^ Back to Top

บรรยายในหัวข้อ "ภาพวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมรณกรรมของฟอลคอน"

บรรยายในหัวข้อ "ภาพวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมรณกรรมของฟอลคอน"

บรรยายในหัวข้อ "ภาพวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมรณกรรมของฟอลคอน" โดยวิทยากร รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี และ อาจารย์กำพล จำปาพันธ์ ดำเนินรายการโดยวรเทพ อรรคบุตร การบรรยายจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 15.00-17.00น. ณ ห้องไอยรา พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญฟังบรรยายในหัวข้อ ภาพวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมรณกรรมของฟอลคอน โดยวิทยากร รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี และ อาจารย์กำพล จำปาพันธ์ ดำเนินรายการโดยวรเทพ อรรคบุตร การบรรยายจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2559 เวลา 15.00-17.00น. ณ ห้องไอยรา พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน

การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในนิทรรศการ The Making of Golden Teardrop และจะดำเนินรายการเป็นภาษาไทยเท่านั้น
(Sorry for this information is only in Thai due to the program will be held in Thai only)

การบรรยายส่งท้ายนิทรรศการ The Making of Golden Teardrop ที่จะย้อนไปในสมัยพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคที่การติดต่อทางการค้ากับประเทศตะวันตกเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสในการสร้างฐานอำนาจและการต่อรองทางการเมืองให้กับขุนนาง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์หรือฟอลคอน หนึ่งในขุนนางผู้มากอำนาจในสมัยอยุธยา และมีเรื่องอื้อฉาวในหน้าบันทึกทางประวัติศาสตร์มากที่สุดคนหนึ่ง แต่อำนาจที่ได้มานั้นกลับกลายเป็นภัยมาสู่ตนเองในท้ายที่สุด การบรรยายจะแบ่งเป็นสองช่วงโดยวิทยากรสองท่าน รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี จะกล่าวถึงมุมมองทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ‘เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้ร้ายในคราบผู้ดี’ และอาจารย์กำพล จำปาพันธ์ จะวิเคราะห์ภาพเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ‘ฟอลคอน ฝรั่งเศส และอยุธยาในคริสต์ศตวรรษที่ 17’ และดำเนินรายการโดย วรเทพ อรรคบุตร

การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการศึกษาภายใต้นิทรรศการ The Making of Golden Teardrop โดยศิลปิน อริญชย์ รุ่งแจ้ง ซึ่งเป็นการนำเสนอการตีความทางประวัติศาสตร์แบบใหม่ ที่ท้าทายและตั้งคำถามต่อการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ฉบับทางการด้วยการนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากบันทึกและเรื่องเล่าในอดีต ที่บ่งบอกถึงความเชื่อมโยงของพื้นถิ่นกับนานาชาติผ่านการเดินทางของอาหาร เพื่อสะกิดให้ผู้ชมหลุดจากกรอบที่ครอบงำความคิดและความเชื่อเดิม นับเป็นการรวบรวมและประกอบเข้าด้วยกันอีกครั้งจากเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่กระจัดกระจายไหลเวียนผ่านบทสนทนา ทั้งในระดับส่วนตัวและสาธารณะ ซึ่งจะช่วยเผยให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ และพยายามรื้อถอนขุดค้นลงไปใต้ภาพประวัติศาสตร์ที่ผ่านการจารึกเรื่องเล่าไว้จนแน่นหนา อันมีจุดเริ่มต้นมาจากการทับซ้อนของเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ของการค้าน้ำตาลผสมกับเรื่องเล่าจากปัจเจกบุคคลทั้งไทย, กรีก, โปรตุเกส และญี่ปุ่นระหว่างยุคล่าอาณานิคม ช่วงศตรวรรษที่15-17 และยุคสมัยใหม่ในศตวรรษที่20-21 ที่เกี่ยวข้องกับขนมทองหยอด จากจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสำรวจการสะสมเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำของพวกเขา

(นิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. จนถึงวันที่ 22 มีนาคม 2559)

เกี่ยวกับผู้บรรยาย
รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี  จบการศึกษาระดับปริญญาเอกคณะอักษรศาสตร์(สาขาประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยปอร์โต ประเทศโปรตุเกส วิทยานิพนธ์เรื่องสังคมอยุธยาในคริสตศตวรรษที่ ๑๖ ถึง ๑๗ ในเอกสารโปรตุเกส: มุมมองทางด้านวัฒนธรรม มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสในสมัยอยุธยา และยังเขียนหนังสืออีกหลายเล่ม อาทิเช่น ย้อนรอยโกษาปานในต้นทางฝรั่งเศสนิราศสยามต่างแดนเล่มแรก, ชิงบัลลังก์พระนารายณ์, ราชอาณาจักรสยาม ณ พระราชวังฟงแตนโบล คณะราชทูตสยาม ๒๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๖๑ ปัจจุบัน รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี เป็นอาจารย์อยู่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  

อาจารย์ กำพล จำปาพันธ์ จบการศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  มีความสนใจและเชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยา, ประวัติศาสตร์ลาว, ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี, ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ความสัมพันธ์สยามกับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีผลงานบทความทางวิชาการอีกมากมาย และผลงานหนังสือเล่มล่าสุดที่ตีพิมพ์ นาคยุดครุฑ “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย สำนักพิมพ์มติชน ปัจจุบันอาจารย์กำพล กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เกี่ยวกับผู้ดำเนินรายการ
วรเทพ อรรคบุตร เป็นนักวิจารณ์ทัศนศิลป์ และภัณฑารักษ์อิสระ เคยคัดสรรนิทรรศการ Safe Place In The Future ที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน (2555 ) และ MCAD, De La Salle-College of Saint Benilde กรุงมะนิลา (2556) ร่วมกับโสมสุดา เปี่ยมสัมฤทธิ์,  Poperomia/Golden Teardrop โดยอริญชย์ รุ่งแจ้งและวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ร่วมกับเพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์, ศาลาไทย เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 55 (2556) บรรณาธิการหนังสือศิลปิน (artistsbook) เช่น ไร้แก่นสาร (2548)  Navin’s SALA (2550) Tour (2555) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย บทบาทเชิงรุกของภัณฑารักษ์ต่อพลวัตและการสร้างสมทุนทางวัฒนธรรมแก่ศิลปะร่วมสมัยไทย (สนับสนุนโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, กระทรวงวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2558)

สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน โทร.02.612.6741 อีเมล์ artcenter@jimthompsonhouse.com / www.jimthompsonartcenter.org / FB: The Jim Thompson Art Center

ข่าวประชาสัมพันธ์ : หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

Seminar date: 
19 มี.ค. 2016 15:00 to 17:00
File attachments: 

Members Online

There are currently 0 users online.