงานศิลปะของศิลปินกลุ่มนี้ การย้ายที่อยู่เป็นกิจวัตรกลายเป็นสภาวะแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับพวกเขา ศิลปินทั้งหมดได้เสนอให้มองภูมิภาคนี้ในฐานะเครือข่ายความสัมพันธ์อันเปี่ยมพลวัตที่การกำหนดค่าหรือรูปแบบนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และกระหายอย่างยิ่งที่จะโดดข้ามพรมแดนของรัฐชาติภายใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงพรมแดนในจินตกรรมของตัวภูมิภาคเองอีกต่อหนึ่ง              

เกี่ยวกับผู้บรรยาย
ไซม่อน ซูน เป็นนักวิจัยและผู้บรรยายอาวุโสแห่ง Visual Art Department of the Cultural Centre, University of Malaya จบการศึกษาปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่ University of Sydney โดยได้รับทุน Australian Postgraduate Award ผลงานธีสิสของเขา ‘What is Left of Art?’ สืบสวนวัฒนธรรมด้านมิติสัมพันธ์ทางภาพ (spatial-visual culture) บนจุดซ้อนทับระหว่างความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่ถูกทำให้เป็นการเมืองและมีแนวคิดเอียงซ้าย กับการปรากฏขึ้นของประชาชนสมัยใหม่ในอินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ไทย และฟิลิปปินส์ระหว่างทศวรรษ 1950-1970 – พื้นที่ความสนใจของเขารวมถึงความเป็นสมัยใหม่เชิงเปรียบเทียบในศิลปะ ประวัติศาสตร์เมือง ประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ และภูมิประวัติศาสตร์ศิลปะ – เขาเขียนบทความในหลากประเด็นเชื่อมโยงถึงศิลปะสมัยศตวรรษที่ 20 ทั่วทั้งทวีปเอเชียและรับหน้าที่ภัณฑารักษ์จัดนิทรรศการเป็นครั้งคราว ผลงานล่าสุดได้แก่ Love Me in My Batik: Modern Batik Art from Malaysia and Beyond นอกจากนี้ยังเป็นบรรณาธิการร่วมของ Narratives of Malaysian Art Vol.4 ในระหว่างปี 2015-2016 ได้เข้าร่วมโครงการของ Power Institute ซึ่งได้รับทุนจาก Getty Foundation’s Connecting Art Histories initiative ชื่อ “Ambitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art” รวมถึงเป็นกองบรรณาธิการ Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia และเป็นสมาชิกของ Malaysia Design Archive พื้นที่อนุรักษ์เก็บรักษาวัฒนธรรมทางสายตาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน

สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขโทรศัพท์: 02-612-6741
อีเมล์: artcenter@jimthompsonhouse.com
เฟซบุค: The Jim Thompson Art Center
เว็บไซต์: www.jimthompsonartcenter.org

..........................................

The Jim Thompson Art Center proudly to present the public lecture:
‘Who is this Coomaraswamy? Durai Raja Singam’s Life Work and the Allegory of Diasporic Affinity’
by Simon Soon
17 June 2017 at 14.00 – 16.00
At Ayara Hall (Opposite the Jim Thompson Art Center)
(The lecture will be held in English with Thai translation by ChanonPraepipatmongkol)

In what ways can the intellectual horizon of the diaspora be triangulated? How do they demonstrate a global connection that is not strictly formed by a movement from East to West? Can this multi-centre story complicate our common place understanding of diasporic art and culture?

This lecture considers the life work of Ceylonese Malaysian Durai Raja Singam, who had developed a friendship with the esteemed scholar of Indian art history and curator at the Boston Museum of Fine Art, Ananda K. Cooramaswamy, since the 1940s. Durai Raja Singam later became one of the most obsessive biographical compiler of Coorasmaswamy’s life and work. Towards this end, he had self-published some of the most idiosyncratic yet valuable books, often filled with memorabilia, photos, excerpts, newspaper clippings, graphs and charts that aimed at preserving for posterity the profile of Cooramaswamy as one of the most scholars on Indian art and spirituality and his greatness as a Sri Lankan diaspora.

In this lecture, Simon Soon considers Durai Raja Singam’s obsession in relation to the feeling generated by an imagined diasporic affinity, which also tells the story of the building of an archive as one premised on devotion and the construction of historical memory that spans the globe.

The public program is the part of the exhibition “People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor).” This exhibition features artists Khvay Samnang, Amy Lien & Enzo Camacho, and Nguyen Thi Thanh Mai, and is curated by Roger Nelson. It runs from 7 March to 30 June 2017.This is a group exhibition featuring major works never before shown in Thailand, by internationally acclaimed artists whose work engages with ideas and processes of travel and migration.

People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) it is an exhibition which asks if we can imagine and make sense of a world in perpetual flux, an endlessly reconfiguring constellation of moving parts, a conflagration of swirling forces and forms that cannot be apprehended from any single viewpoint.

Shifts between locations and movements through space become central motifs in the practices of these artists for whom regular relocation has become a necessary circumstance. These artists offer a way of seeing this region as a dynamic network of inter-relationships that are constantly being reconfigured, and that hungrily hop across national borders within Southeast Asia, and across the imaginary boundaries of the region itself.

About the speaker:
Simon Soon is a researcher and Senior Lecturer in the Visual Art Department of the Cultural Centre, University of Malaya. He completed a Ph.D. in Art History at the University of Sydney under an Australian Postgraduate Award scholarship. His thesis ‘What is Left of Art?’ investigates the spatial-visual cultures at the intersection between left-leaning politicized art movements and the emergent modern publics of Indonesia, Singapore, Thailand and the Philippines from 1950s–1970s. His broader areas of interest include comparative modernities in the art, urban histories, history of photography and art historiography. He has written on various topics related to 20th-century art across Asia and occasionally curates exhibitions, most recently Love Me in My Batik: Modern Batik Art from Malaysia and Beyond. He is also co-editor of Narratives of Malaysian Art Vol. 4. From 2015–16, he is a participant in the Power Institute’s “Ambitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art,” funded by Getty Foundation’s Connecting Art Histories initiative. He is also an editorial member of Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia, and a team member at the Malaysia Design Archive, a repository on visual cultures from late 19th to the present day.

For further information please contact the Jim Thompson Art Center:
Phone: 02-612-6741
Email: artcenter@jimthompsonhouse.com
Facebook: The Jim Thompson Art Center
Website: www.jimthompsonartcenter.org

 ข่าวประชาสัมพันธ์ : หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

การบรรยาย หัวข้อ “‘Coomaraswamyนี่คือใคร?’:ปณิธานชีวิตของ Durai Raja Singamและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพลัดถิ่น”

Seminar date: 
17 มิ.ย. 2017 14:00 to 16:00
File attachments: 

Members Online

There are currently 0 users online.